Thursday Nov 21, 2024

กิจกรรมสำรวจและกำหนดขอบเขตเชิงพื้นที่เพื่อประเมินกิจกรรมการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567 คณะทำงานโครงการ “การพัฒนาระบบเชิงพื้นที่เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” ได้ร่วมกันสำรวจและกำหนดขอบเขตกิจกรรมภายในหอมขจรฟาร์มที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะนำไปสู่การประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนออกจากพื้นที่ ในการนี้ ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา คุณพีรดา พงษ์ทอง และคุณธนากร บุญกล่ำ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ร่วมสำรวจและให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ คณะทำงานโครงการ ฯ ประกอบด้วย นายมณฑล สุวรรณประภา ดร.สิมนัส ตรีเดช คุณกนกอร เนตรชู และคุณสาวิตรี ม่วงศรี ได้ดำเนินการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ สุพรรณบุรี ประจำปี 2567 ณ หอมขจรฟาร์ม​ ที่ได้จัดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เช่นกัน จากการประเมินพบว่ากิจกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 50.34 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คณะทำงานโครงการ ฯ จึงได้ดำเนินการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการจัดกิจกรรม เพื่อใช้เป็นต้นแบบการจัดกิจกรรมแบบปลอดคาร์บอน (Carbon neutral event) ต่อไป

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ มั่งศิริ ได้เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานแม่ข่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงานฯ ตามแนวทางของ อพ.สธ. รวมถึงการแบ่งภาระกิจและพื้นที่การดำเนินงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง สามารถนำกลับไปปรับใช้ในการดำเนินงานของแต่ละศูนย์ต่อไป

ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)”

ศูนย์ประสานงานโครงกาารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้ รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย จากนั้นได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) บรรยายพิเศษหัวข้อ “เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแนวทางโครงการ อพ.สธ.” ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องทิศทางการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต งานสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนัก

กระทุ่มบก

กระทุ่มบก : Mitragyna javanica Koord. & Valeton ชื่อวงศ์พรรณไม้ : RUBIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 16-27 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ กว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร ยาว 10-24 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสากๆและมีสีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้านดอก ออกเป็นช่อกลมคล้ายลูกตุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมส้ม ผล เป็นแท่ง ขนาดเล็ก ออกเบียดชิดกันอยู่บนฐานรองช่อดอก การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือนหรือใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ แหล่งที่พบ ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กระบก

กระบก กะบก จะบก (กลาง), จำเมาะ (เขมร), ซะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ) : Irvingia malayana Oliv. ex A.W. Benn. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : IRVINGIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอก ดอกช่อขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน การนำไปใช้ประโยนชน์ ประโยชน์ ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อในเมล็ดกินได้ น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไข แหล่งที่พบ ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบและกิจกรรม อพ.สธ. – มสด. ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้แนวทางในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. เพื่อสนองงานพระราชดำริ อพ.สธ. ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมกาหลา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2566

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2566 โดยมีวาระเสนอเพื่อพิจารณา ได้แก่ ปฏิทินการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 การนําเสนอการดําเนินกิจกรรม อพ.สธ.-มสด. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 21 โครงการ ณ ห้องประชุมหอมขจร อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ในวันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

การประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566 โดยมีวาระเรื่องการติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินกิจกรรม อพ.สธ.-มสด. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 21 โครงการ ณ ห้อง Online Learning11 อาคาร 2 ชั้น 4 ห้อง 247 และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายทำผลงานกิจกรรมการพัฒนาสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชในจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ และคณะทำงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารินดา สุขสบาย พร้อมทีมงานถ่ายทำและกองประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายทำผลงานกิจกรรมที่ 16 การพัฒนาสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชในจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี กิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศพันธุ์สวีทเกิร์ล ด้วยการผลิตสื่อ E-Learning เพื่อการเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ กิจกรรมประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสาธิตขั้นตอนต่าง ๆ ของการเพาะปลูกและการทำเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศพันธุ์สวีทเกิร์ล โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นายธนากร บุญกล่ำ ผู้จัดการและนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและพนักงานเจ้าหน้าที่ของหอมขจรฟาร์ม อาจารย์สุรภา โหมดสุวรรณ และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง จำนวน 15 คน

Back to Top