กุ่มบก

กุ่ม ผักกุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )

Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CAPPARACEAE

เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5– 25 เมตร ใบ: ใบประกอบ ออกสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 4 - 12 เซนติเมตร ปลายมนหรือกลม มักมีติ่งโคนสอบ เนื้อใบหนา ดอก: ดอกสีขาว เปลี่ยนเป็นสีนวลเมื่อแก่ ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปรี กว้าง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 - 2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านสีม่วงยาว ก้านชูเกสรเพศเมียยาวกว่า เกสรเพศผู้ ผล: กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 3.5 เซนติเมตร ผลสุกมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบใช้ต้มน้ำ กินแก้ไข้ ดอกกินแก้เจ็บตาใช้เป็นยาระงับประสาท ยาบำรุง ใบและเปลือกรากใช้ถูนวด

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคาร2 โซน A ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กระท้อน

มะต้อง มะติ๋น (เหนือ) สะท้อน หมากต้อง (อีสาน) สะตู สะตียา (ใต้)

Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

สูง 15-30 เมตร มีน้ำยางสีขาว มักเป็นพูพอนตรงโคนต้น ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อยสามใบ รูปไข่หรือรูปรีหรือเกือบกลม ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก: ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล: ผลขนาดใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม ผลสุกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม รับประทานได้ เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม รสหวานอมเปรี้ยวชุ่มคอ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ผลใช้รับประทาน รากรสเปรี้ยว แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน เปลือกลูก รสเปรี้ยวเย็น ฝาดสมาน แก้ลงท้อง แก้พยาธิ เปลือกต้น รักษากลากเกลื้อน แก้พิษงู ต้นต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้รักษาแผลสด

แหล่งที่พบ

ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กล้วยพัด

กล้วยพัด กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา (กทม.)

Ravenala madagascariensis Sonn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • STRELITZIACEAE

ลักษณะตรง กลม มีข้อสั้นๆ คล้ายตาล สูงถึง 20 เมตรใบ: ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบกล้วย รูปใบขอบขนาน เรียงเป็นสองทางสลับซ้ายขวาจนถึงยอด ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและหุ้มลำต้นไว้ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีใบประดับแข็งเป็นกาบคล้ายรูปเรือหุ้มช่อดอก โดยกาบนี้จะเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นช่อแบนๆ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีหลายดอกในแต่ละใบประดับ ผล: เมล็ดแก่สีน้ำเงินเข้ม ขนาด 0.6-0.8 เซนติเมตร รูปทรงกลม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ด้านข้างอาคารศูนย์สุขาภาพโซน C

กระดังงาจีน

กระดังงาจีน การเวก (กลาง) สะบันงาจีน (เหนือ)

Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANNONACEAE

ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดซุ้มหรือค้าง ให้ร่มเงาได้ดี ผิวของกิ่งก้านค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีขนใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4-8.5 เซนติเมตร ยาว 8.5-20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอก: ดอกช่อ ดอกอ่อนสีเขียว มีขน เมื่อแก่สีเหลือง ผิวค่อนข้างเรียบ กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-4.5 เซนติเมตร โคนกลีบเว้าคล้ายรูปไข่ป้อมและโค้งแนบกับโคนกลีบชั้นใน มีจุดกระสีแดงที่ด้านในของโคนกลีบ เนื้อกลีบหนา กลีบดอกชั้นในคล้ายกลีบชั้นนอกแต่ขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ยอดเกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน ผล: เป็นผลกลุ่ม กลุ่มละ 4-20 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นไม้ดอกไม้ประดับให้ร่มเงา ให้ดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอ่อน ใช้ทำเครื่องหอม

แหล่งที่พบ

หน้าศาลาชื่นอารมณ์และศาลากระจ่างศรี โซน C

กระโดน

ปุย (ใต้, เหนือ) ปุยกระโดน (ใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ

Careya sphaerica Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LECYTHIDACEAE

เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบช่วงสั้นๆ สูง 8-20 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทา หรือสีน้ำตาลดำ แตกปริเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม เนื้อใบหนา เกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นขอบใบ เส้นใบย่อยเป็นแบบร่างแห ขอบใบหยักถี่ๆและตื้น ก้านใบอวบ ค่อนข้างแบน ผิวเกลี้ยง ดอก: ขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน ออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง บานตอนเช้า กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก สีเขียวอ่อนบริเวณขอบกลีบและโคนกลีบออกสีชมพู หลุดง่าย เกสรผู้สีขาว มีจำนวนมาก โคนก้านเกสรจะติดรวมกัน มีสีแดงอ่อนๆ ผล: กลม สีเขียว ขนาดใหญ่ ลักษณะอวบน้ำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ทำบ้านเรือน เปลือกให้เส้นใยหยาบๆใช้ทำเชือก ทุบทำเบาะรองหลังช้าง และทำกระดาษสีน้ำตาล สรรพคุณด้านสมุนไพร เปลือก เป็นยาสมาน แก้เคล็ด แก้เมื่อย ดอกเป็นยาบำรุงภายหลังคลอดบุตร ใบใช้รักษาแผลสด ผลช่วยย่อยอาหาร

แหล่งที่พบ

หน้าห้องปฐมพยาบาล โซน B บริเวณสนามเด็กเล่น หน้าอาคาร 7 โซน D

กระบก

กระบก กะบก จะบก (กลาง), จำเมาะ (เขมร), ซะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ)

Irvingia malayana Oliv. ex A.W. Benn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • IRVINGIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอก: ดอกช่อขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ประโยชน์ ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อในเมล็ดกินได้ น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไข

แหล่งที่พบ

: ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C

กระทุ่มบก

Mitragyna javanica Koord. & Valeton

Mitragyna javanica Koord. & Valeton

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • RUBIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 16-27 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ กว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร ยาว 10-24 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสากๆและมีสีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้านดอก: ออกเป็นช่อกลมคล้ายลูกตุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมส้ม ผล: เป็นแท่ง ขนาดเล็ก ออกเบียดชิดกันอยู่บนฐานรองช่อดอก

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือนหรือใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ

แหล่งที่พบ

ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

แก้ว

ตะไหลแก้ว แก้วพริก จ๊าพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วขาว (กลาง)

Murraya paniculata (L.) Jack

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • RUTACEAE

เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 3-8 เมตร ลำต้นมักคดงอและบิด เปลือกสีขาว แตกเป็นร่องตื้นเล็กๆ ใบ: ใบประกอบ เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย 3-7 ใบ ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบคู่ล่างมีขนาดเล็กกว่าคู่ที่อยู่เหนือขึ้นไป รูปไข่แกมรี และรูปข้าวหลามตัดเอียง ผิวใบเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก: สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ ช่อละ 2-5 ดอก กลีบรองดอกขนาดเล็ก มี 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน บานกลางคืน ขณะบานกลีบจะม้วนออกด้านนอก กลีบหลุดง่าย เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยาว 5 อัน สั้น 5 อัน เรียงสลับเป็นวงกลมล้อมรอบรังไข่ ผล: รูปไข่ มีเนื้อเยื้อหุ้ม ยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร ผลแก่ออกสีส้มปนแดง ภายในมี 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ลายมัน สวยงาม มีน้ำมันในเนื้อไม้ นิยมใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา ซอด้วง ซออู้ ใบปรุงเป็นยาขับระดูที่เรียกว่ายาประสะใบแก้ว และใช้เป็นยาระบายลม แก้จุกเสียแน่นเฟ้อ

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศาลาสารภีคู่ โซน C

กระพี้จั่น

จั่น (กลาง, สุโขทัย) ปี้จั่น (ภาคเหนือ), พี้จั่น (กลาง, จันทบุรี)

Millettia brandisiana Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ ใบย่อย รูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอก: รูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล: เป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ นิเวศวิทยา พบกระจายในแถบเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยพบบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี

การนำไปใช้ประโยนชน์

อาคารสำนักงานอนุบาลลอออุทิศ โซน D

แหล่งที่พบ

อาคารสำนักงานอนุบาลลอออุทิศ

ไกร

กร่าง ไทรกร่าง (กรุงเทพฯ) ไฮฮี (เพชรบูรณ์)

Ficus concinna Miq.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ลำต้นสูงได้ถึง 30 เมตร มียางสีขาว รากอากาศเกิดใกล้โคนต้น ลำต้นและทุกส่วนสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีชมพู เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8.5 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือแหลมติ่งสั้นๆ โคนแหลมหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละประมาณ 12 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นกลางใบสีขาว เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร หูใบ 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน รูปไข่แกมรูปใบหอก ร่วงง่ายดอก: ช่อดอกออกเป็นคู่ตามง่ามใบและอยู่ด้านล่างของใบ มีใบประดับเล็กๆ 3 ใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม ร่วงง่าย ก้านช่อดอกยาว 1-5 มิลลิเมตร ช่อดอกรูปร่างคล้ายผล คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่เป็นเปาะ มีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ผล: ผลอยู่ภายในช่อดอกที่มีลักษณะคล้ายมะเดื่อ สีชมพู รูปกลม กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร มีจุดสีแดงประปราย ภายในมีผลเล็กๆรูปไข่จำนวนมาก ก้านผลยาว 1-5 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคาร 3 โซน A หน้าอาคาร 2 โซน B

ขนุน

มะหนุน (ใต้, เหนือ) หมักหมี๊ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

Artocarpus heterophyllus Lam.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอดและตามกิ่ง ช่อดอกรูปทรงกระบอกหรือขอบขนาน ยาว 10 – 15 ซม. ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกอ่อนมีใบประดับปลายแหลม ขนาดยาว 5 – 6 ซม. หุ้ม มีขน ช่อดอกเพศผู้จะอยู่สูงกว่าและมีจำนวนมากเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียเกิดทางซอกใบด้านล่าง ก้านช่อดอกขนาดใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้ เกสรเพศเมียรูปคล้ายกระบอง รังไข่รูปรี เชื่อมติดกัน ผล: เป็นผลรวมขนาดใหญ่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ขนุนเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมา ช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูงเพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เมล็ดช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่น หรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาดใช้ย้อมสบงจีวรพระ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน1 โซน A

ข่อย

กักไม้ฝอย (เหนือ) ส้มพอ (เลย, เหนือ)

Streblus asper Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงไม่เกิน10 เมตร เปลือกขรุขระ สีเทาอมขาว ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร โคนสอบ ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก: สีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก แยกเพศ ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียมีจำนวน 2 ดอกต่อช่อ ก้านดอกยาว ผล: เป็นผลสด ทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบรองดอกสีเขียวหุ้มผล

การนำไปใช้ประโยนชน์

กิ่งทุบใช้แทนแปรงสีฟันได้ เปลือกต้นแก้โรคในช่องปาก ใบเป็นยาระบายอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน1 โซน A ด้านข้างอาคารสมเด็จพระนางเจ้า (อาคาร11) โซน D

ค้างคาว

กระโปกลิง (สระบุรี)

Harpullia arborea (Blanco) Radlk.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนกออก เรียงสลับ ใบย่อย 6-10 ใบ ผิวเกลี้ยง รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบเว้าเล็กน้อย ปลายแหลม ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอก: ออกเป็นช่อ ยาว 15-20 เซนติเมตร มีขนนุ่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีครีมอมเขียว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผล: สีเหลืองส้ม เปลือกหนาคล้ายหนัง ภายในกลวง มีลักษณะเป็น 2 พู เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดค่อนข้างกลม สีดำมัน ขนาด 0.5-0.8 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน 4 (ศูนย์การศึกษาพิเศษ) โซน D

แคนา

แค่เก็ตถวา (เชียงใหม่) แคขาว (กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่) แคทราย (กลาง, ราชบุรี) แคป่า (จันทบุรี, เลย) แคอาว (นครราชสีมา, ปราจีน)

Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำเปลือกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อแบบกระจะสั้นตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-3 เซนติเมตร มี 3-7 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันและปลายแยกออกเป็นกาบรองดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกันสูง ดอกบานกลางคืน ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มิถุนายน ผล: เป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว ผิวเรียบและแข็ง ฝักบิดไปมา ผลออกเดือน มิถุนายน - สิงหาคม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ดอกและยอดอ่อนรับประทานได้

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารตึกใหญ่และสวนดุสิตโพล โซน B หน้าอาคารหอพัก โซน B

แคหางค่าง

แคขน แคบิด (เหนือ) แคหัวหมู (กลาง, นครราชสีมา) แคพอง (สุราษฎร์ธานี) แฮงป่า (จันทบุรี) แคลาว (เลย)

Fernandoa adenophylla (Wall ex. G. DON) Steenis

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5 - 20 เมตร ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดไม่เป็นระเบียบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล และมีช่องระบายอากาศทั่วไป เปลือกนอกสีเทา ค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีขาวใบ: ใบประกอบ ออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ช่อใบ ยาว 20 - 50 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วย ใบย่อยที่มีรูปและขนาดแตกต่างกันไป 1-4 คู่ เช่น รูปรี รูปมน รูปป้อมหรือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ดอก: ดอกใหญ่และบานเด่นชัด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง มีออวุลหลายหน่วยต่อ 1 ช่อง ผล: เป็นแบบผลแห้งแตก แข็ง ผิวเรียบ ยาวและบิดเป็นเกลียว เมล็ดมีปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำด้ามเครื่องมือเสาเขื่อนเสาต่างๆ ดอกและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน มีรสขมเล็กน้อย

แหล่งที่พบ

หลังอาคารเรียน 2 โซน A

เงาะ

เงาะป่า (เชียงใหม่, นราธิวาส) พรวน(ปัตตานี) กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต (มาเลย์ ปัตตานี)

Nephelium lappaceum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านใบ: ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปโค้ง หรือรูปไข่กลับ ดอก: ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดเป็นกลุ่มย่อย ช่อดอกมีกิ่ง แขนง ดอกย่อยออกเป็นกลุ่มมีสีนวลอ่อนๆ ผล: รูปร่างกลมรี มีขนยาว เมื่อยังไม่สุกขนและผิวมีสีเขียว เมื่อสุกบางพันธุ์ผิวผลและขนมีสีแดง บางพันธุ์ผิวผลแดงขนมีสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาวมีรสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว เมล็ดเป็นรูปขอบขนาน คลุมด้วยเนื้อเยื่อใสสีขาว

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ทำผลไม้กระป๋อง ทำแยม ทำน้ำผลไม้ เนื้อเงาะมีน้ำตาลสูง มีแร่ธาตุและวิตามินซี ส่วนเปลือกผลมีรสฝาด มีสารแทนนินและอื่นๆใช้เป็นยา เปลือกต้นแก้ท้องร่วง สมานแผลฝาด สมานพวกที่เป็นโรคลิ้น เปลือกเงาะใช้เป็นยาขับพยาธิ ใบเป็นยาพอก ผลแก้บิด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไข้ บำรุงกำลังและบำรุงร่างกาย เมล็ดทำให้หลับ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

จามจุรี

ฉำฉา (กลาง, เหนือ) ก้ามกราม (ภาคกลาง) ก้ามปู (กทม., พิษณุโลก) สำสา (เหนือ)

Samanea saman (Jacq.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10 – 20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่มใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก แกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ดอก: ออกเป็นช่อรวมเป็นกระจุกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาวเป็นที่ต้องการ ใบรสเย็นเมา ทำให้เย็นดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดรสฝาด แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ เปลือกต้นรสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน

แหล่งที่พบ

อาคารเรียน 7 โซน D

จำปา

จำปาเขา (ตรัง) จำปาทอง (นครศรีธรรมราช, สุราษฏร์ธานี) จำปาป่า (ตราด)

Michelia champaca L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MAGNOLIACEAE

ไม้ยืนต้นสูง 8-15 เมตร ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปไข่กว้างหรือรูปรี กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร โคนกลมมนหรือสอบ ปลายแหลม ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร ดอก: สีเหลืองแกมส้ม กลีบดอกมี 10-15 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปหอกกลับโคนแคบ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-4.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก ผล: เป็นผลกลุ่ม รวมอยู่บนแกนยาว 6-9 เซนติเมตร ก้อนผลรูปไข่หรือค่อนข้างกลม ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร มีแผลระบายอากาศ เป็นจุดด่างสีขาว เมื่อแก่จะแตกออกด้านข้าง

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ดอกหอม เนื้อไม้แข็ง ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน โลงศพและเครื่องดนตรี ดอกเป็นยาบำรุงหัวใจ

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นสระว่ายน้ำด้านหน้าศาลาสารภีคู่ โซน C

จิกน้ำ

จิกนา (ใต้) กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ (หนองคาย) จิกนา (ใต้)

Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LECYTHIDACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ตั้งแต่ 10 - 18 เมตร มีทรงต้นและพุ่มใบแผ่กว้าง ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปหอกหรือรูปไข่กลับ กว้าง 10-13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง ดอก: ดอกออกเป็นช่อห้อยระย้า ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน มีเกสรสีขาวจำนวนมาก มีกลิ่นหอม ผล: ผลสด รูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม เรียงตามยาวผล เมล็ดรูปไข่ มีเมล็ดเดียว

การนำไปใช้ประโยนชน์

จากใบแก้ท้องเสีย เปลือกเป็นยาลดไข้และรักษาไข้มาลาเรีย ผลแห้งแก้หวัด เมล็ดแก้จุกเสียด น้ำคั้นจากเมล็ดเป็นยาหยอดตา รากเป็นยาระบายอ่อนๆและทำให้อาเจียน

แหล่งที่พบ

ทางเข้าอาคารหอพักและศาลาแปดเหลี่ยม โซน B

ฉนวน

กระพี้ (กลาง, อุบลราชธานี) กระพี้โพรง (ราชบุรี)

Dalbergin nigrescens Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งอ่อนมีขนบ้างประปรายและออกสีดำเมื่อแห้ง เปลือกนอกสีเทาอมขาว เรียบ หรือเป็นสีเหลืองแต้มรอบๆผิวลำต้น เปลือกในสีนวลถึงน้ำตาล ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ติดเรียงสลับ ยาว 5 - 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ออกเยื้องกันเล็กน้อย 4 - 6 คู่ ใบปลายสุดของช่อจะเป็นใบเดี่ยวๆ โคนใบสอบเข้าเล็กน้อย ปลายใบหยักเว้า กว้าง 1-2.2 เซนติเมตร ยาว 1.5 - 4.5 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา มีขนประปรายตามเส้นแขนงใบทางด้านท้องใบ ส่วนอื่นเกลี้ยง ท้องใบจะเป็นคราบสีนวล ส่วนหลังใบสีเขียวเข้ม ดอก: ดอกสีขาวแบบดอกถั่ว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกออกเดือนมีนาคม - เมษายน ผล: ผลเป็นฝักแห้งแบน รูปขอบขนาน ปลายและโคนมน แห้งดำ ไม่แตก ผลออกเดือน มิถุนายน - กันยายน

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ทำก้านและกลักไม่ขีดไฟ ลังใส่ของ ทำเยื่อกระดาษ และไม้แบบหล่อคอนกรีต เปลือกต้นผสมลำต้นตาปู ลำต้นตาเสือ ต้มน้ำดื่มแก้คอพอก

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารรักตะกนิษฐและศูนย์เอกสารตำรา โซน B

ชะมวง

ส้มโมง (อุบลราชธานี) หมากโมก (อุดรธานี) กะมวง (ใต้) มวงส้ม (นครศรีธรรมราช)

Garcinia cowa Roxb. ex. DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • GUTTIFERAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 4 – 10 เมตร แตกกิ่งสาขาเปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบ: ใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา สีเขียวอ่อนหรือเขียวอมม่วงแดง ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันบริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1 – 3 ยอด กว้าง 1.2–1.9 เซนติเมตร ยาว 18-20 เซนติเมตร มีกลิ่นเล็กน้อย รสเปรี้ยว ดอก: สีขาวนวล มี 3 กลีบ ขนาดเล็ก กลีบแข็งสีนวลเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกจำนวนมากตามกิ่ง ขนาด 1- 1.5 เซนติเมตร ผล: ผลทรงกลม ด้านข้างผลเว้าเป็นพู เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม มีเนื้อหนาสีเหลือง รสฝาดและมีเมล็ดอยู่ภายใน จำนวน 4 – 6 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

แก้กระหายน้ำ ระบายท้อง แก้ไข้

แหล่งที่พบ

ทางขั้นศาลพระภูมิด้านข้างศาลากระจ่างศรี โซน C

ชงโค

เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)

Bauhinia purpurea L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ยืนต้น สูงถึง 10 เมตร ผลัดใบช่วงสั้นๆ ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปมนเกือบกลม แยกเป็น 2 พู ปลายมนกลม กว้าง 8-16 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง จำนวน 6-10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรี กว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 6-8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน รังไข่มีขน ผล: เป็นฝัก ยาว 20-25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมมี 10 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบต้มกินรักษาอาการไอ ดอกเป็นยาระบาย ดับพิษไข้ รากต้มกินเป็นยาระบาย ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารโรงอาหารและที่จอดรถ (อาคาร12) โซน C

ชมพู่แก้มแหม่ม

ชมพู่กะหลาป่า (กทม.) ชมพู่ขาว ชมพู่เขียว ชมพู่นาก (กทม.)

Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L. M.Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ผล: รูปทรงกลมแบนหรือรูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง มีสีขาวอ่อนถึงชมพูอ่อน เนื้อขาวบางและกรอบ รสหวานมีกลิ่นหอม เมล็ด เป็นสีน้ำตาล มีจำนวน 1-2 เมล็ด ถ้ามี 2 เมล็ด จะมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกบกัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อของชมพู่เป็นยาบำรุงกำลัง โดยนำเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A

ชมพูม่าเหมี่ยว

ชมพู่แดง ชมพู่สาแหรก (กลาง)

Syzygium malaccense (L.) Merr. & L.M. Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 8 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีหรือแกมขอบขนาน กว้าง 13-13.5 เซนติเมตร ยาว 31-36 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือทู่ โคนใบรูปลิ่ม เส้นใบเชื่อมกันบริเวณริมขอบใบ ผิวมัน ดอก: สีแดงสด ออกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบ ฐานรองดอกเจริญเป็นรูปถ้วย กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบด้านนอก มีขนาดเล็กกว่ากลีบด้านใน กลีบดอก 4 กลีบ รูปมนกลม กว้าง 8-9 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาว 15-17 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 21 มิลลิเมตร ผล: สีแดงสดหรือแกมม่วง รูปเกือบกลมแกมขอบขนาน ผิวมัน ขนาด 4-6 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้รับประทาน

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A

ชมพูพันธ์ทิพย์

ชมพูอินเดีย ตาเบบูยา ธรรมบูชา (กลาง)

Tabebuia rosea (Bertol.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ผลัดใบ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้นๆ ใบ: ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปแตร มีหลายสี คือ สีขาว ชมพูอ่อน หรือชมพู กลางดอกสีเหลือง ดอกมักบานพร้อมๆกัน และร่วงง่าย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผล: เป็นฝัก เมื่อแก่จะแตกออก ขนาดฝัก ยาว 32.53 เซนติเมตร กว้าง 1.24 เซนติเมตร เมล็ดมีลักษณะแบน สีน้ำตาล มีปีกเป็นเยื่อบางทั้ง 2 ด้านของเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ชมพูพันธ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศและโรคแมลง โตเร็ว มีดอกงดงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับและร่มเงา

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นศาลพระภูมิด้านข้างโรงแรมสวนสิตเพลส 2 โซน C

ต้นจันอิน

จัน, จันขาว, จันลูกหอม, จันโอ, อินจัน (กลาง)

Diospyros decandra Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EBENAEAE

ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10 - 20 เมตร เปลือกสีดำ ทรงพุ่มกลมทึบ ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 3 เซนติเมตร 7 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลม ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล รูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผล: ผลมีสองรูปทรง คือ ทรงกลมแป้นเรียกว่า ลูกจัน และทรงกลมเรียกว่า ลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง กลิ่นหอม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-6 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ประโยชน์ แก่นผสมกับสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ผลสุก รับประทานแก้ท้องเสียอย่างอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

ศาลพระภูมิ โซน C

ตะไล

ช้างเผือก (กทม., เหนือ) คงคาเดือด (กลาง, ตราด) ตะไลคงคา (ชัยนาท) สมุยกุย (นครราชสีมา) หมากเล็กหมากน้อย (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์)

Arfeuillea arborescens Pierre

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูง ประมาณ 10-12 เมตร เปลือกสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาวๆ ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยมี 1-4 คู่ ก้านใบประกอบยาว 1-2 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ใบย่อยรูปไข่ ยาว 2-7 เซนติเมตร ปลายใบเว้าตื้นหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในช่อเดียวกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ สีแดงอมเขียว กลีบดอกมี 2-4 กลีบ สีขาว ขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร จานฐานดอกรูปคล้ายปาก ผล: ผลแบบแคปซูล บาง มีปีก เกลี้ยง ทรงรี ยาว 3.2-5.5 เซนติเมตร ปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่กลับ สีดำ มีขนสีน้ำตาล ยาว 5-5.5 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นยาฆ่าพยาธิ แก้ไอ แก้ไข้ เนื้อไม้ขับพยาธิ ดับพิษไข้ เปลือกแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน13 และที่จอดรถของสถาบันฯ โซน B หน้าอาคารเรียน4 โซน C

ตะโกนา

มะโก (เหนือ) ตะโก (อีสาน, เหนือ) มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่) นมงัว (นครราชสีมา, สุรินทร์)

Diospyros rhodocalyx Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EBENACEAE

ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบโค้งมน ดอก: สีขาว แยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 8-12 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันเป็นรูปโอ่งน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ เกสรผู้ 14-16 อัน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้เทียม 8-10 อัน ผล: สีส้มแดง ทรงกลม ผิวมัน ขนาด 1.5-3 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วผล 4 กลีบ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้แข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ได้ดี ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า แห อวน ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวานอมฝาด

แหล่งที่พบ

หน้าวิจิตรอาคาร โซน D

ตะขบป่า

ตานเสี้ยน (กลาง) มะเกว๋นป่า (เหนือ)

Flacourtia indica (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • FLACOURTIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านอ่อนห้อยลู่ลง ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างหลายแบบ ทั้งรูปขอบขนานรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ดอก: ออกเป็นช่อออกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-6 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้ ออกดอกเดือน มีนาคม – เมษายน ผล: ผลสดแบบ berry รูปกลมรี ผลสุกมีสีแดงและดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากแก้ตานขโมย แก้ท้องร่วง ลำต้นแก้ประดงผื่นคันตามตัว ใบปรุงยาสำหรับสตรีหลังคลอด

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นศาลพระภูมิ ด้านโรงแรมสวนดุสิตเพลส 2 โซน C

เต่าร้าง

เขืองหลวง (เหนือ), จอย (แม่ฮ่องสอน)

Caryota bacsonensis Magalon

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ลำต้นมักแตกกอเป็นหน่อใหญ่ เปลือกสีเขียวเทา ใบ : ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปพัด ปลายใบจักเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบและมีลักษณะไม่แน่นอน โคนใบสอบรูปลิ่ม เบี้ยว ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บริเวณด้านข้างของลำต้น ดอกขนาดเล็ก สีขาวครีม กลีบดอกรูปไข่กลับ มีพิษทำให้คัน ผล : ผลสด กลม ผลแก่เมื่อสุกสีแดงถึงคล้ำ เมล็ดจำนวนมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ยอดอ่อนและผลสุกรับประทานได้ รากและหัวดับพิษตับ ปอด แก้กาฬขึ้นปอด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน 1 โซน A

มะค่าแต้

แต้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะค่าหนาม (กลาง, เหนือ) มะค่าหยุม (เหนือ)

Sindora siamesis Teijsm. & Miq.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3-4 คู่ ใบรูปไข่มน ผิวเกลี้ยงมัน ขอบเรียบ ยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร ดอก: ดอกช่อ ออกเป็นพวงโต ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.4 เซนติเมตร กลีบรองดอกรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก กลีบดอกยาว 0.7 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน มี 2 อัน ใหญ่กว่าอันอื่น ผล: กลมแบน ฝักเดี่ยว มีหนามแหลมที่ผิวทั่วไป รูปไข่กว้าง โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-10 เซนติเมตร ภายในมี 3 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างคล้ายฟันสีน้ำตาลไหม้ มีขั้วโตสีขาวเหลืองเหมือนเหงือกหุ้มฟัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลรสเบื่อเมา ต้มดื่มถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ต้มรมให้หัวริดสีดวงทวารฝ่อ เมล็ดรสเบื่อขม ทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C

ตะคร้อป่า

ตะคร้อ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะเคาะ (เหนือ) ค้อ (กาญจนบุรี, เหนือ) ตะคร้อไข่ (กลาง) คอส้ม (เลย)

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงถึง 25 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 คู่ ใบย่อยคู่บนขนาดใหญ่กว่าคู่ล่าง รูปไข่หรือรูปไข่แกมรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบไม่สมมาตรถึงทู่ ดอก: สีเขียวอ่อนหรือเขียวเแกมเหลือง ออกเป็นช่อห้อยลงจากปลายกิ่งหรือซอกใบ ยาวถึง 20 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบรองดอกรูปไข่ถึงรูปสามเหลี่ยม มี 4-6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 5-9 อัน ยาวพ้นกลีบดอก ผล: รูปทรงกลมหรือรูปไข่ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร สีเขียวสดแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ปลายผลเป็นติ่งแหลม มี 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกต้มน้ำดื่ม แก้ฝีหนอง ผลสุกรับประทานมีรสหวานอมเปรี้ยว

แหล่งที่พบ

สนามเด็กเล่นหน้าอาคารเรียน 7 โซน D

ตะแบก

กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา (ภาคกลาง, นครราชสีมา), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)

Lagerstroemia floribunda Jack

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LYTHRACEAE

ไม้ยืนต้นผลัด สูง 15 – 30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ดอก: สีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งออกดอกช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ผล: ผลแก่แตกเป็น 6 ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน 1 ปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เรือ แพ เกวียน แจว เครื่องมือกสิกรรม ไม้ตะแบกชนิดลายใช้ทำเครื่องเรือน ด้ามมีด ด้ามหอก กรอบรูป พานท้ายปืน สันแปรง คิวบิลเลียด ด้ามปากกา ด้ามร่ม ไม้บุผนังที่สวยงาม

แหล่งที่พบ

หลังอาคารเรียน7 โซน D

ทุเรียน

เรียน (ใต้) คือแย (มลายูใต้)

Durio zibethinus Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BOMBACACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีพูพอน เนื้อไม้สีแดงเข้ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปหอก หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน มีร่างแหหนาแน่น ท้องใบมีขนรูปดาวสีทองหรือสีเงินปกคลุมหนาแน่น ดอก: ออกบนกิ่งเป็นกระจุกแบบช่อเชิงหลั่น มีจำนวน 3-30 ดอก ผล: แห้งแตก รูปทรงกลม รูปไข่หรือ รูปรี สีเขียวถึง สีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมด้วยหนามรูปสามเหลี่ยมจำนวนมาก เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดปกคลุมมิดชิด นุ่ม สีขาวหรือเหลือง มีรสหวาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบรสขมเย็นเฝื่อน สรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้งและขับพยาธิ เปลือกลูกรสฝาดเฝื่อนสมานแผลแก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝีตานซาง คุมธาตุ แก้คางทูม ใช้ไล่ยุงและแมลง รากรสฝาดขม แก้ไข้และแก้ท้องร่วง

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

ทองหลางด่าง

ทองบ้าน ทองเผือก (เหนือ) ทองหลางลาย (กลาง)

Erythrina variegata L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

สูงประมาณ10 - 15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหนาทึบ กิ่งค่อนข้างเปราะ กิ่งมีหนามเล็กๆ ตามลำต้น ใบ: เป็นใบ ประกอบมีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่หรือแกมขนมเปียกปูน สีเขียว มีแถบสีเหลืองตามแนวเส้นใบ ดอก: ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสด แดงหรือสีขาว ดอกทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ ออกดอกเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ผล: เป็นฝัก ลักษณะเป็นข้อๆต่อกัน เมล็ดสีส้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารโรงอาหารและที่จอดรถ (อาคาร12) โซน C

ทองกวาว

กวาว ก๋าว (เหนือ) จอมทอง (ใต้) จาน(อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ (กลาง) ทองต้น (ราชบุรี)

Butea monosperma (Lam.) Taub.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่ทรงกระบอกหรือทรงกลม ถ้าอยู่ในที่ลมแรงกิ่งและต้นจะคดงอ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทา แตกและเป็นตะปุ่มตะป่ำ ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่กลับแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไข่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอก: ออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม ยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผล: ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ยางใช้รับประทานแก้ท้องร่วง เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับพยาธิใบไม้ตับ ใช้ตำพอกแก้ฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง ขับพยาธิ ดอกรับประทานถอนพิษได้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลดความกำหนัด ขับพยาธิ ใช้หยอดตาแก้ตาแดง ปวดเคืองตา ตาแฉะ ตามัว เมล็ดบดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาวใช้ทาแก้ผิวหนังเป็นผื่นแดง อักเสบ คันและแสบร้อน แก่นทาแก้ปวดฟัน รากใช้ประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ขับพยาธิ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C

ไทรย้อย

ไทรย้อยใบแหลม(กรุงเทพฯ, ตราด) ไทรย้อย (สุราษฏร์ธานี)ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์)ไฮ (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เหนือ)

Ficus benjamina L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาทึบ ผิวเปลือกเรียบ สีขาวปนเทา ตามกิ่งก้านมีรากอากาศ แตกห้อยย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก โคนต้นเป็นพูพอน ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกจากกิ่งและส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ปลายใบแหลม โคนใบแหลมสอบ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5 - 11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ดอก: ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผล ผล: รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ แก้กาฬโลหิตและขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ปัสสาวะพิการ

แหล่งที่พบ

ลานสวนดุสิตโพล และซุ้มเขียว โซน B

ไทรใบกลม

ไทร (กรุงเทพฯ) ไฮ (ขอนแก่น, เลย)

Ficus annulata Blume

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาวข้น (latex) ใบ: ใบเดี่ยว รูปกลม ขนาดเล็ก ใบดก สีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบตลอดทั้งใบ ปลายใบมน โคนใบมนและสอบเข้าหากันที่โคนใบดอก: ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผล ผล: รูปกลม สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถตกแต่งให้เป็นรูปทรงพุ่มต่างๆ ตามความต้องการ หรือปลูกเป็นไม้กระถางปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศาลาสารภีคู่ทางขึ้นลงสระว่ายน้ำ โซน C

โสก

ส้มสุก (เหนือ) โสกน้ำ (สุราษฏร์ธานี) ชุมแสงน้ำ (นราธิวาส, ยะลา)

Saraca indica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่หรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบม เกลี้ยง ใบย่อยรูปไข่แกมขอบขนาน ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกอยู่ที่บริเวณปลายกิ่ง มีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก สีเหลืองอมส้มหรือแดง ไม่มีกลีบดอก กลิ่นหอม ผล: ผลเป็นฝักแบน รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปหอก

การนำไปใช้ประโยนชน์

แก้ไอ ขับเสมหะและบำรุงธาตุ ดอกอ่อน ใบอ่อนและนำมาปรุงเป็นอาหาร

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนและที่จอดรถของสถาบันฯ โซน B

ประดู่บ้าน

ดู่บ้าน (เหนือ) ประดู่กิ่งอ่อน (กลาง) ประดู่สาย (กลาง, ลำปาง)

Pterocapus indicus Willd.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 - 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 7 - 13 ใบ ปลายสุดของช่อเป็นใบเดี่ยว ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายมนหรือแหลมเป็นติ่งทู่ โคนใบมนกว้าง ดอก: สีเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อยาว 20-30 เซนติเมตร ผล: เป็นฝักแบนกลมคล้ายจานบิน มีปีกรอบๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 - 5 เซนติเมตร ตรงกลางนูน มีเมล็ด 1 เมล็ด อยู่ตรงกลาง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้แข็ง สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง มีลวดลายสวยงามทนทาน ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดี ใช้ในการก่อสร้าง ทำพื้นบ้าน เสา ทำเกวียน เครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือกและแก่นให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้าและให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารตึกใหญ่ โซน B มุมอาคารจอดรถ (อาคาร12) ทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ โซน C

ปาล์มขวด

ปาล์มขวด

Roystonea regia (Kunth) Cook.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลำต้นจะตั้งตรงสูงขึ้น ต้นโตสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ช่วงอายุน้อยโคนจะป่องคล้ายขวด ใบ : ใบออกเป็นทาง ยาวประมาณ 1.8-3 เมตร แต่ละทางจะประกอบไปด้วยใบย่อยมากมาย ทางใบมีกาบใหญ่ห่อหุ้มลำต้นไว้คล้ายๆกับกาบหมาก กาบใบสีเขียวเป็นมัน ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด มีสีม่วงแกมขาว กลีบเลี้ยงติดกัน กลีบดอกแยกกัน 6 กลีบ ผล : ผลขนาดเล็กและกลม เมื่อผลแก่จะเป็นสีม่วงอมดำหรือสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้ปลูกประดับตามอาคารสถานที่เพื่อความสวยงาม

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคารศูนย์สุขภาพ โซน C

ปาล์มแชมเปญ

ปาล์มแชมเปญ

Hyophorbe lagenicaulis (L.H.Bailey) H.E.Moore

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้นโตสูงประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร ในรอบปีมีใบใหม่ที่ออกมาแทนใบเก่าที่หลุดร่วงประมาณ 4-6 ใบเท่านั้น การเจริญเติบโตช้ามาก ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเป็นรูปตัววีคว่ำ ขอบใบมีสีน้ำตาลเล็กน้อย ดอก: ออกเป็นทะลาย ทะลายยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผล: ผลรูปลูกรักบี้ ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มี 1 เมล็ด ผลอ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่สีจะเขียวเข้ม เมื่อสุกผิวจะนิ่ม กลิ่นหอมเหมือนกล้วยหอม เปลือกข้างในเป็นสีดำและแข็งคล้ายกะลามะพร้าว

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นไม้ประธานในสวนหย่อม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน11 และทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ โซน C

ปาล์มพัด

ปาล์มพัด

Pritchardia pacifica Seem. & H. Wendl.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เกลี้ยง เรียว ใบ: เป็นรูปพัด สีเขียวอ่อนและเป็นมัน ใต้ใบเป็นสีเงินนิดๆ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 เมตร ทางใบยาว 90 เซนติเมตร ดอก: ออกดอกเป็นช่อๆ ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล ช่อหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนมาก แต่เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ ผล: ผลกลม มีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ผลสุกมีสีดำ ข้างในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารศูนย์สุขภาพและบริเวณน้ำตกทางขึ้นสระว่ายน้ำ โซน C

ปีบ

กาซะลอง (ยะลา, เหนือ) กาดซะลอง (เหนือ)

Millingtonia hortensis L. f.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ไม้ยืนต้นสูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทา ขรุขระ กิ่งก้านค่อนข้างอ่อน ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ดอก: ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวเป็นหลอด ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลิ่นหอม ผล: เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกตามรอยตะเข็บ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด รากบำรุงปอด แก้หอบ ในดอกมีสาร hispidulin ซึ่งระเหยได้และมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดีกว่า amino-phylline ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาหืด เนื้อไม้อ่อนมีสีเหลือง นิยมใช้ประกอบเป็นเครื่องเรือนประดับบ้าน

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคารเรียน2 โซน A ด้านหน้าทางขึ้น อาคารจอดรถ (อาคาร12) โซน C

ไผ่รวก

ตีโย (ภาคกลาง) ไม้ฮวก (ภาคเหนือ)

Thyrsostachys siamensis Gamble

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • GRAMINEAE

ลำต้นขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอแน่น มีความสูงประมาณ 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน ที่ปลายลำมีเนื้อบาง ลำมีสีเขียวอมเทา ปล้องจะยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร โดยปกติเนื้อจะหนา กาบหุ้มลำยาวประมาณ 22-28 ซนติเมตร กว้างประมาณ 11-20 ซนติเมตร กาบมักจะติดต้นอยู่นาน สีเป็นสีฟาง ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว มีร่องเป็นแนวเล็ก ๆ สอบขึ้นไปหาปลาย ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยม อาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้ กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ ใบยอดกาบยาวประมาณ 10-12 ซนติเมตร เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบรสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ ขับปัสสาวะ ตามีรสเฝื่อน เข้ายาใช้แก้ฝีหนองภายในต่างๆ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ราก รสกร่อย เอียนเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว ใช้เข้ายาขับระดู แก้หนองในและฝีหนองที่เกิดในร่างกาย

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นสระว่ายน้ำด้านศาลพระภูมิ

พะยอม

กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ลาว) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)

Shorea roxburghii G. Don

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • DIPTEROCARPACEAE

เป็นไม้ยืนต้น สูงขนาด 15–30 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งจำนวนมาก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้นๆ ดอก: ออกดอกช่อใหญ่ สีขาว มีกลิ่นหอม ออกตามกิ่งและที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ผล: ผลมีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ดอกแก้ไข้ เปลือกใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด ฟอกหนังและกินแทนหมาก แก้ลำไส้อักเสบ ท้องร่วง

แหล่งที่พบ

ด้านข้างสระว่ายน้ำตรงข้ามห้องอาบน้ำ โซน C

พญาสัตบรรณ

ตีนเป็ด (กลาง) หัสบรรณ (กาญจนบุรี) สัตบรรน (กลาง)

Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APOCYNACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือก สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลืองค่อนข้างหนา ใบ: ใบเดี่ยว เรียงกันเป็นวง จำนวน 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอก: ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรืออมขาว ออกเป็นกลุ่มในช่อ ซึ่งแยกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง ผล: เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซนติเมตร เมล็ดแบนทรงบรรทัดแคบๆ ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน ลักษณะหยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้ ใบใช้พอกดับพิษต่างๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย

แหล่งที่พบ

ด้านหลังที่ทำการสระว่ายน้ำ โซน C

พิกุล

กุล (ใต้) แก้ว (กลาง, เหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลเขา (นครศรีธรรมราช) พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี) พิกุลป่า (กลาง,สตูล)

Mimusops elengi L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPOTACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกบางๆตามยาว ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นกว้างเป็นทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกจักเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผล: รูปไข่หรือกลมรี ผลแก่สีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ขนาดผลกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดียว

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ขุดเรือทำสะพาน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เป็นต้น ในต้นที่มีอายุมากบางต้นพบว่าเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า “ขอนดอก” เชื่อกันว่าเกิดจากเชื้อราบางตัว นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล

แหล่งที่พบ

ทางเข้าที่จอดรถของสถาบันฯด้านข้างซุ่มเขียวโซนB

โพธิ์

โพ (กลาง) โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง) สลี (ภาคเหนือ)

Ficus religiosa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 เมตร มียางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ รูปหัวใจ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-24 เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นหางยาว โคนเว้ารูปหัวใจ ก้านใบยาว 8-12 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบอยู่ภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล แยกเพศ ขนาดเล็กจำนวนมาก สีเหลืองนวล ผล: ผลสดแบบมะเดื่อ ทรงกลมสีม่วงดำ ออกผลตลอดปี

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกต้นทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผลเป็นยาระบาย

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศูนย์เอกสารตำรา โซน B

มณฑา

ยี่หุบปรี (จันทบุรี, ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยี่หุบ (กลาง, เหนือ)

Magnolia liliifera (L.) Baill.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MAGNOLIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือพุ่ม สูงได้ถึง10 เซนติเมตรใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 4-6 เซนติเมตรยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ แผ่นใบมักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ก้านใบยาว1.5-2 เซนติเมตร มีต่อมบวมที่โคน มีขนสีขาวประปราย ดอก: สีเหลืองอ่อนถึงครีม กลิ่นหอมแรงในเวลาเช้าตรู่ ออกเดี่ยวๆตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ลักษณะห้อยลง กลีบรองดอก 3 กลีบ สีเขียวอ่อนแกมเหลือง หนาและแข็ง กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้นๆละ 3 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 3-5 เซนติเมตร เมื่อบานกลีบชั้นนอกจะคลี่ออกแผ่แบบห่อๆ เกสรผู้และเกสรเมียจำนวนมาก ผล: เป็นผลกลุ่ม รูปรี ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

หน้าศาลาสารภีคู่ โซน C

มะเกลือ

มักเกลือ (เขมร, ตราด) ผีเผา (เงี้ยว เหนือ)

Diospyros mollis Griff.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EBENACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกนอกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆตามยาว ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร โคนใบมนหรือกลม ส่วนปลายใบสอบ ใบแก่เกลี้ยง ก้านใบยาว 5-10 มิลลิเมตร เมื่อแห้งเป็นสีดำ ดอก: ดอกต่างเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งๆมีประมาณ 3 ดอก ดอกย่อยมีกลีบรองดอก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกยาว 6-8 เซนติเมตร โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรผู้ 14-24 อัน ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว1-3 มิลลิเมตร มีขนนุ่มปกคลุม มีเกสรผู้เทียม 8-10 อัน ผล: ผลกลมเกลี้ยง ขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วผล 4 กลีบ ผลแก่จัดมีสีดำ เมื่อแห้งเปลือกเปราะ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้เป็นมัน สีเข้ม นิยมใช้ทำไม้ถือ กบไสไม้และเครื่องตกแต่งบ้าน เปลือกใช้ผสมเครื่องดื่มพื้นเมืองเพื่อกันบูด ผล ใช้ย้อมผ้าและเครื่องมือประมงและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศูนย์เอกสารตำรา โซน B

มะกอก

กุก (เชียงใหม่, เชียงราย) กอกกุก (เชียงราย) กอกเขา (ใต้, นครศรีธรรมราช)

Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 4-6 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน ผล: ผลกลมรี เปลือกเหนียวคล้ายหนัง สีเขียว เมล็ดเดียว แข็ง รูปไข่ กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร เมล็ดสุกสีเหลือง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ทำแบบก่อสร้าง ผลแก่รับประทานได้และเป็นอาหารสัตว์

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐและหน้าอาคารตึกใหญ่ โซน B

มักเม่า

มัดเซ (ระนอง) เม่าเสี้ยน (ลำปาง) เม่าหลวง (พิษณุโลก) หมักเม่า (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

Antidesma thwaitesianum Muell. Arg

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHORBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 12-15 เมตร ใบ: ใบเดี่ยว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เรียงสลับ ดอก: ออกเป็นช่อแบบ spike ดอกแยกเพศต่างต้น ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล: ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว เมื่อเข้าสู่ระยะสุกในเดือนสิงหาคม-กันยายน จะเปลี่ยนเป็นสีแดงและเป็นสีดำเมื่อสุกจัด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ส่วนผลดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมนำมาประกอบอาหารคล้ายส้มตำ ผลนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์แดงให้สีสันและรสชาติดี ปัจจุบันเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ โดยนำมาเพาะปลูกขายต้นพันธุ์

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคารเรียน 2 โซน A ด้านหน้าอาคารหอพัก โซน B

มะกัก

มะกอกป่า (กาญจนบุรี, นครราชสีมา) หมักกัก (ราชบุรี, สระบุรี) กอกกัก (นครสวรรค์)

Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกว้างๆ โปร่ง กิ่งอ่อนอวบ มีรอยแผลใบปรากฏอยู่และมีขนนุ่มๆ ทั่วไป เปลือกนอกสีเทา เรียบ มีต่อมระบายอากาศทั่วไป เปลือกในสีขาว ใบ: ใบประกอบขนนกแบบสองชั้น ช่อใบยาวถึง 40 เซนติเมตร เรียงสลับเวียนกันตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆจะมีช่อย่อยติดเรียงสลับ 5-10 ช่อ ช่อย่อยประกอบด้วยใบรูปไข่หรือรูปหอก ติดตรงข้ามหรือเยื้องกัน 3-6 คู่ ใบที่อยู่ปลายสุดของก้านช่อย่อยจะเป็นใบเดี่ยวๆ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5 - 9 เซนติเมตร ใบคู่ต้นๆ จะมีขนาดเล็กกว่าคู่ทางปลายช่อ โคนใบเบี้ยว ส่วนปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบค่อนข้างบาง ดอก: ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ผล: ผลสด กลมรี สีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง มี 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำหีบใส่ของ แบบหล่อคอนกรีต กล่องและไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไส้ไม้อัดและทำเยื่อกระดาษ ผลแก่รับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมและเป็นอาหารสัตว์ป่าได้ดี

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าห้องปฐมพยาบาล

มะพลับ

พลับ (กลาง)

Diospyros areolata King & Gamble

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EBENACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อนหรือดำ ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง 4–7 เซนติเมตร ยาว 7–10 เซนติเมตร โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวทู่ เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอก: ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยวๆ ตามกิ่งเล็กๆ ก้านดอกยาว 5–10 มิลลิเมตร มีขน ผล: กลมหรือค่อนข้างกลม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน กลีบส่วนมากจะพับกลับหรืออาจแผ่กางออก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้เป็นไม้ประดับและเป็นพืชสมุนไพร เปลือกต้นและเนื้อไม้ต้มเอาน้ำดื่มบำรุงธาตุ เจริญอาหาร โดยใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆชงดื่ม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นอาคารตึกใหญ่ โซน B

มะพอก

มะพอก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะมื่อ (เหนือ)

Parinari anamense Hance

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CHRYSOBALANA CEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่ม เปลือกต้นหนา สีเทา แตกเป็นร่องลึก ใบ: ใบเดี่ยว รูปกลมรี โคนใบมน ปลายใบหยักคอด หลังใบเขียว ท้องใบเหลือบขาว ดอก: ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ก้านดอกสั้นมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่น กลีบรองดอกเป็นกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน มีความยาวเท่าๆกับกลีบรองดอก เกสรเพศผู้มี 5-12 อัน รังไข่รูปทรงกลม ผล: กลมรีเหมือนไข่ ผิวฉ่ำน้ำ เนื้อชุ่ม เมล็ดเดี่ยว โต และแข็ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้รสเฝื่อนเมา ต้มดื่มแก้ประดง ผื่นคันตามตัว แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย น้ำมันจากผลใช้ทากระดาษทำร่ม

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารศูนย์วัฒนธรรมตรงข้างศูนย์การศึกษา พิเศษ โซน D

โมกมัน

มักมัน (สุราษฏร์ธานี) มูกน้อย (นครพนม, เหนือ) มูกมัน (น่าน, สุราษฏร์ธานี) โมกน้อย (กลาง)

Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APOCYNACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ท้องใบมีขนนุ่ม กว้างประมาณ 1-6.5 เซนติเมตรยาว 2.5-14 เซนติเมตร ดอก: สีขาว กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 2-5 มิลลิเมตรปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 7-14 มิลลิเมตร มีขนนุ่มทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ติดที่หลอดของกลีบดอก รังไข่ยาว 1-2 มิลลิเมตร ผล: แห้งแตก กว้าง 0.6-1.8 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร เมล็ดมีขนโดยรอบ

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน

แหล่งที่พบ

หน้าห้องปฐมพยาบาลทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

มะเดื่อปล้อง

เดื่อปล้อง (นครศรีธรรมราช, เหนือ) เดื่อสาย (เชียงใหม่) เดื่อป่อง (กรุงเทพฯ)

Ficus hispida L.f.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนมียางขาว กิ่งอ่อนกลวง ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก: ขนาดเล็ก อยู่ในช่อดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล แยกเพศอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกเพศเมียกลวง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ช่อดอกเพศผู้รูปกลมแป้น กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ผล: ผลสุกสีเหลืองอ่อนและมีสารเมือกคุม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบต้มน้ำดื่มรักษาโรคม้ามโต ราก ลำต้นและเหง้าต้มน้ำดื่มกระตุ้นการหลังน้ำนม

แหล่งที่พบ

หลังอาคารเรียน 4 โซน D

มะปราง

สตา (มลายู)

Bouea macrophylla Griff.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น : ไม้ยืนต้น เรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกค่อนข้างขรุขระ เป็นร่อง มีสีน้ำตาลอ่อน ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเรียงสลับกัน รูปยาวรี ปลายใบเรียวแหลมมีติ่ง ใบมีขนาดยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรดอก: ออกเป็นช่อ สีเหลือง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกและกลีบรองดอก มีประมาณ 3-5 กลีบ ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร เปลือกเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อผลแก่หรือสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปยาวรี

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากใช้เป็นยาถอนพิษไข้ต่างๆ ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B หน้าซุ่มเขียวลานสวนดุสิตโพล โซน B

มะพร้าว

หมากอุ๋น หมากอูน (กลาง)

Cocos nucifera L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงชะลูด ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ขนาดของลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ใบ: ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปขนนก ใบรวมก้านหนึ่งยาวประมาณ 3-7 เมตร กว้างประมาณ 1-1.4 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นแผ่นแคบยาว ปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเป็นมัน มีสีเขียวแก่ ดอก: ดอกออกเป็นช่อ ออกตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ในช่อหนึ่ง ๆ มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย ดอกตัวผู้จะอยู่ปลายช่อและดอกตัวเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อดอก ผล: ผลขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปรี เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่ก็จะสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในจะแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และภายในมีน้ำใสมีรสจืดหรือหวาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลแก่ใช้ทำน้ำมัน ผลอ่อนรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน น้ำมะพร้าวอ่อนเนื้อมะพร้าวสามารถนำมารับประทานได้

แหล่งที่พบ

บริเวณโดยรอบสระน้ำ โซน A

มะม่วงหิมพานต์

ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี) ตำหยาว (ใต้) มะม่วงไม่รู้หาว (กลาง) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา (เหนือ) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)

Anacardium occidentale L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบ: เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับ รูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่อหลวมๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น ผล: ผลเมื่อโตฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงและมีกลิ่นหอม ผลแบบ nut ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมรับประทานเป็นอาหารทั่วไป ผลสุกรับประทานเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง บิด อาเจียน น้ำมันในเปลือกใช้เป็นยาทารอยแตกที่ส้นเท้าได้

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนอนุบาลลอออุทิศ โซน C

มะยม

มะยม (กลาง)

Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHOBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นสูง 3-4 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งก้านมักคดงอ แตกกิ่งแผ่กระจาย ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับบนกิ่งเล็กๆดูคล้ายใบประกอบ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย ดอก: ออกเป็นช่อเล็กๆตามข้อของลำต้นและกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกกลมหรือรูปไข่ สีเขียวอ่อนหรือชมพูแก่ ผล: มีลักษณะขาวอมเหลือง กลมแป้น เป็นพู 6-8 พู ด้านบนบุ๋มลง ด้านล่างแบน ขนาด 1-2 เซนติเมตร เนื้อฉ่ำน้ำมีรสเปรี้ยว ผลห้อยเป็นพวง

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากแก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใบผสมในยาเขียว แก้ไข้ หัด อีสุกอีใส ต้มน้ำอาบ สระผม แก้คัน ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

แหล่งที่พบ

ลานสวนดุสิตโพลและซุ่มเขียว โซน B

มะม่วง

มะม่วงบ้าน มะม่วงสวน (กลาง)

Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANCARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ลำต้นตรง สูงประมาณ 10 – 14 เมตร เปลือกของลำต้นแข็ง มีลักษณะขรุขระและมีเกล็ดมาก เปลือกอ่อนสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตัวสลับกัน ใบอ่อนมักมีสีออกแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบเป็นมัน ก้านใบยาว 1-10 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 8-40 เซนติเมตร กว้าง 2-10 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างแบบรูปโล่ รูปหอก รูปไข่ และเรียวยาว ฐานใบแคบและค่อยๆกว้างออกคล้ายรูปลิ่มแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบมักจะเป็นคลื่น ดอก: ดอกช่อ มีกลิ่นหอม ดอกมีหลายสีแตกต่างกัน เช่น สีแดง ชมพู หรือขาว กลีบเลี้ยงมักมี 5 กลีบแยกกัน สีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมักมี 5 กลีบ กลีบดอกยาวเป็น 2 เท่าของกลีบเลี้ยง มีสีเหลือง เมื่อแก่กลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ในดอกเพศผู้เกสรเพศเมียจะฝ่อไป ส่วนในดอกสมบูรณ์เพศจะมีรังไข่ 1 ช่อง รูปร่างเบี้ยวไม่มีก้าน ไข่มีจำนวน 1 ฟอง ผล: รูปร่างของผลมีตั้งแต่กลมไปจนถึงรูปไข่ค่อนข้างยาว ผลมักจะแบนด้านข้าง เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ส้ม แดง มี 1 เมล็ด เปลือกแข็ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ยอดอ่อน ผลอ่อนนำมาประกอบอาหารแทนผัก ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารเรียน1 โซน A ด้านหลังซุ่มเขียวลานสวนดุสิตโพล โซน B

มะไฟ

ส้มไฟ (ใต้) หัมกัง (เพชรบูรณ์)

Baccaurea ramiflora Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHORBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-22 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างบางและเกลี้ยง ดอก: ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาวมาก มีใบประดับขนาดเล็กอยู่ที่โคนก้านดอก กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 4-8 อัน รังไข่มีขน ผล: ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร สีเหลืองถึงแดง ผิวเกลี้ยง มี 1-3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆดื่มแก้ท้องร่วง แก้บวมอักเสบ เผาไฟกินเป็นยาถอนพิษ ดับพิษร้อน ต้นและเปลือกทำเป็นยาทาภายนอก แก้บวมอักเสบ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

มังคุด

มังคุด (กลาง)

Garcinia mangostana L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • GUTTIFERAE

ต้น: ลำต้นตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ผิวลำต้นเรียบทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาค่อนข้างเหนียว ผิวใบมัน ดอก: ต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกต้นกัน ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง แข็งและคงทนอยู่จนกลายเป็นผล กลีบดอกสีชมพูเข้ม ร่วงง่ายผล: ค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียว ผิวผลแข็ง ผลสุกสีม่วงดำ ผิวด้านในสีชมพูอมม่วง เปลือกผลหนา ผิวผลนิ่ม ภายในมีเนื้อสีขาว รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว มีเนื้อใน 5-7 กลีบ ในหนึ่งผลมีเมล็ดใหญ่เพียงหนึ่งเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกมังคุดใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสีย ใช้เปลือกที่ตากแห้งต้มกับน้ำปูนใสหรือฝนกับน้ำดื่มแก้อาการเป็นบิด (ปวดเบ่ง มีมูกและอาจมีเลือดออก) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใส่ประมาณครึ่งแก้วดื่มทุกชั่วโมง

แหล่งที่พบ

ข้างอาคารเรียน1 ตรงข้ามทางเข้าห้องอาหารโฮมเบเกอรี่ โซน A

มะฮอกกานีใบใหญ่

มะฮอกกานีใบใหญ่ (กรุงเทพฯ)

Swietenia macrophylla King

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

พฤกษศาสตร์ ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดรูปทรงกระบอก โตเร็ว เปลือกสีน้ำตาลเข้มปนดำ เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีหรือขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลมเบี้ยว หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอก: ดอกช่อ สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกตามง่ามปลายกิ่ง ผล: รูปไข่ สีน้ำตาล เปลือกแข็ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้ปลูกให้ร่มเงาและปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เนื้อไม้มีลวดลายสวย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องดนตรี ด้ามแร็กเก็ต ไม้คิวสนุกเกอร์ ฯลฯ จัดเป็นหนึ่งในไม้สวยของโลก

แหล่งที่พบ

ด้านข้างเวทีสนามหญ้าอนุบาลละอออุทิศ

มะกอกเลื่อม

มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี) มะกอกเลือด (ใต้) มะเกิ้ม (เหนือ) มะเลื่อม (จันทรบุรี, พิษณุโลก) มักเหลี่ยม (จันทรบุรี) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี)

Canarium subulatum Guillaumin

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BURSERACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาล มียางสีขาว ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยจำนวน 2-5 คู่ รูปหอก ปลายแหลม โคนเบี้ยว มีหูใบ หลังใบมีขนเล็กน้อย ดอก: ออกดอกเป็นช่อระหว่างซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและ ดอกแยกเพศ มักจะออกดอกพร้อมกับใบอ่อน กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือกรวยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกมีกลีบรูปขอบขนาน 3 กลีบ ยาวประมาณ 2 – 3 เท่าของกลีบรองดอก ก้าน ดอกและก้านช่อดอกเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เกสรเพศผู้มี 6 อัน รังไข่รูปรี มี 3 ช่อง ผล: ผลรูปไข่ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มักเป็นสันสามเหลี่ยมกลายๆ ขั้วมีกลีบรองดอกติดอยู่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลมีรสฝาดเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก่นรสเฝื่อนแก้โลหิตระดูพิการ ยางรสฝาด ทาแก้ผดผื่นคัน เป็นเครื่องหอม

แหล่งที่พบ

ลานสวนดุสิตโพล โซน B

ไม้แดง

แดง (กลาง, สงขลา)

Xylia xylocarpa Taub. var. kerrii (Craib ex Hutch.) I.C. Nielsen

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ใบ: ประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนงออกจากปลายก้านใหญ่สองแขนง ระหว่างง่ามแขนงมีตุ่ม สีชมพูหรือสีน้ำตาลแดง แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ จำนวน 4-5 คู่ ปลายใบแหลมมน ฐานใบมักจะเบี้ยว ดอก: ดอกเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกรวมกันเป็นกระจุกรูปทรงกลมบนก้านช่อ คล้ายดอกกระถิน ผล: เป็นฝัก รูปไตแบนแข็ง ยาว 7-10 เซนติเมตร ฝักแก่สีน้ำตาลอมเทา แตกม้วนบิดงอ เมล็ดแบน มีจำนวนหลายเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้สีแดงเรื่อๆหรือน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียดแข็งเหนียว หนัก มีความทนทานสูง เลื่อยและตกแต่งได้ยาก เหมาะสำหรับการก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง เช่น เสาบ้าน คาน เสาสะพาน คันไถ เกวียน ต่อเรือ หมอนรองรางรถไฟ เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องมือทางการเกษตร ฯลฯ ประโยชน์ทางยา แก่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิตและโรคกษัย เปลือก มีรสฝาด ใช้สมานธาตุ ดอก ผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ด นำมารับประทานได้

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารแปดเหลี่ยม โซน B

ยางพารา

ยาง (กลาง, ตะวันออกเฉียงเหนือ)

Hevea brasiliensis (Willd. Ex A. Juss.) Muell. Arg.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHORBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-15 เซนติเมตร ยาว 4-50 เซนติเมตร ดอก: แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้สีเหลือง กลีบรวมรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณู 10 อัน ดอกเพศเมียมีฐานดอกสีเขียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผล: ผลแห้งมี 3 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 เซนติเมตร มีจำนวน 3 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกให้น้ำยาง ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์และอื่นๆ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ใบต้มกับด่างให้เหลือแต่เส้นใบใช้ทำดอกไม้ประดับและของชำร่วย

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นสระว่ายน้ำบริเวณข้างสระว่ายน้ำเด็ก โซน C

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิป (กรุงเทพฯ, กลาง)

Eucalyptus camaldulensis Dehnh.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ลำต้น: เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูง 24-26 เมตร และอาจสูงถึง 50 เมตร เปลือกมีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกง่าย ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปหอก ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบ แบบซี่ร่มหรือแบบกระจุก ดอกย่อยมี 7- 11 ดอก ก้านช่อดอก ยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยเรียว ยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร ดอกตูมรูปกลมหรือกรวยกลม ด้านบนเป็นฝาปิดรูปทรงกลม ปลายมีจงอยฝาปิด ร่วงเมื่อดอกบาน ด้านล่างเป็นฐานดอกรูปถ้วย เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ผล: ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร สีเหลือง เมล็ด มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม ผิวนอกแข็ง เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ทำให้เมล็ดที่อยู่ภายในหล่นออกมา

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้นำมาเผาถ่านซึ่งให้ความร้อนใกล้เคียงกับไม้โกงกาง ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ (ไม้อายุ 3-6 ปี) หรือนำไปทำไม้อัด (ไม้อายุ 6-10 ปี)

แหล่งที่พบ

แนวทางเดินด้านหลังอาคารรักตะกนิษฐ โซน C

ราชพฤกษ์

ชัยพฤกษ์ (กลาง) คูน (กลาง, เหนือ) ลมแล้ง (เหนือ)

Cassia fistula L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 3-8 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ดอก: สีเหลืองสด ออกตามซอกใบเป็นช่อห้อยลง ยาว 20-40 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบรองดอก 5 กลีบ ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรผู้ 10 อัน สั้น 7 อัน ยาว 3 อัน ก้านเกสรเมียและรังไข่มีขนยาว ผล: เป็นฝักยาว รูปแท่งกลม กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ฝักแก่ไม่แตก แต่จะหลุดร่วงทั้งฝักและหักแตกเป็นชิ้น เมล็ดมีเนื้อเหนียวสีดำหุ้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เนื้อหุ้มเมล็ดใช้แก้ท้องผูก ขับเสมหะ ดอกแก้ไข้ เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน

แหล่งที่พบ

หน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A

ลองกอง

ลองกอง (สุราษฎร์ธานี) ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช)

Lansium domesticum Correa

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 20 - 30 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นขรุขระ ใบ: ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นมัน ขนาดใหญ่ นูนเป็นคลื่นเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดดอก: ดอกช่อ ตาดอกมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว ซึ่งจะเจริญเป็นช่อดอกที่แตกออกมาจากลำต้น การออกดอกส่วนใหญ่จะเริ่มบริเวณ 2 ใน 3 ของช่อดอกจากปลายช่อ ผล: ผลของลองกองมีขนาดใหญ่กว่าลางสาด ผลค่อนข้างกลมและมีผลรีบ้างเล็กน้อย เมื่อสุกมีสีจางกว่าสีของผลลางสาด เมล็ดในแต่ละผลมีน้อยหรือไม่มีเลยขนาดค่อนข้างเล็ก มีรอยแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานใช้รับประทานได้ เปลือกของลำต้นมีรสฝาด ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ เมล็ดมีรสขมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

ละมุด

ละมุดฝรั่ง (กลาง)

Manilkara zapota (L.) P. Royen

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPOTACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15-20 เมตร มีกิ่งเหนียว กิ่งก้านแตกออกรอบลำต้นเป็นชั้นๆ เปลือกของลำต้นมีสีน้ำตาล ใบ: เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เป็นมัน เกิดเป็นกระจุกแน่นตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร ดอก: ดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ผล: รูปไข่ ยาวรีหรือกลม ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลบางมีสีน้ำตาลอ่อน ผลดิบมียางสีขาว ผลสุกเนื้อจะมีสีน้ำตาลแดง เมล็ดสีดำเป็นมัน เปลือกแข็ง ยาว 1-2 เซนติเมตร ผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 1-6 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ทำไวน์และทำน้ำละมุด ผลละมุดสุกมีน้ำตาล วิตามินเอและซี มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่นๆ ละมุดดิบ มียางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสารที่ชื่อว่า (gutto) มีชัน สารฝาดสมานและอื่นๆ ใช้เป็นยา

แหล่งที่พบ

แนวทางเดินด้านหลังอาคารรักตะกนิษฐข้างสระว่าย น้ำ โซน C

ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว (กลาง, กาญจนบุรี)

Plumeria obtusa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APOCYNACEAE

ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาเปราะและอุ้มน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร และมีน้ำยางสีขาวใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับแบบขั้นบันไดเวียน มีใบดกที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายมน โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีขนสั้นๆ ประปราย และมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-2.5 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกเป็นรูปกรวยสีขาว ภายในหลอดดอกมีขนประปราย ผล: เป็นฝักยาว ผิวเกลี้ยง ยาว 6-11 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเป็นรูปแบนๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

น้ำยางใช้ใส่แผล ทาแก้โรคงูสวัด หิด เมล็ดเป็นยาระบาย ขับน้ำเหลือง แก้โรคงูสงัด แผลจากซิฟิลิส

แหล่งที่พบ

บริเวณโดยรอบสระว่ายน้ำ โซน C

ลั่นทมแดง

จำปาขอม (ใต้, พังงา) จำปาลาว (เหนือ) ลั่นทม (กลาง)

Plumeria rubra L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APOCYNACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูงราว 25 เมตร ผิวของเปลือกลักษณะเป็นมัน เกลี้ยง เรียบ มีสีเทาอ่อนๆ ลำต้นมียางสีขาวเหมือนยางมะละกอ ใบ: ใบเดี่ยว ใบค่อนข้างหนา แข็ง ปลายใบแหลมเรียวยาว ขอบใบเรียบ ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ใบออกรวมกันตรงส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอก: มีสีแดงสด ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีจำนวนประมาณ 15-30 ดอก รูปกรวย ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ลักษณะกลีบดอกปลายแหลมเรียว ยาวดอกเมื่อโตเต็มที่มีขนาด 4 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกต้นแก้ไข้ เป็นยาถ่ายขับระดู แก้ปวดฟัน แก้คัน เนื้อไม้แก้ไอ ขับพยาธิ แก่นถ่ายพิษ แก้ผิวหนัง ใบแก้บาดทะยัก แก้ปวดบวม รักษาหืด

แหล่งที่พบ

บริเวณโดยรอบสระว่ายน้ำ โซน C

ลำดวน

หอมนวล (ภาคเหนือ)

Melodorum fruticosum Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANNONACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ผิวแตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ รูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียว ดอก: ดอกเดี่ยว สีเหลืองนวล กลีบดอกหนา มีจำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ ผล: ผลกลุ่ม ผลย่อยกลมขนาดเล็ก ปลายผลมน โคนผลแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียว เมื่อสุกเป็นสีม่วงหรือดำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ดอกลำดวนแห้งมีสรรพคุณ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้ ใช้ผสมยาหอม แก้ลม วิงเวียน บำรุงหัวใจ

แหล่งที่พบ

แนวทางเดินด้านข้างสระว่ายน้ำหลังอาคาร กนิษฐ โซน C

ลำใย

ลำใยป่า (กลาง, อุตรดิตถ์)

Dimocarpus longan Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดลำต้นและกิ่งก้านมีสีน้ำตาลอมเทา ใบ: ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ใบดกหนาทึบ รูปหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม ดอก: ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนๆ ผล: มีลักษณะเป็นลูกกลม เปลือกสีน้ำตาล เนื้อในผลสีขาวใส รสหวาน มีเมล็ด 1 เมล็ด มีสีดำ ผลจะแก่จัดในราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้รับประทาน ใบสดมีรสจืดและชุ่ม ใช้เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาดและแก้ไข้หวัด โดยนำเอาต้มน้ำกิน ดอกเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย เมล็ดต้มหรือบดเป็นผงกินจะมีรสฝาด ใช้ภายนอกรักษากลากเกลื้อน แผลมีหนอง แก้ปวด สมานแผล ใช้ห้ามเลือด

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

ศรีตรัง

แคฝอย (กรุงเทพฯ, เหนือ)

Jacaranda filicifolia D. Don.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ดอก: ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง สีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ให้ร่มเงาและความสวยงามทั่วไป

แหล่งที่พบ

หลังซุ้มเขียว โซน B

ส้มโอ

มะขุน มะโอ (เหนือ)

