Wednesday Jan 22, 2025

ขอเชิญยื่นข้อเสนองานจ้างที่ปรึกษาโครงการสำรวจและรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญา

ขอเชิญยื่นข้อเสนองานจ้างที่ปรึกษาโครงการสำรวจและรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่ไม่ได้รับการจดบันทึก (มุขปาฐะ) ด้านอาหารท้องถิ่นในภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของ ประเทศไทย โดยสามารถสแกน QR code เพื่อดูรายละเอียดได้จากภาพ

ประชาสัมพันธ์เชิญร่วมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือ “จากยอดเขาถึงใต้ทะเล”

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ “ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” ระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยทาง อพ.สธ. จัดทำหนังสือ จากยอดเขาถึงใต้ทะเล 10 “ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” เพื่อรวบรวมบทความเชิงวิชาการที่เป็นผลงานการดำเนินงานของสมาชิกชมรมฯ ภายใต้การสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลของฐานทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน (ฐานทรัพยากรกายภาพ/ ฐานทรัพยากรชีวภาพ/ ฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา) โดยเนื้อหาและวิธีการเขียนเนื้อเรื่อง เป็นรูปแบบการเขียนสารคดีทางวิทยาศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม หรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเขียนรายงานวิจัย ควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจนสอดคล้องกับการดำเนินงานในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และหัวข้อการประชุมวิชาการและนิทรรศการ จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจร่วมส่งบทความเชิงวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ “จากยอดเขาถึงใต้ทะเล” โดยจัดส่งหัวข้อเรื่องและเนื้อหาย่อ ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 และส่งเรื่องเต็มภายในวันที่ 25 เมษายน 2568 มายังอีเมล์ rspg@dusit.ac.th เพื่อรวบรวมนำส่งไปยังกองบรรณาธิการฯ ต่อไป

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. เชิญชวนอาจารย์ที่มีความสนใจสมัครเป็นวิทยากรผู้ช่วย โครงการ อพ.สธ. และเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มสด. เชิญชวนอาจารย์ที่มีความสนใจสมัครเป็นวิทยากรผู้ช่วย โครงการ อพ.สธ. และเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากรการอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และการอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยผู้ที่สนใจสามารถตอบแบบสำรวจความต้องการตามลิงก์ https://forms.gle/ugqgSbPQ1BCZtY4n9 ที่แนบมานี้ ภายในวันที่ 30 พ.ย. 2567 ประสานงาน  : ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ เบอร์โทรติดต่อ : 02 2445365-6 (เบอร์ภายใน 5365-6)

คณะทำงานโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลพรรณไม้มงคลในงานศิลปะประดิษฐ์ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 คณะทำงานโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลพรรณไม้มงคลในงานศิลปประดิษฐ์เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี นำโดยมี ผศ.ดร.ปริศนา มัชฌิมา หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.พรยุพรรณ พรสุขสวัสดิ์ ผศ.ดร.บุญญลักษม์ ตำนานจิตร  ผศ.ดร.สายสุดา ปั้นตระกูล และผศ.ดร.บรรพต พิจิตรกำเนิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 (ตลาดท่าลี่) เพื่อเก็บข้อมูลพรรณไม้ที่นักวิชาการใช้ในงานศิลปประดิษฐ์

ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2569

เปิดรับข้อเสนอโครงการ ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อบรรจุแผนแม่บท อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะที่ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2569) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ขั้นตอนการส่งข้อเสนอ ไม่เกินวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 1. หน่วยงานรวบรวมและจัดบันทึกข้อเสนอโครงการ และข้อเสนอโครงการ ผ่านระบบ e office 2. จัดส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการวิจัย สกุล .doc หรือ .pdf มาที่ E-mail : rspg.dusit.ac.th 3. จัดส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 5 ชุด พร้อมหนังสือนำจากหน่วยงาน เป็นเอกสาร ไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ที่ อาคาร 1 ชั้น 2 ห้องสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ดาวน์โหลดเอกสาร 1 แนวทางการรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการ อพ.สธ.-มสด. 2. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ อพ.สธ.-มสด. 3. แผนแม่บท อพ.สธ.-มสด. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 –  30 กันยายน 2569)

กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและพัฒนาเพื่อการแปรรูปกล้วยในจังหวัดสุพรรณบุรี

วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 ผศ.ดร.มนฤทัย ศรีทองเกิด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์แป้งกล้วยน้ำว้าเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสู่การผลิตเชิงพาณิชย์  ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.)  ได้จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปกล้วยผง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย เครื่องดื่มชนิดผงจากแป้งกล้วยดิบผสมครีมเทียมน้ำมันมะพร้าว และทาร์ตผักโขม โดยใช้แป้งกล้วยจากท้องถิ่นเป็นส่วนผสมในถ้วยทาร์ต ให้กับผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 5 วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนแก้วเจ้าจอม อ.ด่านช้าง วิสาหกิจชุมชนพืชผักและผลไม้ปลอดภัย อ.ด่านช้าง วิสาหกิจชุมชนศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี อ.เมืองสุพรรณบุรี  วิสาหกิจชุมชนท่ากระพี้เกษตรปลอดภัย  อ.สามชุก วิสาหกิจชุมชนชื่นใจบ้านต้นตาล อ.สองพี่น้อง พร้อมกับวิทยาลัยสงฆ์ฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ ณ ห้องประชุมขรัวตาจู วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

กิจกรรมสำรวจข้อมูลงานศิลปประดิษฐ์เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 คณะทำงานโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลพรรณไม้มงคลในงานศิลปประดิษฐ์เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.)  นำโดยมี ผศ.ดร.ปริศนา มัชฌิมา หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.สายสุดา ปั้นตระกูล และผศ.ดร.บรรพต พิจิตรกำเนิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและพูดคุยกับผู้ค้าไม้ดอกไม้ประดับ งานประดิษฐ์ในตลาดทรัพย์สิน จังหวัดสุพรรณบุรี และได้พบปะผู้ประดิษฐ์งานศิลปะจำหน่ายมืออาชีพ ดูการสาธิตทำพานนาค

กิจกรรมสำรวจพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่นของคลองสามเสน เขตดุสิต กทม.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567  คณะทำงานโครงการการอนุรักษ์และยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคลองสามเสน (ชุมชนวัดโบสถ์ สามเสน  ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม และชุมชนวัดจอมสุดาราม)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.)  นำโดยมี ผศ.ดร.จิรานุช โสภา หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ถิรพร แสงพิรุณ ผศ.มานะ เอี่ยมบัว อ.กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ และ อ.สาติยา มิ่งวงศ์ จากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ตัวแทนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ณ ชุมชนวัดจอมสุดาราม เขตดุสิต กทม. เพื่อการอนุรักษ์และรวบรวมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่คลองสามเสนต่อไป

การอบรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากร และการเข้าระบบฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด.

ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด.) และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการอบรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากร และการเข้าระบบฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มสด. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม และเปิดโครงการอบรม “การจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากร และการเข้าระบบฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อใช้ดำเนินงานของศูนย์ประสานงานอพ.สธ. – มสด.” โดยได้รับเกียรติจาก คุณขจรศักดิ์ วรประทีป หัวหน้าแผนกวิชาการ อพ.สธ. และ คุณแพรวพรรณ พัทธยุติ เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 5 ฝ่ายพฤกษศาสตร์ แผนกปฏิบัติการ อพ.สธ. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับงานฐานข้อมูลทรัพยากร ทั้งในส่วนของการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากร และการเข้าระบบฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อใช้ดำเนินงานของศูนย์ประสานงานอพ.สธ. – มสด. วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์   อาคาร 11 ชั้น 3 ห้อง 11305 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

กิจกรรมสำรวจและกำหนดขอบเขตเชิงพื้นที่เพื่อประเมินกิจกรรมการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567 คณะทำงานโครงการ “การพัฒนาระบบเชิงพื้นที่เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” ได้ร่วมกันสำรวจและกำหนดขอบเขตกิจกรรมภายในหอมขจรฟาร์มที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะนำไปสู่การประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนออกจากพื้นที่ ในการนี้ ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ดร.สุชยา เกียรติประจักษ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา คุณพีรดา พงษ์ทอง และคุณธนากร บุญกล่ำ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ร่วมสำรวจและให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ คณะทำงานโครงการ ฯ ประกอบด้วย นายมณฑล สุวรรณประภา ดร.สิมนัส ตรีเดช คุณกนกอร เนตรชู และคุณสาวิตรี ม่วงศรี ได้ดำเนินการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ สุพรรณบุรี ประจำปี 2567 ณ หอมขจรฟาร์ม​ ที่ได้จัดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เช่นกัน จากการประเมินพบว่ากิจกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 50.34 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คณะทำงานโครงการ ฯ จึงได้ดำเนินการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการจัดกิจกรรม เพื่อใช้เป็นต้นแบบการจัดกิจกรรมแบบปลอดคาร์บอน (Carbon neutral event) ต่อไป

Back to Top