Wednesday Jan 22, 2025

สถาบันวิจัยและพัฒนา ดำเนินกิจกรรมการถ่ายทำสื่อประชาสัมพันธ์ นโยบายในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)  ภายใต้โครงการ อพ.สธ. – มสด. ดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์โดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ให้เกียรติร่วมถ่ายทำสื่อประชาสัมพันธ์ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์นโยบายในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ผลิตโดยกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำทีมโดยนายไพศาล คงสถิตสถาพร ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ และได้ดำเนินการบันทึกเทป ณ ห้อง Virtual Learning 19 อาคาร 11 ชั้น 2 ในวันที่ 17 เมษายน 2567

กิจกรรมทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในโครงการพัฒนาการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้โครงการ อพ.สธ. – มสด. ดำเนินงานโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในโครงการพัฒนาการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับเกียรติจากท่านคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล มาร่วมเป็นผู้ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาพยาบาล โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า ได้แก่ Sugar banana syrub , Sugar banana syrub ผสมอบเชย , Sugar banana syrub ผสมชะเอม โดยวัตถุดิบที่เหลือจากการทำ Sugar banana syrub นำมาผลิตเป็นเค้กนึ่ง เพื่อให้เป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า โดยมีอาจารย์พงศ์อนันต์ ศิริแสงไพรวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ โรงเรียนการเรือน เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ผ่านการพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้านพัฒนาพื้นที่ในการบริการวิชาการ เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. สนองพระราชดำริฯ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช สานต่อสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

โดยได้ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย สำหรับศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ระหว่างวันที่ 12 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผศ.ดร.นพพร แพทย์รัตน์ นางสาววัลลภา กองอินตา และนางสาวอรอุมา แก้วนันตา คณะทำงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาที่ตั้งลำปาง เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจนำมาวางแผนการดำเนินงานในบทบาทศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ผ่านการจัดอบรมและสามารถนำความรู้ไปทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้กับสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต่อไป

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ มั่งศิริ ได้เข้าร่วมการประชุมการดำเนินงานศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2567 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานแม่ข่าย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้รับฟังบรรยายจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. เรื่อง แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงานฯ ตามแนวทางของ อพ.สธ. รวมถึงการแบ่งภาระกิจและพื้นที่การดำเนินงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง สามารถนำกลับไปปรับใช้ในการดำเนินงานของแต่ละศูนย์ต่อไป

ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.-มสด. จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)”

ศูนย์ประสานงานโครงกาารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) จัดสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้ รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย จากนั้นได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) บรรยายพิเศษหัวข้อ “เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแนวทางโครงการ อพ.สธ.” ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องทิศทางการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่องการดำเนินงานความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต งานสัมมนา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนัก

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. จัดประชุมหารือ การเตรียมความพร้อมการดำเนินงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. ระยะ 5 ปี

ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด.) จัดประชุมหารือ การเตรียมความพร้อมการดำเนินงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. ระยะ 5 ปี โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานการประชุม และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ อพ.สธ. สำนักพระราชวัง ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คณะทำงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมหอมขจร อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

พิธีเปิดศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.- มสด.

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดงาน 9 ทศวรรษ รวมตัวสร้างสรรค์ ร่วมกันพัฒนาอย่างยั่งยืน และพร้อมกันนี้ในเวลา 13.30 น. ณ อาคารจันทร์เจริญ โถงกระจกชั้น 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้มีพิธีเปิดศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด.) อย่างเป็นทางการขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อสนองงานพระราชดำริฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ รวบรวม เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนการให้บริการฝึกอบรม งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และพื้นที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ภาคกลาง โดยมี คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. และมีคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไล ศรีธนางกูล ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านงานกฎหมาย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากผู้แทนจังหวัดสุพรรณบุรี คุณพจนา เสมา เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ

แคหางค่าง

แคขน แคบิด (เหนือ) แคหัวหมู (กลาง, นครราชสีมา) แคพอง (สุราษฎร์ธานี) แฮงป่า (จันทบุรี) แคลาว (เลย) : Fernandoa adenophylla (Wall ex. G. DON) Steenis ชื่อวงศ์พรรณไม้ : BIGNONIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5 – 20 เมตร ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดไม่เป็นระเบียบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล และมีช่องระบายอากาศทั่วไป เปลือกนอกสีเทา ค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีขาวใบ: ใบประกอบ ออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ช่อใบ ยาว 20 – 50 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วย ใบย่อยที่มีรูปและขนาดแตกต่างกันไป 1-4 คู่ เช่น รูปรี รูปมน รูปป้อมหรือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ดอก: ดอกใหญ่และบานเด่นชัด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง มีออวุลหลายหน่วยต่อ 1 ช่อง ผล: เป็นแบบผลแห้งแตก แข็ง ผิวเรียบ ยาวและบิดเป็นเกลียว เมล็ดมีปีก การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำด้ามเครื่องมือเสาเขื่อนเสาต่างๆ ดอกและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน มีรสขมเล็กน้อย แหล่งที่พบ หลังอาคารเรียน 2 โซน A

แคนา

แค่เก็ตถวา (เชียงใหม่) แคขาว (กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่) แคทราย (กลาง, ราชบุรี) แคป่า (จันทบุรี, เลย) แคอาว (นครราชสีมา, ปราจีน) : Dolichandrone serrulata (DC.) Seem. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : BIGNONIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำเปลือกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อแบบกระจะสั้นตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-3 เซนติเมตร มี 3-7 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันและปลายแยกออกเป็นกาบรองดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกันสูง ดอกบานกลางคืน ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ – มิถุนายน ผล: เป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว ผิวเรียบและแข็ง ฝักบิดไปมา ผลออกเดือน มิถุนายน – สิงหาคม การนำไปใช้ประโยนชน์ ดอกและยอดอ่อนรับประทานได้ แหล่งที่พบ ด้านข้างอาคารตึกใหญ่และสวนดุสิตโพล โซน B หน้าอาคารหอพัก โซน B

Back to Top