Sunday May 19, 2024

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. สนองพระราชดำริฯ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช สานต่อสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

โดยได้ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย สำหรับศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ระหว่างวันที่ 12 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผศ.ดร.นพพร แพทย์รัตน์ นางสาววัลลภา กองอินตา และนางสาวอรอุมา แก้วนันตา คณะทำงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาที่ตั้งลำปาง เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจนำมาวางแผนการดำเนินงานในบทบาทศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ผ่านการจัดอบรมและสามารถนำความรู้ไปทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้กับสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต่อไป

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ มั่งศิริ ได้เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานแม่ข่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงานฯ ตามแนวทางของ อพ.สธ. รวมถึงการแบ่งภาระกิจและพื้นที่การดำเนินงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน […]

ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)”

ศูนย์ประสานงานโครงกาารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้ รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย จากนั้นได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) บรรยายพิเศษหัวข้อ “เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแนวทางโครงการ อพ.สธ.” ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องทิศทางการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี […]

กล้วยพัด

กล้วยพัด กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา (กทม.) : Ravenala madagascariensis Sonn. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : STRELITZIACEAE ลักษณะตรง กลม มีข้อสั้นๆ คล้ายตาล สูงถึง 20 เมตรใบ: ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบกล้วย รูปใบขอบขนาน เรียงเป็นสองทางสลับซ้ายขวาจนถึงยอด ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและหุ้มลำต้นไว้ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีใบประดับแข็งเป็นกาบคล้ายรูปเรือหุ้มช่อดอก โดยกาบนี้จะเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นช่อแบนๆ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีหลายดอกในแต่ละใบประดับ ผล: เมล็ดแก่สีน้ำเงินเข้ม ขนาด 0.6-0.8 เซนติเมตร รูปทรงกลม การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัย ทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ด้านข้างอาคารศูนย์สุขาภาพโซน C

กระท้อน

มะต้อง มะติ๋น (เหนือ) สะท้อน หมากต้อง (อีสาน) สะตู สะตียา (ใต้) Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MELIACEAE สูง 15-30 เมตร มีน้ำยางสีขาว มักเป็นพูพอนตรงโคนต้น ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อยสามใบ รูปไข่หรือรูปรีหรือเกือบกลม ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก: ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล: ผลขนาดใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม ผลสุกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม รับประทานได้ เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม รสหวานอมเปรี้ยวชุ่มคอ การนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ผลใช้รับประทาน รากรสเปรี้ยว แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน เปลือกลูก รสเปรี้ยวเย็น ฝาดสมาน แก้ลงท้อง แก้พยาธิ […]

กุ่มบก

กุ่ม ผักกุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs ชื่อวงศ์พรรณไม้ : CAPPARACEAE เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5– 25 เมตร ใบ: ใบประกอบ ออกสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 4 – 12 เซนติเมตร ปลายมนหรือกลม มักมีติ่งโคนสอบ เนื้อใบหนา ดอก: ดอกสีขาว เปลี่ยนเป็นสีนวลเมื่อแก่ ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปรี กว้าง 0.5 – 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 – 2.5 เซนติเมตร […]

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบและกิจกรรม อพ.สธ. – มสด. ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้แนวทางในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. เพื่อสนองงานพระราชดำริ อพ.สธ. ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมกาหลา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เยี่ยมชมศึกษาดูงาน แหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

วันที่ 13 มกราคม 2566 ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ หัวหน้าโครงการกิจกรรม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 43 คน ที่มาศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ในโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก ในการนี้ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมการแปลงพืชอนุรักษ์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) และการดำเนินงานหอมขจรฟาร์ม อีกด้วย

Back to Top