Wednesday Jan 22, 2025

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ มั่งศิริ ได้เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานแม่ข่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงานฯ ตามแนวทางของ อพ.สธ. รวมถึงการแบ่งภาระกิจและพื้นที่การดำเนินงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง สามารถนำกลับไปปรับใช้ในการดำเนินงานของแต่ละศูนย์ต่อไป

ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)”

ศูนย์ประสานงานโครงกาารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้ รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย จากนั้นได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) บรรยายพิเศษหัวข้อ “เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแนวทางโครงการ อพ.สธ.” ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องทิศทางการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต งานสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนัก

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบและกิจกรรม อพ.สธ. – มสด. ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้แนวทางในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. เพื่อสนองงานพระราชดำริ อพ.สธ. ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมกาหลา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2566

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2566 โดยมีวาระเสนอเพื่อพิจารณา ได้แก่ ปฏิทินการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 การนําเสนอการดําเนินกิจกรรม อพ.สธ.-มสด. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 21 โครงการ ณ ห้องประชุมหอมขจร อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ในวันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

การลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายทำผลงานกิจกรรมการพัฒนาสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชในจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ และคณะทำงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารินดา สุขสบาย พร้อมทีมงานถ่ายทำและกองประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายทำผลงานกิจกรรมที่ 16 การพัฒนาสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชในจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี กิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศพันธุ์สวีทเกิร์ล ด้วยการผลิตสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ กิจกรรมประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสาธิตขั้นตอนต่าง ๆ ของการเพาะปลูกและการทำเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศพันธุ์สวีทเกิร์ล โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นายธนากร บุญกล่ำ ผู้จัดการและนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและพนักงานเจ้าหน้าที่ของหอมขจรฟาร์ม อาจารย์สุรภา โหมดสุวรรณ และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง จำนวน 15 คน

โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ นครนายก จัดโครงการการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ สำหรับครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ นครนายก จัดโครงการการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ สำหรับครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาการและชีวิตโดยมีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ และกายภาพ ภูมิปัญญาและการนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้นของโรงเรียนฯ โดยได้รับเกียรติจาก ครูวีระสิทธิ์ ทองประเสริฐ และครูวินัย ใหญ่ยิ่ง เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติฯ ภาคสนาม ณ ห้องปฎิบัติการวิทยาศาตร์ และสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-15.00 น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เยี่ยมชมศึกษาดูงาน แหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

วันที่ 13 มกราคม 2566 ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ หัวหน้าโครงการกิจกรรม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 43 คน ที่มาศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ในโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก ในการนี้ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมการแปลงพืชอนุรักษ์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) และการดำเนินงานหอมขจรฟาร์ม อีกด้วย

เปิดรับข้อเสนอโครงการ อพ.สธ. มสด. ประจำปี 2568

เปิดรับข้อเสนอโครงการ ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมสนองพระราชดำริ  โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อบรรจุแผนแม่บท อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะที่ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2569) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขั้นตอนการส่งข้อเสนอ ไม่เกินวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 1. หน่วยงานรวบรวมและจัดบันทึกข้อเสนอโครงการ และข้อเสนอโครงการ ผ่านระบบ e office 2. จัดส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการวิจัย สกุล .doc หรือ .pdf มาที่ E-mail : raudusit.v2@gmail.com 3. จัดส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 5 ชุด พร้อมหนังสือนำจากหน่วยงาน เป็นเอกสาร ไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ที่ อาคาร 1 ชั้น 2 ห้องสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ดาวน์โหลดเอกสาร 1 แนวทางการรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการ อพ.สธ.-มสด. 2. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ อพ.สธ.-มสด. 3. แผนแม่บท อพ.สธ.-มสด. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 –  30 กันยายน 2569)

Back to Top