Citrus maxima (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • RUTACEAE

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาลและมีหนามเล็กๆทั่วไป สูงประมาณ 8 เมตร ใบ : ใบเดี่ยว รูปมนรี กว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน ก้านใบมีส่วนที่แผ่ออกเป็นปีกรูปคล้ายหัวใจ ดอก : ออกดอกเป็นช่อและดอกเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะพบเป็นดอกเดี่ยวออกอยู่ตามง่ามใบ สีขาว มี 4 กลีบ ปลายกลีบมน มีเกสรเพศผู้มีจำนวน 20-25 อัน ผล: ทรงกลมโต ขนาดของผลยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ส่วนหัวของผลจะนูนขึ้นมาเป็นกระจุก เมื่อยังอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลมีต่อมน้ำมันมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกผลสีขาวมีธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียมและอื่นๆ ใช้เชื่อมเป็นอาหารหวาน รับประทานเป็นผลไม้ ทำยำส้มโอ ใส่ข้าวยำ ทำเมี่ยงส้มโอและน้ำผลไม้ ผิวผลนอกสุดมีน้ำมันหอมระเหย

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

สำโรง

จำมะโฮง (เชียงใหม่) มะโรง มะโหรง (ปัตตานี) โหมโรง (ใต้)

Sterculia foetida L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • STERCULIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ: ใบประกอบรูปนิ้วมือกางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5–6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอก: สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ผล: ผลแห้งแตก รูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ผลออกช่วงเดือน มกราคม-เมษายน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ฝักใช้สมานแผลในกระเพาะ เปลือกละลายเสมหะน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารเรียน 1 โซน A

หนวดปลาหมึก

หนวดปลาหมึก (กรุงเทพฯ)

Schefflera actinophylla (Endl.) Harms

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ARALIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นทรงพุ่มแน่น ใบ: ใบเป็นใบประกอบรูปฝ่ามือ เรียงสลับ มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบที่จุดเดียวกันจำนวน 7-11 ใบ ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อนดอก: สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายหนวดของหมึก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ผล: ผลสด มีเมล็ดเดียว ลักษณะแข็งมีสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นสระว่ายน้ำด้านข้างศาลาสารภีคู่ โซน C

สะเดา

กะเดา (ใต้) สะเลียม (เหนือ, อุตรดิตถ์)

Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นสูง 8-15 เมตร ผลัดใบ ทุกส่วนมีรสขม เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ใบ: ใบอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบรูปหอกปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ ผล: เป็นผลสด รูปกลมรี ขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมล็ดแข็ง มีจำนวน 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ด้านหลังตึก 3 โซน A

แหล่งที่พบ

ด้านหลังตึก 3 โซน A

สารภี

สร้อยพี (ใต้) ทรพี (จันทรบุรี) สารภีแนน (เชียงใหม่, เหนือ)

Mammea siamensis Kosterm.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • GUTTIFERAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หนาทึบ แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-14 เซนติเมตร ปลายใบมนโคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนาเหนียว สีเขียวเข้ม เส้นใบขนาน ดอก: เป็นดอกช่อ ออกตามลำต้นและกิ่ง กลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 0.5 เซนติเมตร เมื่อเริ่มบานเป็นสีขาว ใกล้โรยเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีเหลืองเข้ม ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอมแรงตอนค่ำถึงเช้าแล้วร่วง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม- มีนาคม ผล: รูปกระสวย ยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อนุ่ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกใช้ทำเครื่องหอมจำพวกบุหงา ผลสุกรับประทานได้

แหล่งที่พบ

หน้าศาลาสารภีคู่ โซน C

สาละ

อินทรชิต (ปราจีนบุรี) ตะแบกขน (นครราชสีมา) สาละใบใหญ่ (ทั่วไป)

Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LYTHRACEAE

ต้น: เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ทรงพุ่มทึบ กิ่งทอดห้อยลง เปลือกสีดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดต้น ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนานกว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ยาว 16 - 24 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาวเล็กน้อย โคนใบมน ผิวใบมีขนปุยอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน ดอก: สีม่วงสด เวลาดอกบานช่อดอกจะแน่นเป็นรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่มสีเหลืองปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมักมี 6-7 หรือ 8 กลีบ กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยเมื่อ บาน มีขนาดกว้าง 6.8-8.2 เซนติเมตร ผล: เกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 1.5 - 2.1 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5 - 6 พู เมล็ดมีจำนวนมาก มีปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบบดกับกำยานใช้ทาผดผื่นคัน ผลใช้ทำไม้ประดับแห้ง

แหล่งที่พบ

หน้าห้องปฐมพยาบาลทางเข้าหอพัก โซน B

แสงจันทร์

แสงจันทร์ (กรุงเทพฯ)

Pisonia grandis R. Br.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • NYCTAGINACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 5-10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวอมเทา ผิวลำต้นเรียบ ใบ: เป็นใบเดี่ยว แตกออกตามข้อของกิ่ง เนื้อใบมองเห็นเส้นใบได้ชัด บางนิ่ม สีเหลืองอมเขียวอ่อน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรดอก: ดอกช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบเชิงหลั่น ดอกย่อยอัดกันแน่น ออกที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบประดับรูปลิ่มแคบ สั้น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ ยาว 4-5.5 มิลลิเมตร มีขน กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมกว้าง ดอกเพศเมีย ถ่างกว่าดอกเพศผู้ ดอกย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ผล: รูปทรงกระบอง กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร มีลายแถบ 5 แถบ ผิวมีปุ่ม เมล็ดมีขนาดเล็กกว้างประมาณ 9-10 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบมีรสชาติเหมือนผักกาดหอม ใช้เป็นผักหรือรองห่อหมกได้ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ตำพอกแก้อักแสบ ฟกบวม

แหล่งที่พบ

อาคารสมเด็จพระนางเจ้า (อาคาร 11)

หมาก

หมากเมีย (กลาง) หมากสง (ใต้)

Areca catechu L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นตั้งตรงผิวเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนและต้นแก่สีน้ำตาลเทา ไม่มีน้ำยาง ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แตกออกเป็นกระจุก บริเวณยอด ใบย่อยเป็นเส้นตรง ยาวประมาณ 2 เมตร ดอก: ดอกช่อ ออกบริเวณโคนใบล่างสุด มีกาบหุ้มช่อดอกขนาดใหญ่ ดอกย่อยแยกเป็นดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผล: ผลรูปกลมหรือรี ผลสุกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีแดง เมล็ดมีขนาดใหญ่ เมื่อผ่าตามขวางจะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในที่ที่มีแสงตลอดทั้งวัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้กินกับปูนแดงและพลู เป็นของกินเล่นที่สำคัญของชาวไทยและหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อเมล็ดใช้ฟอกหนัง เนื่องจากมีปริมาณแทนนินสูงและใช้เป็นส่วนผสมของการย้อมผ้าสีกากี แหและอวนที่ทำจากด้าย ใช้ทารักษาแผลน้ำกัดตามง่ามมือเท้า และใช้ถ่ายพยาธิ เนื้อไม้ใช้ทำตอหม้อในทะเล

แหล่งที่พบ

หลังอาคารเรียน 2 โซน A

หมากเขียว

หมากฝรั่ง (กรุงเทพฯ) ปาล์มหมาก (กรุงเทพฯ) หมากพร้าว (เชียงใหม่, นราธิวาส)

Ptychosperma macarthurii H. Wendl.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ลำต้นก็เกิดจากหน่อ สูงประมาณ 10-20 เมตร ลักษณะผอมและเป็นข้อปล้องตรง เมื่อยังอ่อนเปลือกจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมเขียว ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ ใบย่อยยาว 10 -15 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร โคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ เนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ใบสีเขียวอ่อน ดอก: เป็นช่อคล้ายจั่นหมาก ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง อมเขียว หรือสีขาวนวล ผล: กลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง มีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารตึกใหญ่ทางเข้าหอพัก โซน B

หมากนวล

หมากมนิลา (กรุงเทพฯ) หมากฝรั่ง, หมากอินเดีย (กรุงเทพฯ)

Veitchia merrillii (Becc.) H.E. Moore

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 5-10 เมตร การเจริญเป็นลำต้นเดี่ยวไม่มีหน่อ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตร ลักษณะโค้งเล็กน้อย โคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยเรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 50 - 60 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียว เรียบเป็นมัน ดอก: เป็นช่อคล้ายจั่นหมาก ก้านดอกมีสีขาวนวล ดอกย่อยมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง ผล: เล็ก กลมรี สีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านข้างสระว่ายน้ำเด็ก โซน C

หว้า

ห้าขี้แพะ (เชียงราย)

Syzygium cumini (L.) Skeels

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเทา ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ดอก: สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ฐานรองดอกรูปกรวย ยาว 2-5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอกหลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล: ผลสดรูปรี ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีดำ ออกดอกและติดผลในระหว่างเดือน ธันวาคม-มิถุนายน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสุกรับประทานได้ นำผลมาแปรรูปเป็นไวน์เมล็ดมีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลำต้นสามารถนำมาทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนอนุบาลลอออุทิศ โซน C

หางนกยูงฝรั่ง

นกยูงฝรั่ง (กลาง) อินทรี (จันทบุรี)

Delonix regia (Bojer. ex Hook.) Raf.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แกนช่อใบ ยาว 50-60 เซนติเมตร แกนแขนงมี 9-24 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ดอก: สีแดงแซมส้มเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-15 เซนติเมตร มี 5-10 ดอก ดอกย่อยขนาด 5-8 เซนติเมตร กลีบรองดอก 5 กลีบ ด้านในสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อนขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้ 10 อัน ผล: เป็นฝักโค้งแข็ง กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 30-60 เซนติเมตร มี 20-40 เมล็ด เมื่อแห้งจะแตกตามสัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศูนย์เอกสารตำรา โซน B หน้าอาคารเรียนอนุบาลลอออุทิศ โซน C

หูกวาง

ดัดมือ (ตรัง) โคน (นราธิวาส) ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล)ชื่อ

Terminalia catappa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMBRETACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นเปลือกสีเทา ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลมอ่อน โคนใบสอบแคบเว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบหนา มีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ ดอก: ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบบริเวณปลายกิ่ง ออกดอก กุมภาพันธ์ – เมษายน ผล: รูปไข่หรือรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้างประมาณ 2 -5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีดำคล้ำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนและที่จอดรถของสถาบันฯ โซน B

อ้อยช้าง

กุ๊ก (เหนือ) หวีด (เชียงใหม่) กอกกั๋น (อุบลราชธานี) ช้าเกาะ ช้างโน้ม (ตราด) ตะคร้ำ

Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่งๆ เปลือกสีเทาอมเขียวหรือขาวปนเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นๆห้อยย้อยลง ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นช่อเรียงสลับช่อหนึ่งมีใบย่อย 2-7 คู่ รูปไข่แกมรูปหอก โคนเบี้ยวปลายเป็นติ่งยาวทู่ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนประปราย ขอบเรียบ ดอก: ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้โตกว่าเพศเมียเล็กน้อยสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกส่วนมากมี 4 กลีบ ผล: มีขนาดและลักษณะคล้ายถั่วเมล็ดแข็ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ไม้ใช้ทำกระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน เปลือกเป็นยาใส่แผล แก้ปวดท้อง ทำเชือกและทุบทำเป็นผืนสำหรับปูบนหลังช้าง ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง ฯลฯ และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol แก้เสมหะเหนียว แก่นมีรสฝาด ปรุงเป็นยาทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน 2 โซน B

อโศก

อโศกอินเดีย อโศกเซนคาเบรียล (กรุงเทพฯ)

Polyalthia longifolia (Benth.) Hook. f.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANNONACEAE

ต้น: เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบๆ สูงเต็มที่ได้ถึง 25 เมตร กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น ทำให้แลดูต้นสูงชลูดมาก เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้มหรือเทาปนน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว รูปใบหอกแคบๆ ปลายแหลม ยาว 15- 20 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมันเงา ขอบใบเป็นคลื่น ดอก: ดอกสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกตามข้างๆกิ่ง มีกลีบดอก 6 กลีบ ดอกเป็นคลื่นน้อยๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5- 2 เซนติเมตร ผล: ผลกลุ่ม รูปไข่ ยาว 2 เซนติเมตร เมื่อสุกสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านหลังสำนักงานสระว่ายน้ำ โซน C

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู

Hibiscus sabdaiffa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Jamaica sorrel หรือ Roselle

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระเจี๊ยบแดงจะเป็นไม้พุ่ม ความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร กิ่งก้านของต้นมีสีม่วงแดง มีขนตามกิ่งและก้านรำไร ใบกระเจี๊ยบเป็นใบเดี่ยว รูปทรงไข่หรือรูปนิ้วมือ ขนาดใบกว้างกระมาณ 7-12 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ขอบใบจัก ส่วนดอกกระเจี๊ยบมีสีเหลือง กลางดอกมีสีม่วงอมแดง ขนาดความดอกกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกกระเจี๊ยบจะออกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบ ในดอกกระเจี๊ยบมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเผ็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ลดไข้

ในกระเจี๊ยบมีสารพฤกษเคมีที่สำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสระทั้งสารในกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารในกลุ่มแอนโธไซยานิน ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า สารพฤกษเคมีดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ลดไข้ และต้านการอักเสบ นอกจากนี้วิตามินซีในกระเจี๊ยบยังมีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย

2. แก้ไอ ละลายเสมหะ

ในตำรับยาแผนโบราณพบว่าใบกระเจี๊ยบมีฤทธิ์แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ไหลลงสู่ทวารหนัก ทั้งยังช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้อีกต่างหาก

3. ขับปัสสาวะ

จากการศึกษาให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสกัดกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง พบว่า กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ดี โดยในการทดลองได้ใช้กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงตากแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือประมาณ 300 มิลลิลิตร ให้ผู้ป่วยดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี ส่วนในตำราพื้นบ้าน แนะนำให้นำกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงมาชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้

4. แก้กระหาย ให้ร่างกายสดชื่น

ดอกกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว เพราะมีวิตามินซี และกรดซิตริก จึงช่วยขับน้ำลายและแก้กระหาย โดยนำดอกกระเจี๊ยบตากแห้ง ต้มในน้ำเดือดเป็นน้ำกระเจี๊ยบหอมหวานชื่นใจ

5. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ดอกกระเจี๊ยบมีสรรพคุณต้านการอักเสบ และมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

6. ลดไขมันในเลือด

ส่วนเมล็ดของกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบตากแห้งมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำมาชงกับน้ำร้อนหรือต้มน้ำดื่ม ช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัด

7. ป้องกันโรคหัวใจ

สารแอนโธไซยานินที่ทำให้กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบมีสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำให้เลือดไม่หนืด ช่วยลดไขมันเลวในเส้นเลือด จึงป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันหัวใจขาดเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยนิยมนำกระเจี๊ยบแดงไปต้มกับพุทราจีน เพื่อบำรุงหัวใจ

8. รักษาแผล

ใบของกระเจี๊ยบมีสรรพคุณในการต้านอาการอักเสบ จากตำรับยาแผนโบราณจะพบว่ามีการนำใบสดของกระเจี๊ยบแดง ล้างให้สะอาด และตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาประคบฝีหรือต้มใบแล้วนำน้ำต้มใบมาล้างแผล ก็จะช่วยบรรเทาอาการแผลให้หายเร็วขึ้น นอกจากนี้ ใบยังมีวิตามินเอ สามารถทานบำรุงสายตาได้

9. ป้องกันโลหิตจาง

กระเจี๊ยบแดงมีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของฮีโมโกลบิน อีกทั้งความเป็นกรดของสารพฤกษเคมีในดอกกระเจี๊ยบแดงยังช่วยเพิ่มการดูดซึมและการกระจายแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้กระเจี๊ยบแดงช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้

10. ลดน้ำตาลในเลือด

จากการศึกษากับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครลดลงสูงสุดจาก 162.1 เป็น 112.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากกลไกทางชีวภาพของสารพฤกษเคมีที่ช่วยลดการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ผ่านการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส แลแอลฟา-กลูโคซิเดส

11. ลดความดันโลหิต

จากการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง โดยให้อาสาสมัครดื่มชากระเจี๊ยบแดง 1.25 กรัม ชงกับน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ความดันโลหิตของอาสาสมัครลดลง 7.2 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจบีบตัว) และ 3.1 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจคลายตัว)

12. ปกป้องไต

การศึกษาในคลินิกที่ให้อาสาสมัครดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง 24 กรัมต่อวัน พบว่า สารพฤกษเคมีในกระเจี๊ยบแดงมีส่วนช่วยขับครีเอตินิน กรดยูริก ซิเตรต ทราเทรต แคลเซียม โพแทสเซียม และฟอสเฟต และในข้อมูลสัตว์ทดลองยังพบว่า กรดของสารพฤกษเคมีในดอกกระเจี๊ยบแดงขนาด 750 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถป้องกันและยับยั้งการพัฒนาของก้อนนิ่วได้ ทว่าผลการยับยั้งนิ่วในคนยังต้องศึกษากันต่อไป

13. ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ

มีการศึกษาที่ยืนยันว่า กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ โดยสารในกระเจี๊ยบแดงจะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้

ข้อควรระวังของกระเจี๊ยบแดง

โทษและความเป็นพิษของกระเจี๊ยบแดงก็มีเหมือนกันนะคะ โดยจากการศึกษาพบว่า สารสกัดดอกกระเจี๊ยบแดงในปริมาณที่มากเกินไปมีผลต่อการสร้างอสุจิและจำนวนอสุจิที่ลดลง จึงไม่ควรกินกระเจี๊ยบแดงในปริมาณมาก หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินไป

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องก็ไม่ควรทานกระเจี๊ยบแดง รวมทั้งสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นกันค่ะ เพราะผลการศึกษาในหนูทดลองพบว่า อาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง

แหล่งที่พบ

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทวาย มะเขือละโว้ ถั่วส่าย

Abelmoschus esculentus (L.) Moench.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Malvaceae

ต้นกระเจี๊ยบเขียว

จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม เช่นเดียวกับใบและผล เจริญเติบโตได้ดีในอากาศกึ่งร้อน หรือที่อุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาเซลเซียส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ใบกระเจี๊ยบเขียว

มีใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือเรียงสลับกัน ใบมักเว้าเป็น 3 แฉก มีความกว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว

ดอกกระเจี๊ยบเขียว

มีดอกสีเหลืองอ่อน ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีสีม่วงออกแดงเข้ม รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ออกดอกตามง่ามใบ มีริ้วประดับเป็นเส้นสีเขียวประมาณ 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกันลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรหุ้มเกสรตัวเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดอยู่รอบหลอด ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรตัวเมียเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็กสีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

ผลกระเจี๊ยบเขียว หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว

ผลมีลักษณะเป็นฝัก โดยฝักคล้ายกับนิ้วมือผู้หญิง ฝักมีสีเขียวทรงเรียวยาว มักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักแหลมเป็นจีบ ผิวฝักมีเหลี่ยมเป็นสัน โดยฝักมีสันเป็นเหลี่ยมตามยาวอยู่ 5 เหลี่ยม ตามฝักจะมีขนอ่อน ๆ อยู่ทั่วฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในฝักมีน้ำเมือกข้นเหนียวอยู่มาก และมีเมล็ดลักษณะกลมอยู่มาก ขนาดประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ฝักอ่อนมีรสหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว ไม่เป็นที่นิยมในการรับประทาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ฝักอ่อนหรือผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มรับประทาน โดยนำมาต้มให้สุกหรือย่างไฟก่อน หรือนำมาใช้ทำแกงต่าง ๆ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ใช้ใส่ในยำต่าง ๆ ใช้ชุบแป้งทอด ทำเป็นสลัดหรือซุปก็ได้

2. เมนูกระเจี๊ยบเขียว เช่น แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้ แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่ ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบผัดขิงอ่อน ห่อหมกกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบต้มกะทิปลาสลิด ยำกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด สลัดกระเจี๊ยบเขียว ชากระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น

3. สำหรับชาวอียิปต์มักใช้ผลกระเจี๊ยบรับประทานร่วมกับเนื้อสัตว์ หรือนำมาใช้ในการปรุงสตูว์เนื้อน้ำข้น สตูว์ผัก หรือนำไปดอง ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้จะใช้ผลอ่อนนำมาต้มเป็นสตูว์กับมะเขือเทศที่เรียกว่า "กัมโบ้" หรือทางตอนใต้ของอินเดียจะนำผลกระเจี๊ยบมาผัดหรือใส่ในซอสข้น ส่วนชาวฟิลิปปินส์จะใช้กินเป็นผักสดและนำมาย่างกิน และชาวญี่ปุ่นจะนำมาชุบแป้งทอดกินกับซีอิ้ว

4. ดอกอ่อนและตาดอกสามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน

5. รากกระเจี๊ยบสามารถนำมารับประทานได้ แต่จะค่อนข้างเหนียวและไม่เป็นที่นิยม

6. แป้งจากเมล็ดแก่เมื่อนำมาบดสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมปังหรือทำเป็นเต้าหู้ได้

7. ใบตากแห้งนำมาป่นเป็นผงใช้โรยอาหารและช่วยชูรสชาติอาหารได้

8. ฝักที่นำมาตากแห้งแล้ว สามารถนำมาใช้ทำเป็นชาไว้ชงดื่มได้

9. เมล็ดกระเจี๊ยบนำมาคั่วแล้วบดสามารถนำมาใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ หรือนำใช้ในการแต่งกลิ่นกาแฟ

10. ใบกระเจี๊ยบนำมาใช้เป็นอาหารวัวหรือใช้เลี้ยงวัวได้

11. กากเมล็ดมีโปรตีนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

12. ในประเทศอินเดียมีการใช้เมล็ดกระเจี๊ยบเพื่อไล่ผีเสื้อเจาะผ้า

13. ในประเทศอินเดีย โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งมีการใช้เมือกจากต้นนำมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด

14. เปลือกต้นกระเจี๊ยบ แม้จะไม่เหนียวนักแต่ก็สามารถนำมาใช้ทอกระสอบ ทำเชือก เชือกตกปลา ตาข่ายดักสัตว์ ใช้ถักทอเป็นผ้าได้ หรือทำเป็นกระดาษ ลังกระดาษก็ได้

15. เมือกจากผลกระเจี๊ยบสามารถนำมาใช้เคลือบกระดาษให้มันได้

16. กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย เนื่องจากต่างประเทศมีการสั่งซื้อกระเจี๊ยบของไทยปีละหลายล้านบาท โดยมีบริษัทที่ทำโครงการปลูกกระเจี๊ยบเขียวอย่างครบวงจรมาร่วมมือกับเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ช่วยกันปลูกเพื่อส่งออก

17. สำหรับในต่างประเทศมีการนำกระเจี๊ยบเขียวไปผลิตแปรรูปได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทำเป็นอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูป เช่น กระเจี๊ยบเขียวอบแห้ง หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องหอม อุตสาหกรรมยา เช่น ทำเป็นยาผงและแคปซูล

แหล่งที่พบ

กระถิน

กะเส็ดโคก กะเส็ดบก (ราชบุรี), กะตง กระถิน กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน (สมุทรสงคราม), ผักก้านถิน (เชียงใหม่), ผักหนองบก (ภาคเหนือ), กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก (ภาคกลาง), ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน (ภาคใต้), กระถินยักษ์

Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

ต้นกระถิน

ต้นกระถินเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงพบได้ทั่วไป จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดความสูงประมาณ 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่หรือกลม เปลือกต้นมีสีเทา และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือในดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี

ใบกระถิน

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบมีขน ใบแยกแขนงประมาณ 3-19 คู่ เรียงตรงข้ามกัน มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีประมาณ 5-20 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 0.6-2.1 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน แต่ละใบมีเส้นแขนงอยู่ประมาณข้างละ 5-6 เส้น ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

ดอกกระถิน

ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นตามง่ามใบและปลายกิ่งประมาณ 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันลักษณะเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก มีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

