Sunday Dec 22, 2024

กระท้อน

มะต้อง มะติ๋น (เหนือ) สะท้อน หมากต้อง (อีสาน) สะตู สะตียา (ใต้) Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MELIACEAE สูง 15-30 เมตร มีน้ำยางสีขาว มักเป็นพูพอนตรงโคนต้น ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อยสามใบ รูปไข่หรือรูปรีหรือเกือบกลม ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก: ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล: ผลขนาดใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม ผลสุกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม รับประทานได้ เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม รสหวานอมเปรี้ยวชุ่มคอ การนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ผลใช้รับประทาน รากรสเปรี้ยว แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน เปลือกลูก รสเปรี้ยวเย็น ฝาดสมาน แก้ลงท้อง แก้พยาธิ เปลือกต้น รักษากลากเกลื้อน แก้พิษงู ต้นต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้รักษาแผลสด แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัย ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กุ่มบก

กุ่ม ผักกุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs ชื่อวงศ์พรรณไม้ : CAPPARACEAE เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5– 25 เมตร ใบ: ใบประกอบ ออกสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 4 – 12 เซนติเมตร ปลายมนหรือกลม มักมีติ่งโคนสอบ เนื้อใบหนา ดอก: ดอกสีขาว เปลี่ยนเป็นสีนวลเมื่อแก่ ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปรี กว้าง 0.5 – 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 – 2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านสีม่วงยาว ก้านชูเกสรเพศเมียยาวกว่า เกสรเพศผู้ ผล: กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3.5 เซนติเมตร ผลสุกมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง การนำไปใช้ประโยชน์ ใบใช้ต้มน้ำ กินแก้ไข้ ดอกกินแก้เจ็บตาใช้เป็นยาระงับประสาท ยาบำรุง ใบและเปลือกรากใช้ถูนวด แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้านหลังอาคาร2 โซน A ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

Back to Top