Wednesday Jan 22, 2025

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. สนองพระราชดำริฯ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช สานต่อสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

โดยได้ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย สำหรับศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ระหว่างวันที่ 12 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผศ.ดร.นพพร แพทย์รัตน์ นางสาววัลลภา กองอินตา และนางสาวอรอุมา แก้วนันตา คณะทำงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาที่ตั้งลำปาง เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจนำมาวางแผนการดำเนินงานในบทบาทศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ผ่านการจัดอบรมและสามารถนำความรู้ไปทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้กับสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต่อไป

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ มั่งศิริ ได้เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานแม่ข่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงานฯ ตามแนวทางของ อพ.สธ. รวมถึงการแบ่งภาระกิจและพื้นที่การดำเนินงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง สามารถนำกลับไปปรับใช้ในการดำเนินงานของแต่ละศูนย์ต่อไป

ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)”

ศูนย์ประสานงานโครงกาารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้ รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย จากนั้นได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) บรรยายพิเศษหัวข้อ “เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแนวทางโครงการ อพ.สธ.” ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องทิศทางการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต งานสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนัก

กล้วยพัด

กล้วยพัด กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา (กทม.) : Ravenala madagascariensis Sonn. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : STRELITZIACEAE ลักษณะตรง กลม มีข้อสั้นๆ คล้ายตาล สูงถึง 20 เมตรใบ: ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบกล้วย รูปใบขอบขนาน เรียงเป็นสองทางสลับซ้ายขวาจนถึงยอด ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและหุ้มลำต้นไว้ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีใบประดับแข็งเป็นกาบคล้ายรูปเรือหุ้มช่อดอก โดยกาบนี้จะเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นช่อแบนๆ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีหลายดอกในแต่ละใบประดับ ผล: เมล็ดแก่สีน้ำเงินเข้ม ขนาด 0.6-0.8 เซนติเมตร รูปทรงกลม การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัย ทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ด้านข้างอาคารศูนย์สุขาภาพโซน C

กระท้อน

มะต้อง มะติ๋น (เหนือ) สะท้อน หมากต้อง (อีสาน) สะตู สะตียา (ใต้) Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MELIACEAE สูง 15-30 เมตร มีน้ำยางสีขาว มักเป็นพูพอนตรงโคนต้น ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อยสามใบ รูปไข่หรือรูปรีหรือเกือบกลม ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก: ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล: ผลขนาดใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม ผลสุกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม รับประทานได้ เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม รสหวานอมเปรี้ยวชุ่มคอ การนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ผลใช้รับประทาน รากรสเปรี้ยว แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน เปลือกลูก รสเปรี้ยวเย็น ฝาดสมาน แก้ลงท้อง แก้พยาธิ เปลือกต้น รักษากลากเกลื้อน แก้พิษงู ต้นต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้รักษาแผลสด แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัย ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กุ่มบก

กุ่ม ผักกุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs ชื่อวงศ์พรรณไม้ : CAPPARACEAE เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5– 25 เมตร ใบ: ใบประกอบ ออกสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 4 – 12 เซนติเมตร ปลายมนหรือกลม มักมีติ่งโคนสอบ เนื้อใบหนา ดอก: ดอกสีขาว เปลี่ยนเป็นสีนวลเมื่อแก่ ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปรี กว้าง 0.5 – 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 – 2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านสีม่วงยาว ก้านชูเกสรเพศเมียยาวกว่า เกสรเพศผู้ ผล: กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3.5 เซนติเมตร ผลสุกมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง การนำไปใช้ประโยชน์ ใบใช้ต้มน้ำ กินแก้ไข้ ดอกกินแก้เจ็บตาใช้เป็นยาระงับประสาท ยาบำรุง ใบและเปลือกรากใช้ถูนวด แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้านหลังอาคาร2 โซน A ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ.-มสด. ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบและกิจกรรม อพ.สธ. – มสด. ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้แนวทางในการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. เพื่อสนองงานพระราชดำริ อพ.สธ. ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมกาหลา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เยี่ยมชมศึกษาดูงาน แหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

วันที่ 13 มกราคม 2566 ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ หัวหน้าโครงการกิจกรรม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 43 คน ที่มาศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ในโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก ในการนี้ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมการแปลงพืชอนุรักษ์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-มสด.) และการดำเนินงานหอมขจรฟาร์ม อีกด้วย

Back to Top