ฝักกระถิน

ฝักมีลักษณะแบน ปลายฝักแหลม โคนสอบ ฝักเมื่อแก่จะแตกตามยาว ฝักยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ดเรียงตามขวางอยู่ประมาณ 15-30 เมล็ด และจะออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคม

เมล็ดกระถิน

เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนกว้าง มีสีน้ำตาลและเป็นมัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ยอดอ่อนกระถิน ฝักอ่อน และเมล็ดใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยยอดใบจะใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ หรือยำหอยนางรม ส่วนเมล็ดอ่อนชาวอีสานใช้ผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ ส่วนชาวใต้ใช้เมล็ดอ่อนและใบอ่อนรับประทานร่วมกับหอยนางรม

2. ใบ ยอด ฝัก และเมล็ดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ แพะ แกะ ฯลฯ

3. ใบกระถินอุดมไปด้วยธาตุไนโตรเจนและเกลือโพแทสเซียม สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้

4. เมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้หลายชนิด เช่น เข็มกลัด สายสร้อย เข็มขัด ฯลฯ

5. ลำต้นหรือเนื้อไม้กระถินสามารถนำมาใช้ทำด้ามอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืน เผาทำถ่าน และได้น้ำส้มควันไม้

6. เปลือกต้นกระถินให้เส้นใยที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดาษได้ แต่มีคุณภาพไม่ดีนัก

7. เปลือกต้นกระถินสามารถนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมได้ โดยเปลือกต้นแห้ง 3 กิโลกรัม จะสามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยจะให้สีน้ำตาล

8. สายพันธุ์กระถินที่ทำการปรับใหม่จะมีขนาดลำต้นสูงกว่าสายพันธุ์เดิม หรือที่เรียกว่า "กระถินยักษ์" ใช้ปลูกเพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน แนวกันลม และช่วงบังแสงแดดให้แก่พืชที่ปลูกได้ เหมาะในพื้นที่ที่มีการดูแลรักษาต่ำ และต้นกระถินยังมีความแข็งแรง เจริญเติบโตได้เร็ว

9. ตามคติความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวว่า กระถินเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำมาปลูกร่วมกับต้นสารภี มีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรต่าง ๆ ได้

แหล่งที่พบ

กะเพรา

เชียงใหม่ - กอมก้อ, กอมก้อดง แม่ฮ่องสอน - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ กะเหรี่ยง - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู เงี้ยว - อิ่มคิมหลำ ภาคกลาง - กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีตู่ข้า

Ocimum tenuiflorum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Lamiaceae

เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตกออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้โรคบิด และขับลม

2. เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย

3. ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

4. น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก

5. ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม

6. แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้งหยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร[6]

7. เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

แหล่งที่พบ

เกี๋ยงพาใย (สันพร้าหอม)

หญ้าเสือมอบ (ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี), เกี๋ยงพาใย (ภาคเหนือ), ซะเป มอกพา หญ้าลั่งพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พอกี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลานเฉ่า เพ่ยหลาน (จีนกลาง), ผักเพี้ยฟาน, ส่วนกรุงเทพฯ เรียก "สันพร้าหอม" เป็นต้น

Eupatorium fortunei Turcz.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ต้นสันพร้าหอม

จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

ใบสันพร้าหอม

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว หลังใบมีขนปกคลุม เส้นใบคล้ายรูปขนนก เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม ใบบริเวณโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและแห้งง่าย

ดอกสันพร้าหอม

ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น คล้ายซี่ร่ม ช่อดอกยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ก้านหนึ่งมีประมาณ 10 ช่อ เรียงติดกัน 2-3 แถว แถวด้านนอกมีขนาดสั้นกว่าแถวด้านใน ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ดอกยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก

ผลสันพร้าหอม

ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ผลเป็นสีดำ มีสัน 5 สัน ผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อสุกผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใบใช้กินกับลาบ น้ำพริก หรืออาหารอื่น ๆ

2. ใช้เป็นส่วนผสมของแป้งหอม ยาสระผมหอมบำรุงผม ธูปหรือเครื่องหอมอื่น ๆ

3. คนปกาเกอะยอรู้ดีว่าธรรมชาติของสันพร้าหอมจะยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อแห้ง จึงนิยมนำมาห่อด้วยใบตองที่ทาด้วยน้ำมันมะพร้าวไว้แล้วนำมาย่างไฟจะทำให้กลิ่นหอมมาก ซึ่งคนปกาเกอะยอจะนิยมนำมาทัดหูหรือนำมาห้อยกับสายสร้อยคล้องคอ นอกจากนี้ยังนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อดึงดูดผีบ้านผีเรือนให้คอยปกป้องรักษาบ้านที่อยู่อาศัยและผู้อาศัย หรือนำมาใช้ห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ

4. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป พ่อค้านิยมนำมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อขายเป็นการค้า

แหล่งที่พบ

จิงจูฉ่าย

เซเลอรี่, โกศจุฬาลัมพา

Apium graveolens L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Asteraceae

เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกาย

การนำไปใช้ประโยนชน์

จิงจูฉ่ายนั้นมีประโยชน์มากมายนอกจากช่วยปรับสมดุลและขับลมภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ที่น่าอัศจรรย์ก็คือสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้โดยการนำใบจิงจูฉ่ายมาประมาณ 1 กำมือ แล้วปั่นหรือตำคั้นน้ำออกมารับประทานเช้า-เย็น 1 – 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงก่อนรับประทานอาหารสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 – 3 เดือน ก็สามารถต้านทานต่อเซลล์มะเร็งได้ แต่ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานจิงจูฉ่ายเนื่องจากอาจทำให้แท้งลูกได้

เมื่อเปรียบเทียบผลมะนาวกับผักอย่างจิงจูฉ่ายปรากฏว่าพบปริมาณวิตามินซีในจิงจูฉ่ายมากกว่าในมะนาวถึง 58 เท่าเลยทีเดียว และให้สรรพคุณทางยาสูง อีกทั้งมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินบี 6 เป็นต้น รวมทั้งผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาไข้มาลาเรียซึ่งคล้ายๆ กับเซลล์ของมะเร็ง คือจะมีประมาณธาตุเหล็กสูงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 5 – 1,000 เท่า ซึ่งการทานใบสดจะได้ผลดีกว่าผ่านกระบวนความร้อน

อย่างไรก็ตาม จิงจูฉ่ายนั้นก็นับเป็นสุดยอดสมุนไพรที่บำรุงเลือดลมได้ดีมากๆ และผักชื่อแปลกชนิดนี้ก็สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริง

แหล่งที่พบ

ชะพลู

ผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา (ภาคเหนือ), ผักแค ผักอีเลิด ผักนางเลิด (ภาคอีสาน), ช้าพลู (ภาคกลาง), นมวา (ภาคใต้)

Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Piperaceae

ลำต้น

ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม

ใบ

ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ

ดอก

ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ • ผล ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา ในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

แหล่งที่พบ

ถั่วเหลือง

ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง (ภาคเหนือ), เถ๊าะหน่อ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตบยั่ง (เมี่ยน), อาทรึ่ม (ปะหล่อง), โชยุ (ญี่ปุ่น), โซยาบีน (อังกฤษ), อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น และถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งถั่ว" อีกด้วย

Glycine max (L.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

ต้นถั่วเหลือง

ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นพุ่ม แตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร โดยความสูงจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และฤดูที่เพาะปลูก ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป ยกเว้นในส่วนของใบเลี้ยงและกลีบดอก และต้นถั่วเหลืองยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชนิดทอดยอดและชนิดไม่ทอดยอด เมื่อเมล็ดแก่ฝักจะแห้งและต้นจะตายตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ "ถั่วแม่ตาย"

รากถั่วเหลือง

มีระบบเป็นรากแก้ว หากเป็นดินร่วนอาจหยั่งรากลึกถึง 0.5-1 เมตร แต่โดยทั่วไปแล้วระบบรากจะอยู่ในความลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยรากแก้วที่เจริญมาจากรากแรกของต้น และมีรากแขนงที่เจริญมาจากรากแก้ว ส่วนบริเวณปมรากนั้นเกิดจากแบคทีเรียไรโซเบียมที่เข้าไปอาศัยอยู่

ใบถั่วเหลือง

ระยะต้นอ่อนจะมีใบเลี้ยง ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยว โดยใบจริงที่เกิดขึ้นต่อมาจะเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย คือ มีใบย่อยด้านปลาย 1 ใบและมีใบย่อยด้านข้างอีก 2 ใบ ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว ส่วนที่โคนของก้านใบประกอบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน และส่วนที่โคนของก้านใบย่อยมีหูใบย่อยอยู่ 1 อัน ที่ใบมีขนสีน้ำตาลหรือเทาปกคลุมอยู่ทั่วไป

ดอกถั่วเหลือง

ออกดอกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง โดยสีขาวเป็นลักษณะด้อย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 3-8 มิลลิเมตร โดยดอกจะเกิดตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกตั้งแต่ 3-15 ดอก โดยช่อดอกที่เกิดบนยอดของลำต้น มักจะมีจำนวนดอกในช่อมากกว่าช่อดอกที่เกิดตามมุมใบ และในส่วนของดอก ประกอบไปด้วยก้านช่อดอกและก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงที่อยู่นอกสุดมีสีเขียว สั้น มีอยู่ 2 กลีบและมีขนปกคลุม ถัดมาคือกลีบรองดอกที่อยู่ในชั้นถัดจากกลีบเลี้ยง ฐานติดกันมีแฉก 5 แฉก ถัดมาคือส่วนของกลีบดอก มี 5 กลีบ คือ กลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบกลางด้านข้าง 2 กลีบ และกลีบเล็ก 2 กลีบ[

ฝักถั่วเหลือง

ออกฝักเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 2-10 ฝัก ที่ฝักมีขนสีเทาหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วฝัก ฝักมีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-5 เมล็ด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2-3 เมล็ด ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเมื่อฝักแตกออกจะทำให้เมล็ดร่วงออกมา

เมล็ดถั่วเหลือง

เมล็ดอาจมีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำก็ได้ โดยเมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ลักษณะของเมล็ดมีตั้งแต่กลมรีจนถึงยาว หากเป็นเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 100 เมล็ด จะมีน้ำหนักประมาณ 2 กรัม แต่ถ้าหากเป็นเมล็ดใหญ่อาจมีน้ำหนักมากกว่า 40 กรัม แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 12-20 กรัม

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน มีไขมันชนิดดีสูง มีเส้นใยอาหารสูง มีวิตามินและเกลือแร่สูง และยังเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง การเก็บรักษาก็ง่าย และผู้ผลิตยังเติมสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ลงไปอีกด้วย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองสำเร็จรูป

2. การบริโภคนมถั่วเหลืองเป็นประจำยังมีประโยชน์ต่อรูปลักษณ์ภายนอกอีกด้วย เช่น ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น

3. การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

4. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มความจำ เนื่องจากถั่วเหลืองอุดมไปด้วยวิตามินบีหลายชนิด

5. โปรตีนในถั่วเหลือง ถือเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูงเทียบเท่ากับนมวัว (แต่มีแคลเซียมน้อยกว่า เพียง 1 ใน 5 ของนมวัวเท่านั้น) สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่หลายชนิดในปริมาณที่สมดุลมากกว่าถั่วชนิดอื่น

6. ถั่วเหลืองมีไขมันสูง โดยมีน้ำมันอยู่ร้อยละ 12-20 น้ำมันจากถั่วเหลืองมีส่วนประกอบของไขมันไม่อิ่มตัวอยู่หลายชนิด ที่เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กและทารก ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ผิวหนัง จึงเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ และยังมีวิตามินอีซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันอีกด้วย

7. นมถั่วเหลือง สามารถใช้เป็นอาหารเสริมได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่แพ้นมวัวและไม่สามารถดื่มนมมารดาได้ จึงสามารถดื่มนมถั่วเหลืองทดแทนได้

8. นมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดน้อยลงอีกด้วย

9. การดื่มนมถั่วเหลืองอุ่น ๆ ก่อนนอนจะช่วยทำให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น เพราะในถั่วเหลืองนั้นมีกรดอะมิโน "ทริปโตเฟน" ที่จะช่วยเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเซโรโทนินซึ่งช่วยควบคุมการนอนหลับ จึงทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น

10. ถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่บริโภคอาหารได้น้อย หรือมีอาการแพ้นมวัว หรือคลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร

11. สำหรับผู้ที่ท้องเสียหรือเพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย การดื่มนมวัวอาจทำให้ท้องเสียได้ แต่ถ้าหากดื่มนมถั่วเหลืองจะไม่มีปัญหาเรื่องการย่อยเหมือนนมวัว ทำให้ดูดซึมได้ดี ผู้ป่วยก็ฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น

12. น้ำเต้าหู้ถือเป็นเครื่องดื่มเสริมความงามที่เหมาะแก่สุภาพสตรีเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมักมีอาการโลหิตจาง ประสิทธิภาพการปรับความสมดุลในเลือดของน้ำเต้าหู้ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก โดยเฉพาะสุภาพสตรีวัยกลางคนและวัยชราที่ดื่มน้ำเต้าหู้อยู่เป็นประจำ จะช่วยปรับการขับของเหลวภายในร่างกาย ชะลอความแก่ ผลการวิจัยพบว่า ไอโซเฟลโวนีส โปรตีน และเลซิตินที่อยู่ในถั่วเหลืองช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม นอกจากนี้ สารอาหารบางชนิดที่อยู่ในน้ำเต้าหู้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า ทำให้ไขมันใต้ผิวหนังไม่จับตัวกันเป็นก้อน จึงช่วยเสริมสร้างความงามให้แก่เรือนร่าง หากรับประทานก่อนมื้ออาหารพร้อม ๆ กับอาหารที่มีกากไขมันสูง จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น

13. สารอาหารบางชนิดที่อยู่ในน้ำเต้าหู้สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า ทำให้ไขมันใต้ผิวหนังไม่จับตัวกันเป็นก้อน จึงช่วยเสริมสร้างความงามให้กับเรือนร่างได้

14. การรับประทานถั่วเหลืองก่อนมื้ออาหารพร้อมกับอาหารที่มีกากไขมันสูง จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น มีผลทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง จึงช่วยควบคุมน้ำหนักไปด้วยในตัว

15. เราสามารถเลือกรับโอเมก้า 3 ที่ได้จากถั่วเหลืองแทนการรับประทานจากปลาได้เลย แถมยังปลอดภัยต่อสารปนเปื้อนที่มักพบในปลาบางชนิดอีกด้วย

16. ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง จึงช่วยเสริมสร้างเส้นผมใหม่ได้

17. ประโยชน์ถั่วเหลือง หลัก ๆ แล้วคงหนีไม่พ้นการใช้เป็นอาหาร โดยเมล็ดที่ยังไม่แก่อาจนำมาต้มรับประทานหรือที่เรียกว่า "ถั่วแระ" หรือบางสายพันธุ์มีเมล็ดโตก็นำมาใช้ปรุงรับประทานเป็นถั่วเหลืองฝักสด หรือนำไปแปรรูปบรรจุกระป๋อง

18. ส่วนเมล็ดแก่ก็อาจนำมาใช้ทำเป็น "ถั่วงอก" เพื่อใช้รับประทานผัก หรืออาจนำมาใช้ทำเป็นเต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ซอส เต้าหู้ เต้าฮวย ขนมเทียน ขนมหม้อแกงถั่ว ถั่วงอกหัวโต แป้งถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง น้ํามันถั่วเหลือง ทำเป็นเนื้อเทียม สำหรับใช้เป็นอาหารมังสวิรัติ หรือใช้ในกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือจะนำมาใช้ปรุงอาหารโดยตรง เช่น การนำมาต้มกับหมูก็ได้ หรือนำมาทำน้ำพริกเผาถั่วเหลือง นำไปคั่วหรืออบแล้วบดเป็นผงชา กาแฟ เป็นต้น

19. เมล็ดสามารถเก็บไว้หมักทำถั่วเน่าเพื่อเก็บไว้ใช้ปรุงรสชาติของอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น แกง น้ำพริก เป็นต้น

20. แป้งถั่วเหลือง นำมาใช้ผสมหรือปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น การนำมาทำเป็นขนมต่าง ๆ อาหารสำหรับทารก ฯลฯ

21. ประโยชน์ของน้ำมันถั่วเหลือง สามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหาร ผัดอาหาร ทำมาการีน ทำเป็นน้ำสลัด ฯลฯ

22. น้ำต้มเมล็ดถั่วเหลือง สามารถนำมาใช้สระผมได้ (ปะหล่อง)

23. ประโยชน์ของกากถั่วเหลือง กากที่เหลือจากการสกัดทำเป็นน้ำมันสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ย หรือใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือใช้รับประทานแทนเนื้อสัตว์ และกากเกลือจากการทำน้ำนมถั่วเหลืองก็ยังนำไปทำอาหารได้อีกด้วย เช่น กรอบเค็ม หรือใช้เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมักก็ได้

24. เศษซากที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ได้เป็นอย่างดี หรือนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักก็ได้

25. ถั่วเหลืองเป็นพืชบำรุงดิน เมื่อไถกลบถั่วเหลืองลงไปในดินก่อนที่ถั่วเหลืองจะแก่ ก็จะเป็นปุ๋ยพืชสดที่ช่วยบำรุงดินได้เป็นอย่างดี ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และมีคุณสมบัติที่ดี ส่วนรากของถั่วเหลืองที่มีปมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียไรโซเบียม แบคทีเรียชนิดนี้จะช่วยดูดตรึงไนโตรเจนให้มาอยู่ในรูปพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยได้ เมื่อเก็บถั่วแล้วรากและปมก็จะขาดตกค้างอยู่ในดิน แล้วกลายเป็นปุ๋ยของพืชต่อไป

26. ถั่วเหลืองมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เนื้อเทียม โปรตีนเกษตร หรือโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น แป้งถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง เต้าหู้ เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊ว ถั่วเน่า นัตโตะ เทมเป้ อาหารเสริมเลซิติน ฯลฯ หรือใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ สบู่ เครื่องสำอาง ผ้า กระดาษ เส้นใย ฉนวนไฟฟ้า หมึกพิมพ์ ใช้ผลิตกาว สี เบียร์ วิตามินและยาต่าง ๆ ทำปุ๋ย หรือใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง ฯลฯ โดยอาจเป็นทั้งส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์หรือเป็นตัวช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น

แหล่งที่พบ

บัวบก

ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่

Centella asiatica (L.) Urb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • อยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

พืชล้มลุก สูง 6 – 10 ซม. มีไหลทอดเลื้อย ออกรากตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกจากบริเวณข้อ รูปไตถึงรูปแผ่กลม กว้าง 1.5 – 3 ซม. ยาว 1.3 – 3 ซม. ปลายใบกว้าง ฐานใบเว้ารูปหัวใจก้านใบยาว 1 – 4.5 ซม. ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อกระจุกกลมตามซอกใบหรือตรงข้ามกับใบ ก้านช่อดอกยาว 4 – 8 มม. ดอกย่อยขนาดผ่านศูนย์กลาง 3 – 4 มม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีกว้าง เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่ระหว่าง กลีบดอก ก้านชูเกสรเพศเมีย 2 อัน ผล ลักษณะกลมแบนแยกเป็นสองซีก สีเขียว ขนาด 3 – 3.5 มม. แต่ละซีกมีหนึ่งเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลากปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีมให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

แหล่งที่พบ

ผักเชียงดา

เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา

Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)

1. ต้นผักเชียงดา

จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา

2. ใบผักเชียงดา

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร

3. ดอกผักเชียงดา

ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

4. ผลผักเชียงดา

ออกผลเป็นฝัก

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

2. ฟื้นฟูและบำรุงเบต้าเซลล์ตับอ่อน

3. ชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง

4. กระตุ้นระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอ่อนเพลีย

5. บำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์

6. ปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ

7. ลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล

8. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย

9. บรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ

10. บรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

11. ลดภาวะเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และ DNA ถูกทำลาย

แหล่งที่พบ

พลูคาว (ผักคาวตอง)

ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักคาวปลา, ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว

Houttuynia cordata Thunb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAURURACEAE

พลูคาวเป็นไม้ล้มลุก อายุ 2 – 4 ปี สูง 15-40 เซนติเมตร ทั้งต้นมีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นคาวปลา ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหัวใจ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1-3.5 เซนติเมตร ก้านใบส่วนโคนแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น หูใบอยู่ติดกับก้านใบ ดอกช่อออกที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาวคล้ายกลีบดอก 4 กลีบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็กสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลแห้งแตกได้

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. แพทย์ตามชนบทใช้ใบพลูคาวปรุงเป็นยาแก้กามโรค แก้เข้าข้อออกดอก (หมายถึง โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายและเข้าไปสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย เรียกว่า “ออกดอก” ระยะนี้เป็นระยะที่ติดต่อได้โดยง่าย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีผื่นขึ้น แต่มีอาการปวดเมื่อยตามข้อ จึงเรียกว่า “เข้าข้อ”) โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อ

2. แก้โรคผิวหนังทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองแห้ง ให้แผลแห้ง แก้แผลเปื่อย โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อเช่นกัน

3. แก้โรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด (หมายถึง โรคเรื้อน หรือโรคเรื้อรังที่มีแผลตามผิวหนัง เริ่มจากขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายหูดขึ้นทั่วตัว แล้วขยายขนาดขึ้นเป็นตุ่มนูนแดง หรือโตคล้ายดอกกะหล่ำปลี ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในบริเวณใกล้แผลจะอักเสบและบวมโต ในระยะแรกผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการไข้ หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา จะมีการทำลายของผิวหนังและกระดูก ทำให้เกิดความพิการ) โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อเช่นกัน

4. ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ขับระดูขาว (ตกขาว) รักษาฝีหนองในปอด โดยนำพลูคาวทั้งต้น มาต้มในน้ำแค่พอเดือด รับประทานแทนน้ำเปล่า เมื่ออาการดีขึ้น ให้รับประทานน้ำเปล่าเช่นเดิม

5. นิยมให้ผู้หญิงหลังคลอดบุตรรับประทานเป็นอาหารเพื่อเป็นการบำรุงร่างกายและโลหิต

แหล่งที่พบ

ผักเผ็ด (ผักคราด)

ผักคราด หญ้าตุ้มหู, ผักเผ็ด (ภาคเหนือ), ผักตุ้มหู (ภาคใต้), อึ้งฮวยเกี้ย

Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMPOSITAE

1. ต้น เป็นพืชล้มลุกลำต้นสูง 20 - 30 เซนติเมตร หรือทอดไปตามดินเล็กน้อยแต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำ มีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย สามารถออกรากตามข้อของต้น

2. ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปสามเหลี่ยมขอบใบหยัก ก้านใบยาว ผิวใบสากมีขนใบกว้าง 3 - 4 เซ็นติเมตร ยาว 3 - 6 เซ็นติเมตร

3. ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุกสีเหลือง ลักษณะกลม ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ก้านดอกยาว ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

4. ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบ แก้ปวดศีรษะ แก้โลหิต เป็นพิษ

ดอก ขับน้ำลาย แก้โรคในคอ แก้ปวดฟัน แก้โรคติดอ่างในเด็ก รักษาแผลในปากในคอ แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต

เมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง

ทั้งต้น แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ชงดื่ม ขับปัสสาวะ แก้หอบไอ แก้ไอกรน แก้ปวดบวม แก้ไขข้ออักเสบ แก้คันคอ แก้ทอนซิลอักเสบ แก้งูรัด สุนัขกัด พอกแก้พิษปวดบวม

ราก ต้มดื่ม เป็นยาถ่าย อมบ้วนปากแก้อักเสบในช่องปาก เคี้ยวแก้ปวดฟัน

แหล่งที่พบ

ส้มป่อย

ส้มพอดี (ภาคอีสาน), ส้มคอน (ไทใหญ่), ส้มขอน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิจือสะ พิฉี่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผ่อชิละ ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แผละป่อย เมี่ยงโกร๊ะ ไม้ส้มป่อย (ลั้วะ), เบล่หม่าฮั้น (ปะหล่อง)

Acacia concinna (Willd.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Fabaceae

ต้นส้มป่อย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มรอเลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยวขึ้นไป สูงได้ประมาณ 3-6 เมตร แต่ไม่มีมือสำหรับเกาะเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถามีเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล เถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นอยู่ทั่วไปและมีขนหูใบรูปหัวใจ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นปานกลางถึงน้อย และชอบแสงแดดมาก ขึ้นทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี มักพบขึ้นตามป่าคืนสภาพ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ที่ราบเชิงเขา และที่รกร้างทั่วไป

ใบส้มป่อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ช่อใบย่อยมีประมาณ 5-10 คู่ ส่วนช่อย่อยมีประมาณ 10-35 คู่ ต่อช่อ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ไม่มีก้านใบย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก ปลายใบมนหรือแหลม ที่ปลายเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง โคนใบมนหรือตัด ส่วนขอบใบหนาเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-11.5 มิลลิเมตร แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3.6-5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มและหนาแน่น พบก้อนนูนสีน้ำตาลคล้ายต่อม 1 อัน อยู่ที่โคนของก้านใบ แกนกลางยาวประมาณ 6.6-8.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยสั้นมาก ยาวได้ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่านั้น เกลี้ยงและมีขนนุ่มหนาแน่น

ดอกส้มป่อย ออกดอกเป็นช่อกระจุกรูปทรงกลม โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรืออกตามซอกใบข้างลำต้นประมาณ 1-3 ช่อดอกต่อข้อ มีขนาดประมาณ 0.7-1.3 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 35-45 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-3.2 มิลลิเมตร มีขนนุ่มหนาแน่น มีใบประดับดอก 1 อัน ลักษณะเป็นรูปแถบ ความยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร โคนสอบเรียว สีแดง มีขนกระจายอยู่ทั่วไป ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่นอยู่เป็นแกนดอก กลีบดอกเป็นหลอดสีขาวนวล กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ หลอดกลีบกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นสีแดง หรืออาจมีสีขาวปนบ้างเล็กน้อย ส่วนกลีบดอก หลอดกลีบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร มีขนบ้างเล็กน้อยที่ปลายกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 200-250 อัน โดยยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ส่วนเกสรเพศเมีย รังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีออวุลประมาณ 10-12 ออวุล ก้านรังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร เป็นสีขาวอมเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผลส้มป่อย ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนยาว ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อ ๆ ตามเมล็ด ปลายฝักมีหางแหลม สันฝักหนา ผิวฝักขรุขระหรือย่นมากเมื่อแห้ง ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.3-1.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-9.3 เซนติเมตร ฝักอ่อนเปลือกเป็นสีเขียวอมแดง เมื่อแก่แล้วฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ก้านฝักยาวประมาณ 2.8-3 เซนติเมตร ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 5-12 เมล็ด เมล็ดส้มป่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงแบนรี สีดำผิวมัน มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฝักมีสารในกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20% เมื่อนำมาตีกับน้ำจะเกิดฟอง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ตำรายาไทย ฝัก รสเปรี้ยว มีสารซาโปนินสูง ตีกับน้ำจะเกิดฟองที่คงทน ฝักแก่ใช้ต้มเอาน้ำสระผมช่วยขจัดรังแค บำรุงผม เป็นยาปลูกผมและกำจัดรังแค ต้มอาบน้ำหลังคลอด ตำพอกหรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง ใช้ทำขี้ผึ้งปิดแผลแก้โรคผิวหนัง ฝักปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ต้มน้ำดื่มแก้ไข้มาลาเรีย ทำให้อาเจียน ต้มหรือบดกินเป็นยาถ่าย

เปลือกฝัก รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า ช่วยเจริญอาหาร กัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก

ต้น รสเปรี้ยวฝาด เป็นยาระบาย แก้โรคตาแดง แก้น้ำตาพิการ

ใบ รสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย ต้มดื่ม ขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต แก้บิด ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้โรคตา ตำประคบให้เส้นเอ็นหย่อน

ยอดอ่อน นำมาต้มน้ำ และผสมกับน้ำผึ้งดื่มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ หรือนำมาตำรวมกับขมิ้นอ้อย แล้วใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย หมกไฟพออุ่น นำไปพอกแก้ฝี

ดอก รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นที่พิการให้สมบูรณ์

ใบและฝัก ต้มอาบ ทำความสะอาด บำรุงผิว

ราก รสขม แก้ไข้

ยอดอ่อน ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นผักสด นำมาปรุงอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้

แหล่งที่พบ

ผักบั้ง (หางปลาช่อน)

ผักบั้ง (ลำปาง), ผักแดง (เลย), หางปลาช่อน (เพชรบุรี, ภาคกลาง) เอี่ยโต่ยเช่า เฮียะแอ่อั้ง (จีนแต้จิ๋ว), หยางถีฉ่าว หยางถีเฉ่า เยวียะเสี้ยหง อีเตี่ยนหง (จีนกลาง)

Emilia sonchifolia (Linn.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ไม้ล้มลุก อายุหนึ่งปี ลำต้นสูง 25-45 ซม. ขนค่อนข้างเกลี้ยง. ใบ ไมมีก้านใบ กว้าง 1-8 ซม. ยาว 4-16 ซม. ใบล่าง ๆ บางทีจะออกโดยรอบใกล้ผิวดิน ขอบใบที่ส่วนล่างจักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบ แบ่งใบส่วนบนออกเป็นรูปค่อนข้างกลม รูปไต รูปไข่ รูปไข่แกมสามเหลี่ยม หรือ รูปไข่กลับ ขอบใบจักเป็นซี่ฟันเล็กน้อยและไม่สม่ำเสมอ บางทีที่โคนใบจะสอบเข้าสู่เส้นกลางใบคล้ายเป็นก้านใบ ใบกลาง ๆ จะเล็กกว่า รูปหอกแกมรูปไข่ ขอบเรียบ หรือ จักเป็นซี่ฟันไม่เท่ากัน; ส่วนใบบน ๆ จะเล็กแคบ โคนเป็นรูปหัวลูกศร ใบกลาง ๆ และใบบน ๆ จะเรียงตัวอยู่ห่าง ๆ กัน ใบทั้งหมดปลายใบจะแหลม เนื้อใบเกลี้ยง หรือ ค่อนข้างเกลี้ยง. ดอก เป็นกระจุก กว้าง 4-5 มม. ยาว 8-10 มม. ออกเป็นช่อบาง ๆ ที่ปลายยอด หายากที่ออกเดี่ยว ๆ ริ้วประดับมี 1 วง รูปขอบขนานแคบ ปลายแหลม ยาว 9-12 มม. กลีบดอก ชมพู ยาว 9 มม. ผล แห้ง ยาวประมาณ 3 มม. มี 5 สัน มีระยางค์สีขาว ยาว 8 มม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

ทั้งต้น ต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ ห้ามเลือด ฝากสมาน หืด ไอ ทั้งกินทั้งอาบ แก้เด็กเป็นฝีตานซาง เม็ดผื่นคันตามตัว แก้ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง บิด อุจจาระเป็นเลือด ลดอาการบวมน้ำ ใช้พอกแผลไหม้ แผลน้ำร้อนลวก บาดแผลต่าง ๆ บาดแผลเรื้อรัง ใบ คั้นใช้หยอดตา หยอดหู แก้ตาเจ็บ หูเจ็บ ราก ผสมกับน้ำตาลเมาดื่มบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดสะเอว แก้ท้องเสีย ใบและดอก ใช้ห้ามเลือด

แหล่งที่พบ

ผักปลัง (ผักปั๋ง)

ผักปั๋ง ผักปั่ง (ภาคเหนือ), ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง (ภาคกลาง), ผักปรัง ผักปรังใหญ่ (ไทย), เดี้ยจุ่น (เมี่ยน), มั้งฉ่าง (ม้ง), เหลาะขุ้ย โปแดงฉ้าย (แต้จิ๋ว), ลั่วขุย (จีนกลาง)

Basella alba

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Basellaceae

1. ต้นผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า "ผักปลังขาว" ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า "ผักปลังแดง" ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป

2. ใบผักปลัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-12 เซนติเมตร ใบมีลักษณะอวบน้ำและเป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดได้ง่าย หลังใบและท้องใบเกลี้ยงไม่มีขน เมื่อนำมาขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ก้านใบอวบน้ำยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร เป็นสีเขียวและสีแดง

3. ดอกผักปลัง ออกดอกเป็นช่อเชิงลด โดยจะออกตรงซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 3-21 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกจะมีกลีบ 5 กลีบ โดยผักปลังขาวดอกจะเป็นสีเขียว ส่วนผักปลังแดงดอกจะเป็นสีม่วงแดง มีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีใบประดับขนาดเล็ก 2 ใบติดอยู่ที่โคนของกลีบรวม ลักษณะของกลีบรวมเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 0.1-3 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ที่ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน ติดอยู่ที่ฐานของกลีบดอก มีอับเรณูเป็นรูปกลม ยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง ลักษณะเป็นรูปค่อนข้างรี ยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร

4. ผลผักปลัง ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน และไม่มีก้านผล ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เนื้อผลนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ และมีเมล็ด 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ตำรายาไทย ทั้งต้น รสเย็น ต้มดื่มแก้ขัดเบา แก้ท้องผูก ลดไข้ โขลกพอกแก้กลาก ผื่นคัน แก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบ

ใบ มีรสหวานเอียน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้อักเสบ แก้โรคกระเพาะอักเสบ แก้กลาก แก้ผื่นคัน ฝี

ดอก รสหวานเอียน ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน คั้นเอาน้ำทาแก้หัวนมแตกเจ็บ

ต้นรสหวานเอียน แก้อึดอัดแน่นท้อง ระบายท้อง แก้พิษฝีดาษ แก้พิษฝี แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ

ราก รสหวานเอียน แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องผูก แก้พรรดึก ใช้ทาถูนวดให้ร้อนเพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ทาให้มากขึ้น น้ำคั้นรากเป็นยาช่วยหล่อลื่นภายใน และขับปัสสาวะ

ใบ ยอดอ่อน ช่อดอก นำมาต้มลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนึ่งกับปลา ยอดอ่อน ใบ นำมาแกงจืดกับหมูสับ

ช่อดอก ต้น และใบ แกงส้ม เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหาร มีธาตุเหล็กและแคลเซียมสูง อุดมด้วยวิตามิน A, Bและ C เป็นผักที่มีเมือกมาก กินแล้วช่วยระบายอ่อนๆ

ผล ใช้แต่งสีอาหาร ให้สีม่วงแดง

ประเทศอินเดีย ใช้ทั้งต้น แก้ลมพิษ ผื่นคัน แผลไฟไหม้ ต้นและใบ ใช้แก้มะเร็งเม็ดสีผิว มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก

ประเทศบังคลาเทศ ทั้งต้นใช้ตำพอกหน้า ป้องกันสิว และกระ

แหล่งที่พบ

เพกา

ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน)

Oroxylum indicum (L.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้นปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวตรงข้าม เส้นใบแบบตาข่าย โดยสีของผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง

ดอก ดอกช่อแบบกระจะ ก้านช่อดอกยาว สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยติดคงทนจนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่บนมี 2 กลีบ เนื้อกลีบพับย่น สีแดงเลือดหมู เกสรเพศผู้มี 5 อัน โดยมี 1 อันเป็นหมันซึ่งก้านชูอับเรณูจะสั้น ส่วนอีก 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ติดบนหลอดกลีบดอกด้านใน อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูแบบถ่าง เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ กานเรียงพลาเซนตาเป็นแบบพลาเซนตารอบแกนร่วม

ผล เป็นฝักแบนขนาดใหญ่ รูปดาบ ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย คล้ายฝักหางนกยูงฝรั่ง มักออกห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ปล่อยเมล็ดที่อยู่ข้างในฝักจำนวนมากมาย ล่องลอยไปตามลม

เมล็ด ลักษณะแบนสีน้ำตาลอ่อน ทั้งสองด้านมีเยื่อบางใส สีขาว โปร่งแสงคล้ายปีก ช่วยให้ล่องลอยไปตามกระแสลมได้ไกลๆ เกิดการแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกบริเวณโดยรอบ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกต้น มีรสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ขับลมในลำไส้ แก้โรคบิด ท้องร่วง บำรุงโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย บางแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอาเปลือกต้นมาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงโลหิต การใช้รักษาฝี – นำเปลือกต้นฝนทารอบๆบริเวณฝี ช่วยลดความปวดฝีได้ การใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ - นำเปลือกต้นฝนกับน้ำปูนใสทาลดอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ

ราก มีรสฝาดขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิด หากนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะช่วยให้หายไปในระยะเวลาอันสั้น

ฝักอ่อน นิยมรับประทานเป็นผัก ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหาร

เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

ยาพอกแก้โรคฝี เอา เปลือกเพกา ฝนกับน้ำสะอาด ผสมกับเมล็ดต้อยติ่ง ทาหรือพอก ดับพิษฝี

แก้โรคงูสวัด ใช้รากต้นหมูหมุน ( พืชตระกูลสาวน้อยปะแป้ง) เปลือกคูณ เปลือกต้นเพกา ฝนใส่น้ำทา

ยาพอกแก้โรคฝี เอาเมล็ดต้อยติ่ง ผสมกับน้ำเปลือกเพกา ฝนทา หรือพอกดับพิษฝี

ยาแก้พิษหมาบ้ากัด เอาใบกระทุ้งหมาบ้า ลนไฟปิดปากแผล หรือเอาเปลือกเพกา ตำพอกแผล

ยาแก้ลูกอัณฑะลง ( ไส้เลื่อน) ใช้รากเขยตาย เปลือกเพกา หญ้าตีนนก ทั้งหมดตำให้ละเอียด ละลายน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด ทาลูกอัณฑะ ทาขึ้น ( อย่าทาลง)

ยาแก้เบาหวาน ใช้ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า ใบเลี่ยน รากหญ้าคา บอระเพ็ด แก่นลั่นทม เปลือกเพกา รวม 7 อย่าง หนักอย่างละ 2 บาท มาต้มรับประทานครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า - เย็น

แหล่งที่พบ

มะขามป้อม

กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PHYLLANTHACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล : นำมาทานหรือคั้นเป็นน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย แก้กระหาย แก้หวัด แก้ไอ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ และใช้ล้างตาแก้ตาแดงได้

เมล็ด : นำมาชงน้ำร้อนดื่มแก้หืด แก้อาหารคลื่นไส้ อาเจียน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ และนำมาล้างตา ช่วยรักษาโรคตาต่างได้ อีกทั้งถ้าบีบเอาน้ำมันจากเมล็ดมาทาศีรษะสามารถช่วยให้เส้นผมดกดำขึ้นได้

เปลือก : นำมาต้มน้ำทานแก้โรคบิดและช่วยรักษาอาการฟกช้ำได้

ก้าน : นำมาต้มน้ำแล้วนำไปอมช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อย และแก้ปวดเมื่อยตามกระดูกได้

ใบ : นำมาต้มอาบ ช่วยลดไข้ได้

ดอก : ใช้เข้าเครื่องยา ทำเป็นยาเย็นและยาระบายได้

ยาง : นำมาทานช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ และนำไปหยอดตาแก้อาการตาอักเสบได้

ราก : สามารถนำมาทานแก้ท้องเสีย แก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน กินเป็นยาลดไข้ ช่วยฟอกเลือด และช่วยลดความดันเลือดลงได้

แหล่งที่พบ

มะเขือส้ม

มะเขือเครือ (เหนือ) มะเขือปู (พิษณุโลก)

Lycopersicum esculentum Mill

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Solanaceae

ต้น : ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ล้มง่าย แต่ส่วนที่แตะลงดินจะแตกรากได้ ลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม

ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปคล้ายขนนก ริมขอบใบหยักเว้าลึก หรือหยักเป็นฟันเลื่อย

ดอก : ดอกออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ เป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี กลมแบน หรือกลมใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง

เมล็ด : เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นมีจำนวนมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้ใบสด เป็นยาทาหรือพอกแก้ผิวหนังถูกแดดเผา ผล แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย อ่อน ๆ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงและกระตุ้นกระเพาะ อาหาร ใช้รากสด แก้ปวดฟัน ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ใช้ ผลสด นำมารับประทาน ปรุงอาหาร แก้กระหายน้ำ ส่วนที่นำมาทำอาหารได้คือผลสุกที่มีสีสันส้ม แดง หรือบางท้องถิ่นก็นิยมผลเขียวที่ไม่สุกด้วยเช่นกัน สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิดแทนมะเขือเทศได้เลย เช่น น้ำพริกอ่อง แกงส้ม ต้มยำ ส้มตำ

แหล่งที่พบ

มะเขือเปราะ

มะเขือขัยคำ มะเขือคางกบ มะเขือจาน มะเขือแจ้ มะเขือแจ้ดิน มะเขือดำ (ภาคเหนือ), มะเขือหืน (ภาคอีสาน), มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง), เขือพา เขือหิน (ภาคใต้), มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หวงกั่วเชี๋ย หวงสุ่ยเชี๋ย (จีนกลาง)

Solanum virginianum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SOLANACEAE

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล

ใบมะเขือเปราะ ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ

ดอกมะเขือเปราะ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว

ผลมะเขือเปราะ ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล : ผลมะเขือเปราะช่วยลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ กระตุ้นการเผาผลาญกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยขับพยาธิ รักษาเบาหวาน ต้านมะเร็ง และช่วยบำรุงหัวใจได้

ใบ : นำมาขยำแล้วพอกบริเวณแผล จะช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายไวขึ้น และหากนำใบสดมาเคี้ยวจะช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบได้ นอกจากนี้การนำใบมะเขือเปราะมาต้มแล้วดื่มยังช่วยแก้อาการร้อนในและช่วยขับปัสสาวะได้ดี แถมยังนำมาต้มอาบแก้บรรเทาอาการคันตามผิวหนังได้ด้วย

ราก : นำรากมะเขือเปราะมาต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการไอ แก้อาการอักเสบในลำคอ และแก้โรคหอบหืดได้ หรือหากนำมาเคี้ยวยังช่วยบรรเทาอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ และลดอาการปวดฟันได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ

มะเขือพวง

มะเขือละคร (นครราชสีมา), มะแว้งช้าง (สงขลา), มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ), หมากแข้ง (ภาคอีสาน), เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้)

Solanum torvum Sw.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SOLANACEAE

เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 1 - 2 ม. ใบแน่น ทรงพุ่มไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง ลำต้นมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ลำต้นและใบมีหนามเล็กๆ ห่างขึ้นทั่วไป

การนำไปใช้ประโยนชน์

มะเขือพวงเป็นพืชที่ช่วยเสริมสุขภาพ โดยมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนอง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงคุณสมบัติที่เด่นชัดของมะเขือพวง ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้เพื่อตอบสนองต่อสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันความเสื่อมและแก่ก่อนวัย มีฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโรคเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด

ต้น ใบ และผล เป็นยาเย็นรสจืด ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนอง อาการบวมอักเสบ ขับเสมหะ

ต้น อินเดียใช้น้ำสกัดจากต้นมะเขือพวงแก้พิษแมลงกัดต่อย

ใบสด น้ำคั้นใบสดใช้ลดไข้ ในแคเมอรูนใช้ใบห้ามเลือด ใช้เป็นยาระงับประสาท พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น แก้ปวด ทำให้ฝียุบ แก้ชัก ไอหืด ปวดข้อ โรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และแก้ซิฟิลิส

ผล ผลของมะเขือพวงมีรสขื่น เฝื่อน อมเปรี้ยวเล็กน้อย หลายประเทศนำผลมาต้มน้ำกรองน้ำดื่ม มีสรรพคุณในการขับเสมหะ ช่วยระบบย่อยอาหาร รักษาอาการเบาหวาน

ประเทศจีน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอและบำรุงเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ผลแห้งย่างกินแกล้มอาหารบำรุงสายตาและรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย

อินเดีย กินผลเพื่อบำรุงตับ ช่วยบรรเทาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย และช่วยให้ผ่อนคลายง่วงนอน บำรุงตับ

อินเดีย ทางตอนใต้ใช้ผลอ่อนบำรุงกำลังให้ร่างกาย ผลแห้งหุงน้ำมันเล็กน้อย บดเป็นผงกินครั้งละ ๑ ช้อนชา ลดอาการไอและเสมหะ

แคเมอรูน ใช้ผลมะเขือพวงรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เมล็ด มาเลเซียนำเมล็ดไปเผาให้เกิดควัน สูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน

ราก มาเลเซียใช้รากสดตำพอกรอยแตกที่เท้า หรือโรคตาปลา อินเดียนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงต้มดื่มลดพิษในร่างกาย

โดยทั่วไปที่อินเดียใช้มะเขือพวงกำจัดพยาธิในระบบทางเดินอาหาร และรักษาแผลกระเพาะอาหาร แต่หมอเท้าเปล่าของประเทศอินเดียใช้มะเขือพวงอยู่เสมอเป็นอาหารเสริมเพื่อควบคุมความดันโลหิต คุมโรคเบาหวาน แก้ไขความผิดปกติของระบบไต ตับ และช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำดีเพิ่มในตับ คุณค่าเหล่านี้เหมาะกับผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป

แหล่งที่พบ

มะระขี้นก

ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่

Momordica charantia L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CUCURBITACEAE

ลำต้นเป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ

ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ก้านใบยาว ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5-7 หยัก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4.5-11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10 เซนติเมตร เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม

ดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน

ผลรูปร่างคล้ายกระสวยสั้นๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5-7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก

เมล็ดมีรูปร่างกลม รี แบน ปลายแหลมสีฟางข้าว เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่ เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก ผลิใบทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ แนวรั้วบ้าน เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า "มะระขี้นก"

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลที่ยังไม่สุก มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุม ขับพยาธิ บำรุงน้ำดี แก้อักเสบ ยาระบายอ่อนๆ และรักษาเบาหวาน

แหล่งที่พบ

มะรุม

บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน)

Moringa oleifera Lam.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORINGACEAE

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้

ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma

แหล่งที่พบ

แมงลัก (ผักกอมก้อ)

ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ), มังลัก อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

Ocimum africanum Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APIACEAE (LABIATAE)

ไม้ล้มลุกอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมเหลือง เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีขาวหนาแน่น ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปหอกถึงวงรี กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ มีต่อมมันทั่วไป ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกๆ ละ 3 ดอก ข้อละ 2 กระจุก ใบประดับรูปวงรีแกมใบหอก ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีขน ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 พู กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 4-6 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมียมีไข่ 4 อัน รังไข่เว้าเป็น 4 พู ผลแห้งประกอบด้วยผลย่อย 4 ผล มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลย่อยทรงรูปไข่ สีดำ กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 1.25 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

เมล็ด ใช้เป็นยาระบาย

แหล่งที่พบ

ย่านางแดง

สยาน (ตาก, ลำปาง), เครือขยัน (ภาคเหนือ), หญ้านางแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขยัน, เถาขยัน

Bauhinia strychnifolia Craib.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

เป็นไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลประมาณ 4-10 เมตร เถาเป็นสีน้ำตาลดำพาดพันต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว รูปกลมรีปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสดและเป็นมัน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ลักษณะดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานและห้อยลงเหมือนกับดอกประทัดจีน ช่อดอกยาวประมาณ 100 ซม. ดอกยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีแดงมีด้วยกัน 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เวลามีดอกจะดูสวยงามยิ่ง “ผล” เป็นฝักยาวรูปแบน ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ดหลายเมล็ดดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และเสียบยอด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี ใช้ ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา

ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

ตำรายาไทย ใช้ ใบ เถา และราก ใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า

แหล่งที่พบ

โหระพา

อิ่มคิมขาว, ฉาน - แม่ฮ่องสอน

Ocimum basilicum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Labiatae

โหระพาเป็นไม้ล้มลุก ความสูงของลำต้นประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีม่วงอมแดง ใบโหระพาเป็นใบเดี่ยว ทรงรูปรีหรือรูปไข่ ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ บนใบมีขนปกคลุมลามไปถึงลำต้น ใบโหระพามีน้ำมันหอมระเหยจึงทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ดอกโหระพามีสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7-12 เซนติเมตร บริเวณดอกมีใบประดับสีเขียวอมม่วง กลีบดอกมีโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนผลโหระพาเป็นผลขนาดเล็ก เมล็ดเล็กเท่าเมล็ดงา ออกสีน้ำตาลเข้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative)

ใช้เป็นยาได้หลายชนิด เช่น ปรุงร่วมกับน้ำนมราชสีห์เพื่อกินเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย นิยมรับประทานร่วมกับอาหารประเภทหลน ลาบ ยำ ส้มตำ ใส่ในแกงเขียวหวาน แกงเผ็ดก๋วยเตี๋ยว

แหล่งที่พบ

สะเดา

สะเดา สะเดาบ้าน (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), เดา กระเดา กะเดา (ภาคใต้), จะดัง จะตัง (ส่วย), ผักสะเลม (ไทลื้อ), ลำต๋าว (ลั้วะ), สะเรียม (ขมุ), ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ควินิน (ทั่วไป), สะเดาอินเดีย (กรุงเทพฯ), กาเดา, เดา, ไม้เดา

Azadirachta indica A.Juss.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 16 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ยาว 15-35 ซม. ใบอ่อนสีแดง ก้านใบยาว 3-7 ซม. โคนก้านโป่งพอง ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปใบเคียวเบี้ยว กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมยาว โคนใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นใบประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-2 มม. ดอกช่อกระจุแยกแขนง ยาวได้ถึง 30 ซม. ออกที่ซอกใบมีกลิ่นหอม ใบประดับและใบประดับย่อยรูปใบหอกยาวประมาณ 0.5-1 มม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ขอบกลีบมีขนครุย กลีบดอกรูปแถบแกมรูปซ้อนสีขาว ยาว 4-6 มม. เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว อับเรณูรูปกระสวยแคบ ยาวประมาณ 0.8 มม. ผลสดมีเมล็ดเดียว รูปกระสวย ยาวประมาณ 1-2 ซม. สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น

2. รักษาโรคผิวหนัง สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส

3. แก้ไข้มาเลเรีย สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิน และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. รักษาโรคไขข้อ ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด บวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน

5. ช่วยย่อยอาหาร ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นด้วย

6. บำรุงสุขภาพช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน นิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป ช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

7. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็งมีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง

8. คุมกำเนิด ใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุมกำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยใช้วิธีต่างกัน ผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอด ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ

9. บำรุงข้อต่อ สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย

10. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหาร

11. ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น

12. ต้านมะเร็งสารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย

13. ลดการติดเชื้อราในช่องคลอด

14. บำรุงหัวใจ ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ

แหล่งที่พบ

กระชาย (กระชายขาว, กระชายเหลือง)

ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพมหานคร), กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม), จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ), ขิงจีน

Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก[3] กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้ว จะมีถิ่นกำเนิด ในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น เป็นไม้ลมลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งจะเรียกว่า เหง้า และเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมากจะเป็นที่สะสมอาหารอวบนำส่วนตรงกลางจะพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ส่วนเนื้อด้านในจะมีสีแตกต่างไปตามชนิดของกระชาย และจะมีกลิ่นหอม ส่วนที่อยู่เหนือดินจะประกอบด้วยโคนก้านใบที่เป็นกาบหุ้มซ้อนกัน กาบใบจะมีสีแดงเรือๆตรงแผ่นใบจะเป็นรูปรีส่วนปลายจะแหลม กว้างประมาณ 4.5-10 ซม. ยาวประมาณ 15-30 ซม. ส่วนตรงกลางด้านในของก้านใบจะมีช่องลึก ดอกช่อออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530) ส่วนในเหง้ากระชายนี้จะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งจะมีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาวและเป็นสารที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายชนิดสารทีว่านี้คือ สารแคมฟีน(Camphene) ทูจีน(Thujene) และการบูร เมื่อรับประทานเป็นอาหารจะพบได้ในน้ำยาขนมจีน และเครื่องผสมในเครื่องแกงต่างๆ เนื่องจากว่ากระชายมีสารต่างๆจึงมีสรรพคุณทางที่ช่วยในการแก้โรคต่างๆดั้งนี้ จะมีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง สรรพคุณในการแก้องคชาตตาย ,สรรพคุณแก้ปวดข้อ ,สรรพคุณแก้วิงเวียน แน่นหน้าอกมสรรพคุณแก้ท้องเดิน , สรรพคุณแก้แผลในปาก , สรรพคุณแก้ฝี , สรรพคุณแก้กลาก , สรรพคุณแก้บิด , สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตตามินต่าง ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย (คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว

การนำไปใช้ประโยนชน์

ประโยชน์กระชาย สามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี

น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ช่วยทำให้เหนื่อยลง

ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้

รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น และยังทำให้อาหารมีกลิ่นและรสที่หอมแบบเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย

รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

แหล่งที่พบ

กระชายดำ

ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)

Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่ของกระชายดำจะแทงก้านขึ้นมาจากหัวใต้ดินสีเขียวสด ขนาดใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ลักษณะปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตามแนวเส้นใบ ส่วนโคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น และขอบก้านใบมีสีแดงอ่อน กลางก้านเป็นร่องลึก

ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาบริเวณซอกก้านใบ ช่อละหนึ่งดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ริมปากดอกสีขาว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จะเหมือนกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดเป็นรูปปากแตรไม่มีขน

เหง้าเป็นรูปทรงกลมเรียงต่อกันเป็นปุ่มปม ส่วนใหญ่มีขนาดเท่ากัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ถ้าพบรอยที่ผิวเหง้านั่นเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย

การนำไปใช้ประโยนชน์

เหง้า ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้บิด แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยรักษาอาการโรคกระเพาะจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า กระชายมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบเทียบได้กับยาหลายชนิด เช่น แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน

แหล่งที่พบ

กระทือ

เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน), กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ (ภาคเหนือ), ทือ กะทือ

Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง ติดอยู่ในใบประดับ มีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

หัวกะทือนำมาฝนใช้ทาแก้เคล็ดขัดยอก

เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟ พอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม เพื่อขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

แหล่งที่พบ

กานพลู

Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสารยูเจนอล ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

แหล่งที่พบ

กระเทียม

กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)

Allium sativum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)

กระเทียมเป็นไม้ล้มลุกและใหญ่ยาว สูง 30 - 60 ซม. มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน[2] ลักษณะกลมแป้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 - 4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3 - 4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6 - 10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5 - 10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40 - 60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 - 2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้น ๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาแผลทั้งแผลสดและแผลเรื้อรัง ลดการเกิดลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง

แหล่งที่พบ

ขิง

ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)

Zingiber officinale Roscoe

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ขิง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยง ๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุก ๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ [2]

ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด

ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ

แก่น : ฝนทำยาแก้คัน

แหล่งที่พบ

ข่า

สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง)

Alpinia galanga (L.) Willd.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม

แก้อาหารเป็นพิษ

เป็นยาแก้ลมพิษ

เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา วิธีและปริมาณที่ใช้ :รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

รักษาลมพิษ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

แหล่งที่พบ

ขมิ้นชัน

ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)

Curcuma longa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การนำไปใช้ประโยนชน์

เหง้าใต้ดินบดเป็นผง รักษาแผล แมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาอาการท้องเสีย

แหล่งที่พบ

คำฝอย

คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง

Carthamus tinctorius L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน(Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือคาร์ทามินและ แซฟฟลาเวอร์เยลโลว์ ใช้แต่งสีอาหาร โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อนและใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ ซึ่งดอกคำฝอยแห้ง พบปรากฏเรียกอยู่ในพระคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทยในชื่อว่า "โกฐกุสุมภ์" นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันเส้นเลือด

บำรุงประสาท และระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายสมองให้หลับสบาย

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของโลหิตตามร่างกาย

บำรุงโลหิต สลายลิ่มเลือด

บำรุงหัวใจ ช่วยให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น

รักษาอาการไข้หลังคลอดของคุณแม่

แก้หวัดน้ำมูกไหล

บำรุงโลหิตประจำเดือนของเหล่าคุณผู้หญิง

ยับยั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย

ลดระดับน้ำตาลในเลือด

แหล่งที่พบ

งาขี้ม่อน

งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน งาปุก (คนเมือง), แง (กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ง้า (ลั้วะ), งาเจียง (ลาว), งาม้อน

Perilla frutescens (L.) Britton

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลักษณะนิสัยเป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง 0.3-1 เมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ ขอบหยักฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีขนปกคลุม ดอกสีขาว ผลรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้ม ผิวมีลายร่างแห

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. เมล็ดหรือน้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้กินเป็นยาชูกำลัง โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด)

2. เมล็ดช่วยลดไขมันในเลือด โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (เมล็ด)

3. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด

4. ใบและยอดอ่อนช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (ใบ, ยอดอ่อน)

5. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด

6. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ, ยอดอ่อน)

7. น้ำมันจากเมล็ดนำมาทอดผสมกับเหง้าไพล ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (น้ำมันจากเมล็ด)

8. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบสดช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ (น้ำมันหอมระเหยจากใบ)

9. เมล็ดนำมาบีบเอาน้ำมันใช้เป็นยาทานวด แก้อาการปวดขัดข้อกระดูก (เมล็ด)

10. เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาประคบแก้อาการข้อพลิก (เมล็ด)

แหล่งที่พบ

งาดำ

Sesamum indicum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PEDALIACEAE

ลำต้น งาดำ เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุฤดูเดียว มีลำต้นตั้งตรง อาจแตกกิ่งหรือไม่แตกกิ่งแขนง ลำต้นสูงประมาณ 50-150 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะสีเหลี่ยม มีร่องตามยาว ไม่มีแก่น มีลักษณะอวบน้ำ และมีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นบาง มีสีเขียว

ใบ ใบงาดำ ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นชั้นๆตามความสูง ประกอบด้วยก้านใบสั้น ยาวประมาณ แผ่นใบมีรูปหอก สีเขียวสด กว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีเส้นแขนงใบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆยาวจรดขอบใบ

ดอก ดอกงาดำเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตรงซอกใบ จำนวน 1-3 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น มีกลีบรองดอก จำนวน 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นกรวย ห้วยลงดิน กลีบดอกอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกเมื่อบานมีสีขาว ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กลีบล่าง และกลีบบน โดยกลีบล่างจะยาวกว่ากลีบบน ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 2 คู่ มี 1 คู่ยาว ส่วนอีกคู่สั้นกว่า ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อัน มีก้านเกสรยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายก้านเกสรแหว่งเป็น 2-4 แฉก

ผล และเมล็ด ผลงาดำเรียกว่า ฝัก มีลักษณะทรงกระบอกยาว ผิวฝักเรียบ ปลายฝักแหลมเป็นติ่ง และแบ่งออกเป็นร่องพู 2-4 ร่อง กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว และมีขนปกคลุม ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำอมเทา จากนั้น ร่องพูจะปริแตก เพื่อให้เมล็ดร่วงลงดิน

ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ก สีดำจำนวนมาก เมล็ดเรียงซ้อนในร่องพู เมล็ดมีรูปรี และแบน ขนาดเมล็ดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดบางมีสีดำ มีกลิ่นหอม แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 80-100 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ช่วยในการเผาผลาญ สลายไขมัน ลดความอ้วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

2. ลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล

3. ทำให้ระดับไขมันอยู่ในสัดส่วนพอดี

4. ช่วยในการทำงานของวิตามินอี

5. ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท

6. ลดปฏิกิริยาความเครียด

7. ต้านอนุมูลอิสระ

8. ต้านการอักเสบ

แหล่งที่พบ

จันทร์เทศ

จันทน์บ้าน (ภาคเหนือ, เงี้ยว-ภาคเหนือ), โย่วโต้วโค่ว โร่วโต้วโค่ว (จีนกลาง), เหน็กเต่าโข่ว (จีนแต้จิ๋ว) ปาลา (มาเลเซีย)

Myristica fragrans Houtt.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRISTICACEAE

ม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 4-10 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปกลมรี หรือขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อกระจายหรือช่อกระจุกสั้นๆบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อละ 1-5 ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกมีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ผลรูปกลมรี เปลือกสีเหลือง ออกส้ม มีขนปกคลุม เนื้อสีครีมมีรสเปรี้ยวฝาด มีกลิ่นหอม เมื่อแก่ผลแตกตามยาวออกเป็นสองซีก เมล็ดรูปทรงรี สีน้ำตาล เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีแดงเข้มปนชมพู

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อจันทน์เทศมีรสเปรี้ยวฝาด กลิ่นหอม เนื้อผลแก่นิยมนำไปแปรรูปเป็นของขบเคี้ยว ให้รสหอมสดชื่น เผ็ดธรรมชาติ หวานชุ่มคอ และมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้บิด

ดอกตัวผู้ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในเครื่องยาจีน มีฤทธ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุอาหารพิการ นำมาชงน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหาร

น้ำมันลูกจันทร์ นำมาทำเป็นยาดม

ดอกจันทร์และลูกจันทน์ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดศรีษะ ร้อนใน ผื่นคัน ลมจุกเสียด เลือดกำเดาออก ท้องร่วง บำรุงปอด หัวใจ ตับ น้ำดี ช่วยให้เจรฺญอาหาร ขับลม ขับเสมหะ และกระจายเลือดลม

ในปัจจุบันจันทน์เทศใช้ในอุตสาหกรรมที่อเมริกามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เครื่องหอม เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ลูกอมลูกกวาด

แหล่งที่พบ

ดีปลี

ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง), พิษพญาไฟ ปีกผัวะ

Piper retrofractum Vahl

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PIPERACEAE

ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า บางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลดีปลี มีรสเผ็ดร้อน ขม ช่วยลดอาการไอ อาการระคายคอจากเสมหะ ลดอาการหืด แก้อาการหลอดลมอักเสบ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียน ใช้เป็นยาขับระดู ยาขับพยาธิ ยารักษาริดสีดวง ยาบำรุงธาตุ อีกทั้งยังนำมาทาภายนอก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดอักเสบ บวม และฟกช้ำ

ใบ มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อย ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า พอกแก้ฟกช้ำ

เถา มีรสเผ็ดร้อน ช่วยลดอาการปวดท้อง แก้จุกเสียด ริดสีดวงทวาร แก้ลม เจริญอาหาร ลดอาการกล้ามเนือเรียบหดเกร็ง

เถาและกิ่ง นำมาฝนกับน้ำ ช่วยแก้อาการปวดฟัน ลดอาการฟกช้ำและบวม

รากสด ตำผสมเหล้า พอกลดอาการฟกช้ำได้

ดอก ลดอาการท้องร่วง ขับลม ริดสีดวง เพิ่มความอยากอาหาร รักษาอาการวิงเวียน

ราก มีรสเผ็ดร้อน แก้เส้น แก้หืด แก้ไอ วิงเวียน ปวดท้อง

แหล่งที่พบ

โด่ไม่รู้ล้ม

ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง)

Elephantopus scaber L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

พืชล้มลุก ลำต้นสั้น กลม ชี้ตรง สูง 10-30 เซนติเมตร ตามผิวลำต้น และใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ

ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว อยู่บริเวณเหนือเหง้า ติดเป็นวงกลมเรียงสลับชิดกัน คล้ายแบบกระจุกกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ใบรูปหอกกลับ หรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ แผ่นใบยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ขนตรงห่างสีขาว และขนต่อม ห่าง ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่างๆ เส้นแขนงใบมี 12-15 คู่ ใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน เนื้อใบหนาสาก ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ

ดอกช่อแทงออกจากกลางต้น ช่อดอกรูปขอบขนาน มี 4 ดอกย่อย ยาว 8-10 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว 3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ปลายกลีบดอกยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน เกสรเพศผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาว 2.2-2.3 มิลลิเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ก้านชูอับเรณูยาว 1.5-1.7 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีก้านเกสรยาว 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยมาอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก บริเวณโคนกระจุกดอกมีใบประดับแข็งรูปสามเหลี่ยม แนบอยู่ 3 ใบ ยาว 1-2 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกยาวถึง 8 เซนติเมตรมีขนสากๆทั่วไป ฐานรองดอก แบน เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูง 7-10 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับรูปใบหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง และที่ขอบมีขนครุย ชั้นนอกรูปใบหอก ยาว 4-6 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ชั้นที่ 2 รูปขอบขนานยาว 8-10 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร ปลายแหลม แพปพัส สีขาวเป็นเส้นตรงแข็งมี 5 เส้น เรียง 1 ชั้น ยาว 5-6 มิลลิเมตร

ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลเล็กเรียว รูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกมีขนหนาแน่น ยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 0.4-0.5มิลลิเมตร ไม่มีสัน พบขึ้นตามป่าโปร่งที่ดินค่อนข้างเป็นทรายทั่วๆไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าสนเขาทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเขตร้อนทั่วโลก ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-มกราคม

การนำไปใช้ประโยนชน์

หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ บำรุงกำลัง บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ ราก ต้มน้ำดื่ม หรือดองเหล้าดื่ม เข้ากับยากำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรงบำรุงร่างกายแก้ปวดเมื่อย ราก ลำต้น ใบ และผล ต้มน้ำดื่ม แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ไอ

หมอยาพื้นบ้าน ใช้ ทั้งต้น รสกร่อยขื่น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด แก้กระษัย ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แผลมีหนอง แก้แผลงู แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้อักเสบ แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา ราก รสกร่อยขื่น ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน ใบ รสกร่อยขื่น รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง (ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล แก้โรคผิวหนังผื่นคัน) แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค รักษาโรคบุรุษ เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน แก้ไอ ทำให้เกิดความกำหนัด รากและใบ รสกร่อยขื่น ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร แก้บิด แก้กามโรคในสตรี ใช้สดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือ ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล ต้มอาบหลังคลอด ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงกำลัง ชูกำลัง ตัดกษัย บำรุงกษัยไม่ให้เกิด แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด ขับปัสสาวะ แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ แก้ไข้ ขับพยาธิไส้เดือน แก้กามโรค แก้โรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวดบวม แก้ตับอักเสบ แก้บิด รักษาตัวบวม รักษาไตอักเสบ

แหล่งที่พบ

แปะก๊วย

แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช, ต้นไม้อิสรภาพ, หยาเจียว (จีน), อิโจว (ญี่ปุ่น)

Ginkgo biloba L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • GINKGOACEAE

เป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 10-25 เมตร ทุกส่วนไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาห่างๆ เปลือกสีเทา ต้นแก่เปลือกสีนํ้าตาลอมเหลือง

ใบแปะก๊วย จะะออกมาจากปลายกิ่งสั้น กิ่งละ 3-5 ใบ มีรูปร่างคล้ายพัดจีน กว้าง 5-8 ซม. ยาวประมาณ 8 ซม. ปลายใบเว้าตรงกลาง มีรอยเว้าตื้น ๆ หลายแห่ง หรือเป็นคลื่น โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบเรียงถี่ ๆ เป็นรูปพัด ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ก่อนผลัดใบ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบเรียวยาว

ดอกแปะก๊วย เป็นดอกแยกเพศ และอยู่ต่างต้นกัน ออกที่ปลายกิ่งสั้น บริเวณเดียวกับที่เกิดใบ ดอกเพศผู้ แต่ละกิ่งจะออกประมาณ 4-6 ช่อ ลักษณะช่อเป็นแทงห้อยลง มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูติดที่ปลายก้านเกสร มี 2 ลอน ดอกเพศเมีย ออกกิ่งละ 2-3 ดอก ดอกมีก้านยาว ที่ปลายก้านมีไข่ 2 เมล็ด ไข่ไม่มีรังไข่หุ้ม แต่มักจะเจริญเติบโตเพียงเมล็ดเดียวผลค่อนข้างกลม หรือรี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. เป็นผลชนิดมีเนื้อนุ่ม แต่เมล็ดแข็ง เมื่อสุกสีเหลือง ผิวมีนวล กลิ่นค่อนข้างเหม็น

เมล็ดแปะก๊วย เป็นรูปวงรี หรือ รูปไข่ เปลือกแข็ง สี ออกเหลืองนวล เนื้อภายในเมล็ดเมื่อทำให้สุกใช้เป็นอาหารได้ทั้งคาว และหวาน เรียกว่า “แปะก๊วย”

การนำไปใช้ประโยนชน์

ลดระดับคอเลสเตอรอล, ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง, มีวิตามินและแร่ธาตุสูง, แคลอรีต่ำ, รักษาโรคซึมเศร้า, อาจช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม, เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ, บรรเทาอาการโรคเรย์นาร์ด, บรรเทาอาการเบาหวานขึ้นตา, บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน, รักษาอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง

แหล่งที่พบ

พลู

พลู (ภาคกลาง) ; ซีเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส)

Piper betle

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Piperaceae

พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ คล้ายใบโพธิ์ปลายใบแหลม หน้าใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น

การนำไปใช้ประโยนชน์

รสเผ็ดเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดงรับประทานกับหมาก

แหล่งที่พบ

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลาย ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพมหานคร), สามสิบดี เขตตายยายคลุม (ร้อยเอ็ด), หญ้ากันงู (สงขลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง), ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า (จีน)

Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ACANTHACEAE

เป็นไม้ล้มลุกมีอายุฤดูเดียว สูง 30-60 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยวมีสีเขียวเข้ม ออกเรียงตรงข้าม รูปคล้ายใบหอก โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ แต้มแถบสีม่วงแดง ปากล่างมี 2 กลีบ เกสรเพศผู้มี 2 อัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ข้างในมีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาล

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่า ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัด หรือร้อนในบ่อย ๆ หากรับประทานฟ้าทะลายโจร จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น จึงไม่เป็นหวัดง่าย อาการร้อนในจะหายไป

2. ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี ฯลฯ

3. แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ

4. เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร

แหล่งที่พบ

มะแขว่น

มะกรูดตาพราหมณ์ (นครราชสีมา); กำจัดต้น, พริกหอม, หมากมาศ (กรุงเทพฯ); มะข่วง, มะแขว่น, บ่าแข่น (ภาคเหนือ); มะแข่น (ไทสิบสองพันนา); มะแขว่น (ลาว); ลูกระมาศ (ภาคกลาง); หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน); มะเข่น, มะแข่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

Zanthoxylum limonella Alston

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Rutaceae

ลำต้นมะแขว่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นมีเปลือกสีเทาอมขาว ลำต้น และกิ่ง มีตุ่มหนามแหลมขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุม

ใบ มะแขว่น เป็นประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลักยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีหนามเป็นระยะๆ บนก้านใบมีใบย่อย 10-28 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีก้านใบสั้น 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบย่อยแต่ละใบมีรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบ และแผ่นใบเรียบ ใบมีความกว้าง ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบจะมียาง และมีกลิ่นหอม

ดอกมะแขว่น ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายบริเวณปลายยอด ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนตัวดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายช่อของแต่ละก้านช่อย่อย ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีรูปทรงกลม สีขาวอมเขียว ขนาดดอกประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบรองดอก 4 กลีบ และกลีบดอก 4 กลีบ ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ทั้งนี้ ดอกมะแขว่นจะเริ่มออกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

ผลมะแขว่นมีลักษณะทรงกลม ขนาดประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลแก่มีเปลือกสีแดง และแก่จัดมีสีดำอมน้ำตาล เปลือกผลมีผิวขรุขระ และปริแตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแก่จัดหรือเมื่อผลแห้งจนมองเห็นเมล็ดด้านใน ซึ่งมีลักษณะทรงกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และเป็นมัน ขนาดเมล็ดประมาณ 0.25-0.35 เซนติเมตร ผลมะแขว่นนี้ นิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ซึ่งให้รสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมแรง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เมล็ด สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน

ราก, เปลือกและเนื้อไม้ ขับลมในลำไส้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์)

ใบ ขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน

ตำรายาจีน ใช้แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย และแก้อาการปวดไส้เลื่อน

แหล่งที่พบ

ยี่หร่า

ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้)

Ocimum gratissimum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุของการเติบโตประมาณ 2 ปี เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แจ้ง มีแสงแดด

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย มีเส้นกลาง ส่วนเส้นแขนงมีลักษณะเป็นร่างแห ขอบใบหยักเหมือนใบเลื่อย มีกลิ่นหอม นิยมไปผัดทำอาหารเพื่อเพิ่มกลิ่นให้ชวนรับประทานหรือช่วยดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์

ดอก ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ประกอไปด้วยดอกย่อยประมาณ 50-100 ดอก ดอกย่อยเป็นชั้นคล้ายฉัตร ก้านดอกเรียวยาว สีเขียวอมม่วง ดอกจะบานจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน

ผล มีขนาดเล็ก ทรงกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลหรือดำ มีเมล็ดอยู่ภายใน นิยมนำมาตากแห้งแล้วนำไปเป็นเครื่องเทศสำหรับประกอบอาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมมากขึ้น

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกง ซุป ต้มยำ เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น

เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย

น้ำมันยี่หร่า (Caraway oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ

สมอไทย

หมากแน่ะ, ม่าแน่ (ภาคอีสาน), สมออัพยา, ลูกสมอ

Terminalia chebula Retz.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMBRETACEAE

ผลรูปทรงกลม หรือรูปไข่ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. ผลสดสีเขียวอมเหลือง หรือบางครั้งมีสีแดงปน ผิวเรียบ มีสัน 5 สัน เมล็ดเดี่ยว แข็ง รูปรี ขนาดใหญ่ ผลแห้งสีดำเข้ม ผิวย่น ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่มีรสฝาดติดเปรี้ยว ขม ไม่มีกลิ่น เนื้อผลรสฝาดเปรี้ยว เมื่อชิมจะขมเล็กน้อยในตอนแรกและจะหวานในตอนหลัง เมล็ดมีรสขม

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ผลสมอไทยนำมาทานสดหรือจิ้มกับพริกน้ำปลา ให้รสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน

2. ผลสมอไทยนำมาทำสมอไทยดอง หรือ สมอไทยแช่อิ่มรับประทาน

3. เปลือกลำต้นใช้มีดถากนำมาย้อมผ้า ย้อมแห ให้สีดำอมแดงเรื่อ

4. ใบสมอไทย นำมาต้มย้อมผ้า ใบอ่อนให้สีเขียวขี้ม้า ใบแก่ที่เหลืองแล้วให้สีเหลืองอมน้ำตาล

5. ใบอ่อน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากแห้ง ก่อนนำมาชงเป็นชาดื่ม หรือ ใช้มวนเป็นยาสูบผสมกับใบพืชชนิดอื่น

6. ไม้สมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมเลื่อยแปรรูปเป็นเสาบ้าน แผ่นไม้ปูบ้าน ทำประตูวงกบ รวมถึงทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

7. กิ่งไม้ใช้ทำฟืน

แหล่งที่พบ

สมอพิเภก

ลัน (เชียงราย), สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ), สมอแหน (ภาคกลาง)

Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMBRETACEAE

ไม้ยืนต้นสูง 25-30 เมตร เปลือกผิวขรุขระ แตกตามยาว สีเทาดำ มักมีพูพอนแคบ ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ค่อนข้างแน่นตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-16 ซม. ยาว 2-10 ซม. ก้านใบยาว 3-9 ซม. มักมีต่อมขนาดเล็ก 1 คู่อยู่ตรงกลางด้านหน้าของก้านใบ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะเป็นแท่งแกน ยาวประมาณ 3-15 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้จะอยู่ด้านบน ลักษณะเป็นถ้วย สีนวล ภายในมีขนนุ่มแน่น มีกลิ่นหอมเอียน ผล เป็นผลสดค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม ขนาด กว้าง 2-3 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. มีสันพอสังเกตได้ เมล็ดค่อนข้างรี แข็ง ผิวขรุขระ ขนาดยาว 1.2 ซม. กว้าง 0.5 ซม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

สมอพิเภก เป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์พื้นเมืองที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

เนื้อไม้ ใช้ทำพื้น ฝา หีบใส่ของ และการก่อสร้างต่าง ๆ เรือขุด คันไถ ทำเครื่องใช้ทางการเกษตร

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ราก : ใช้แก้พิษโลหิต ซึ่งมีอาการทำให้ร้อน

เปลือกต้น : ใช้แก้โรคเกี่ยวกับปัสสาวะพิการ

ใบ : รักาษแผลติดเชื้อ

ดอก : แก้ตาเปียกแฉะ

ผล : เป็นยาเจริญอาหาร บำรุง แก้ไข้ ท้องร่วง โรคเรื้อน ริดสีดวงทวาร ท้องมาร ถ้ารับประทานมาก ๆ เป็นยาเสพติด และทำให้หลับเมื่อเอาเมล็ดออกย่างไฟนาบสะดือเด็กหลังจากสายสะดือหลุด ผลค่อนข้างสุก เป็นยาระบาย เมื่อสุกเต็มที่เป็นยาสมาน ผลแห้ง แก้ไอ เสียงแห้ง เจ็บคอ ธาตุพิการ

ผลดิบ ใช้รับประทานเป็นยาระบาย เปลือกและผลให้สีขี้ม้าใช้ย้อมผ้า ผล ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol.

แหล่งที่พบ

ส้มแขก

ชะมวงช้าง, ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มพะงุน (ปัตตานี), ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้)

Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE

ต้นส้มแขก ลักษณะของต้นส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงประมาณ 5-14 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะของเปลือกต้นหากเป็นต้นอ่อนจะมีสีเขียว หากแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา

ใบส้มแขก เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร โดยใบแห้งจะมีสีน้ำตาล

ดอกส้มแขก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก

ผลส้มแขก ลักษณะของผลส้มแขกเป็นผลเดี่ยว ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มีประมาณ 8-10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ เนื้อแข็งมีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบแก่นำมาทำเป็นชาได้ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ใบอ่อนส้มแขกใช้รองนึ่งปลา

ประโยชน์ส้มแขก ผลสดใช้ทำแกงส้ม

ประโยชน์ของส้มแขก ผลใช้ปรุงรสอาหารด้วยการนำมาผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ เอาเยื่อและเมล็ดออก นำมาตากแห้งแล้วนำมาใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มปลา ต้มเนื้อ แกงส้ม หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน เป็นต้น หรือจะใช้ใบแทนผลก็ให้รสเปรี้ยวได้เช่นกัน

มีการใช้ใบแก่ของส้มแขกมาผสมกับยางพารา เพื่อใช้ทำปฏิกิริยาให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วขึ้น ด้วยการใช้ใบแก่ประมาณ 2 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 10 ลิตรแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์แล้วค่อยนำมาผสมกับยางพารา

ลำต้นส้มแขกแก่ ๆ (อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป) สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้

มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก ฯลฯ

แหล่งที่พบ

หญ้าแห้วหมู

หญ้าแห้วหมูหรือหญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), ซาเช่า (แต้จิ๋ว), ซัวฉ่าว (จีนกลาง)

Cyperus rotundus L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CYPERACEAE

ต้นแห้วหมู หรือ ต้นหญ้าแห้วหมู จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก จัดอยู่ในจำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก มีสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นดิน มีขนาดเล็กเรียวเป็นเหลี่ยม มีความสูงประมาณ 4-10 นิ้ว มีสีเขียวแก่ เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือการใช้หัวหรือไหลใต้ดิน เป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตามทุ่งนา ข้างทางหรือที่รกร้าง กระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน

ใบแห้วหมู ใบเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแต่แผ่เป็นใบ ใบมีขนาดเล็ก มีลักษณะแบนเรียวยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 25 เซนติเมตร

ดอกแห้วหมู ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกมีขนาดเล็ด หนึ่งช่อดอกมีใบประดับประมาณ 2-4 ใบ กางออกอยู่ฐานช่อดอก ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีสีน้ำตาล

ผลแห้วหมู ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลมีสีน้ำตาลหรือสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

ช่วยขับลม

แก้อาการแน่นหน้าอก อาเจียน

แก้ปวดท้อง

ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ

เป็นยากล่อมประสาท

เป็นยาแก้ปวดในหญิงที่ประจำเดือนไม่ปกติ

ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ

ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาพอกฝีดูดหนอง

ใช้เป็นยาบำรุงทารกในครรภ์

ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด เฟ้อ

ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ

รักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

รักษาแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มความดันโลหิต

ช่วยกระตุ้นประสาท กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด

ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบ

บำรุงหัวใจ

กระตุ้นระบบหายใจ

ช่วยลดระดับไขมัน

แหล่งที่พบ

ฝางเสน

ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาคกลาง), ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ), สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน), ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง)

Caesalpinia sappan L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ลำต้นฝางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้น และกิ่งก้านมีหนามขนาดใหญ่ โคนหนามพองโตคล้ายเต้านม

ใบประกอบด้วยก้านใบยาว และมีก้านย่อยที่ประกอบด้วยใบย่อย ก้านใบ 1 ก้าน มีก้านย่อยประมาณ 12 ก้าน แต่ละก้านย่อยประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 13 คู่ ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะแบบขนนก คล้ายใบมะขาม สีเขียวสด และเมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม ใบเรียบ ปลายใบมน และเว้าตรงกลางเล็กน้อย ผิวใบเรียบทั้ง 2 ด้าน

ดอกฝางออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลือง กลางดอกมีสีแดง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง และซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบรองว้อนทับกันที่ขอบกลีบ โดยมีกลีบล่างสุดมีลักษณะโค้งงอ และมีขนาดใหญ่สุด ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบเช่นกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหัว ขอบกลีบมีลักษณะย่น ด้านในดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน

ผลเป็นฝัก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแข็ง แบนสีเขียว เหมือนมีดปังตอ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม และแก่เต็มที่หรือแห้งจะมีสีน้ำตาลดำหรือดำ บริเวณผิวฝักมีลายแต้มเป็นจุดๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับถั่วแปบ โดยมีปลายฝักยื่นออกมาเป็นจงอยแหลม ด้านในฝักมีเมล็ดทรงเรียวรี 2-4 เมล็ด/ฝัก

การนำไปใช้ประโยนชน์

แก่นฝาง - รสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ มีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม แก้เลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ แก้อาการหัวใจขาดเลือด (จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก) กระจายเลือดที่อุดตัน ลดการปวดมดลูกในสตรีหลังคลอด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น น้ำต้มแก่นฝางให้สีแดง ใช้เป็นหลักในการทำน้ำยาอุทัย ใช้แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี

เมล็ด - เมล็ดแก่แห้ง นำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง หรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้

เนื้อไม้ - เป็นส่วนผสมหลักในยาบำรุงหลังคลอดบุตร ผสมกับปูนขาว บดทาหน้าผากหลัง คลอดบุตร ช่วยให้เย็นศีรษะ และลดอาการเจ็บปวด เป็นยาขับระดูอย่างแรง แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้โลหิตตกหนัก แก้เสมหะ ดี และโลหิต

ราก - ให้สีเหลือง ใช้ทำสีย้อมผ้า และไหม ใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม

แหล่งที่พบ

หมามุ่ย

บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) หมามุ้ย ตำแย

Mucuna pruriens (L.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก หลุดร่วงง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ เพราะขนหมามุ่ยเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ซึ่งฝักจะออกมาในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

หมามุ่ย ใช้เป็นยาบ้ารุงก้าลัง ไม่เหนื่อยง่าย ช่วยท้าร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง ช่วยท้าให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส สรรพคุณของหมามุ่ย ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างน้้าอสุจิ และช่วยปรับคุณภาพของน้้าเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่ม การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (เพิ่มโอกาสการมีลูกได้มากขึ้น) ช่วยท้าให้คู่รักมีความสุขและช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างกัน ให้ดีมากยิ่งขึ้น สรรพคุณหมามุ่ย ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ เพิ่มความถี่ของการผสมพันธุ์ให้มากยิ่งขึ้นเป็น 10 เท่า (มีการทดลองในสัตว์) หมามุ่ย สรรพคุณช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้ ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ ประโยชน์หมามุ่ย ช่วยท้าให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น ช่วยท้าให้ ผิวพรรณดูมีน้้ามีนวลมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น สรรพคุณเมล็ดหมามุ่ย ช่วยรักษาภาวะการมี บุตรยากทั้งชายและหญิง หมามุ่ยสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยเพิ่มการเผา ผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช้้าใน ด้วยการใช้รากหมามุ่ย 1 กิโลกรัม เมล็ดผักกาด 5ขีด และเมล็ดผักชี 3ขีด น้ามาต้ารวมกันจนเป็นผงแล้วผสมน้้าผึ้งป่าหมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วน้ามาใช้กินก่อนนอน (ขนาด เท่าผลมะพวง) ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการใช้รากหมามุ่ยน้ามาต้มกินแก้อาการ (ราก) ใช้แก้อาการคัน (ราก) เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด) ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ (ราก) ช่วยแก้พิษแมงป่องกันได้ ด้วยการใช้เมล็ดต้าเป็นผงแล้ว น้ามาพอกบริเวณที่โดนต่อย (เมล็ด) หมามุ่ยประโยชน์ในปัจจุบันมีการน้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารในรูปของแคปซูล หมามุ่ยสกัด กาแฟหมามุ่ย เป็นต้น

แหล่งที่พบ

มะเขือขื่น (มะเขือแจ้)

มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (เชียงใหม่), มังคิเก่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เขือเพา (นครศรีธรรมราช), มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง (ภาคเหนือ), เขือหิน (ภาคใต้)

Solanum aculeatissimum Jacq.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SOLANACEAE

เป็นไม้พุ่ม สูง ประมาณ 1 – 3 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว บริเวณก้านใบและใบจะมีหนามปกคลุม ดอกเป็นช่อ ออกบริเวณตอนล่างของใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีม่วงเข้ม มีขนปกคลุม ผลรูปร่างกลม หรือค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงเจริญติดกับผลด้วย บริเวณกลีบเลี้ยง มีหนามปกคลุม ผลแก่ มีสีเขียวปนเหลือง เปลือกผล เหนียวกว่าและไม่กรอบเท่ามะเขือเปราะ เมล็ดในผลมีมากมาย รูปร่างค่อนข้างกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 -3 เซนติเมตร ออกดอกออกผลตลอดปี มักพบขึ้นตามที่รกร้างและในสวน

การนำไปใช้ประโยนชน์

มีวิตามินซี มีวิตามินเค มีโพแทสเซียม มีวิตามินเอ มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีคาร์โบไฮเดรต มีพลังงาน มีเส้นใย มีโปรตีน มีโซเดียม ช่วยขับเสมหะ ช่วยกัดเสมหะ แก้ไข้ ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต ช่วยรักษาอาการปวดศรีษะ แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดฟัน แก้พิษต่างๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยรักษาหนอง ช่วยขับลม ช่วยรักษาปวดบวม ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง แก้น้ำลายเหนียว ช่วยขับพยาธิ

แหล่งที่พบ

กร่าง

กร่าง

Ficus altissima Blume.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10 - 30 เมตร ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่นกหรือ ค้างคาวจะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่าง ๆ หรือจะขยายพันธุ์ ด้วยการปักชำหรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล
  ผลสามารถรับประทานได้ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
เมล็ด
  ใช้เป็นยาเย็นและยาบำรุงร่างกาย
เปลือกต้น
  เป็นยาชงใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องเดิน ใช้เป็นยาช่วย ห้ามเลือด
ใบ
  ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด
ยางจากต้น
  ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร ใช้แก้หูด ทาแก้ไขข้ออักเสบ

แหล่งที่พบ

กระโดน

กระโดน

Careya arborea Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ไม้ต้น ผลัดใบ อาจสูงได้ถึง 30 ม. แตกกิ่งต่ำ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม หูใบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปไข่กลับกว้าง ยาว 20 - 30 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย เส้นแขนงใบเรียงจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบคล้ายเป็นครีบ ยาว 1-3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ตั้งขึ้น ออกที่ปลายกิ่งพร้อมผลิใบอ่อน ใบประดับ 3 ใบ ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่ง เรียงซ้อนเหลื่อม ยาว 2-2.5 ซม. ดอกสีขาวอมเขียว ขอบสีชมพู มี 4 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันประมาณ 1 ซม. สีขาวหรืออมแดง วงนอกยาวกว่าวงด้านใน วงในเป็นหมัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-4.5 ซม. จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 4-5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ผลสดมีหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดจำนวนมาก รูปขอบขนาน แบน ยาวประมาณ 1 ซม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลมีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร

เมล็ด

เมล็ดมีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ได้

เปลือกต้น

เปลือกต้นช่วยแก้น้ำกัดเท้า

ใบ

ใบมีรสฝาด ใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล

ดอก

ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

แหล่งที่พบ

ไข่เน่า

ไข่เน่า

Vitex glabrata R.Br.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ไม้ยืนต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูง 10 - 12 ม. ลำต้นเกลี้ยง เป็นสีหม่น และด่างเป็นดวงขาวๆ ใบเป็นใบประกอบ มีขนาดไม่เท่ากัน ตรง โคนใบจะเรียวเล็กปลายกว้างและมน ยาว 6 - 33 ซ.ม. ใบสีเขียว คล้ายใบงิ้ว ดอกอยู่ติดกันเป็นช่อยาวๆ มีขนาดเล็ก สีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อๆ ดอกมี กลิ่นหอม ออกดอกในช่วงย่างเข้าหน้าฝน เมล็ด (ผล) ผลอ่อนยังไม่สุกมีสีเขียว และแข็ง ผลที่สุกแก่เต็มที่จะมีสีดำเทาอ่อน นุ่นนิ่ม ผิวมัน ผลโตประมาณ 1 - 1.5 ซ.ม. มีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นจะเหม็น ผลจะแก่ในหน้าฝน เมล็ดขนาดเท่านิ้วก้อย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลสุกใช้รับประทานช่วยรักษาโรคเบาหวาน

เปลือกต้น

เปลือกต้นช่วยแก้ไข้ และช่วยแก้อาการท้องเสียได้

ราก

รากไข่เน่าช่วยทำให้เจริญอาหาร

เนื้อไม้

เนื้อไม้ช่วยแก้เลือดตกค้าง

แหล่งที่พบ

จันอิน

จัน

Diospyros decandra Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ไม้ต้นสูง 20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ถึงขอบขนาน ฐานบ้านหรือปลายแหลม ปลายใบเรียวแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเข้มอมเทาหรือดำแตกเป็นสะเก็ด เนื้อไม้สีขาว ส่วนกิ่งอ่อนยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และมีกิ่งก้านเหนียว ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูประฆังคว่ำ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปคันโท ดอกเพศเมียลักษณะคล้ายดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า ผลสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม รูปร่างกลมหรือกลมแป้น มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลมีกลิ่นหอม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ช่วยแก้อาการท้องเสีย แก้อาการนอนไม่หลับ อาการกระสับกระส่าย

แก่น

ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาการไอ

เนื้อไม้

ช่วยบำรุงกำลังให้สดชื่น บำรุงเลือดลม แก้อาการเหงื่อมาก ช่วยขับพยาธิ

แหล่งที่พบ

ตะโก

ตะโกนา

Diospyros rhodocalyx Kuarz.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ตะโกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก รูปทรงพุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเนื่องจากเติบโตได้ช้า) การตอนกิ่ง หรือการขุดล้อมเอามาจากธรรมชาติ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการแสงแดดแบบเต็มวัน มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี โดยพบว่ามีเขตการกระจายพันธุ์จากพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบขึ้นได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าละเมาะ และตามทุ่งนา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 40 - 300 เมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ แก้อาเจียนเป็นโลหิต หรือนำมาตากแดด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กษัย ขับพยาธิ

ราก

ช่วยแก้โรคผอมแห้งหลังการคลอดบุตรเนื่องมาจากอยู่ไฟไม่ได้ รากช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี

เนื้อไม้

ต้นใช้เป็นยาแก้ไข้

เปลือก

เปลือกต้นหรือแก่นนำมาต้มกับเกลือใช้อมแก้อาการปวดฟัน

แหล่งที่พบ

ตะคร้อ

ตะคร้อ

hleichera oleosa (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ต้นตะคร้อ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15 - 25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็น สีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

เนื้อผลเป็นยาระบาย รับประทานมากไปจะทำให้ท้องเสียได้

เมล็ด

น้ำมันจากเมล็ดตะคร้อ ช่วยแก้ผมร่วง

เปลือกต้น

เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง

ใบ

ใบแก่นำมาเคี้ยวให้ละเอียด ใช้ใส่แผลสดเพื่อปิดปากแผลไว้ จะช่วยห้ามเลือดได้

ราก

รากช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน

แหล่งที่พบ

ตะคร้ำ

ตะคร้ำ

Garuga pinnata Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ต้นตะคร้ำ จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงได้ประมาณ 10 - 20 เมตร เมื่อโตวัดรอบ 100 - 200 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ เรือนยอดของต้น โคนต้นเป็นพูพอน ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่วไป และมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีนวล มีทางสีชมพูสลับ และมียาง สีชมพูปนแดงไหลออกเมื่อสับดู โดยยางนี้หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำ ส่วนกระพี้จะเป็นสีชมพูอ่อน ๆ และมีแก่นเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่ราบตามป่าโปร่ง ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้งในที่ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่วไป ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-800 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลตะคร้ำ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร

ต้น

ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดตา แก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ

เปลือกต้น

ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินหรือนำมาบีบเพื่อเอาน้ำกินเป็นยา

แหล่งที่พบ

ตาลเสี้ยน

ตาลเสี้ยน

Xantolis siamensis (H. R. Fletcher) P. Royen

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 7 - 8 เมตร ลำตรงเปล่าตรงมักแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ผิวเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกมันค่อนข้างเทาสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดรูปกรวยหรือเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งอ่อนมีช่องระบายอากาศมากและมีปนสีน้ำตาลแดงทั่วไปใบเดียว ติดเรียงสลับสองข้างของกิ่งขนาด 5 – 7 x 13 - 22 เซนติเมตร ปลายใบทู่หรือมน โดยใบมนมักเบี้ยว เนื้อใบหนา หรือใบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ข้างใบมีขนสีเทานุ่มเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ 8 – 12 คู่

การนำไปใช้ประโยนชน์

เมล็ด

แก้ริดสีดวงทวาร แก้พยาธิผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง ใช้เบื่อปลา

เปลือกต้น

บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับผายลม บำรุงโลหิต เป็นยาคุมธาตุ สมานแผล แก้อุจจาระร่วง ใบ แก้พิษกาฬ แก้พิษอักเสบจากหัวกาฬ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้ริดสีดวงจมูก รักษามะเร็งลาม

ดอก

แก้พิษกาฬ พิษไข้ตัวร้อน

แหล่งที่พบ

มะกอกป่า

มะกอกป่า

Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 20 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 10 - 15 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมกว้าง ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับส้มตำ ลาบ ยำ อาหารที่มีรสจัด ผลสด มีรสเปรี้ยวใช้ตำน้ำพริก ส้มตำ และปรุงอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เผ่ากะเหรี่ยงใช้ใบเคี้ยวกินแก้ท้องเสีย ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงตา ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำเลือดออกตามไรฟัน เนื้อในผล แก้ธาตุพิการ เปลือก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

แก้ธาตุพิการ เปลือก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน

ใบ

ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับส้มตำ ลาบ ยำ

แหล่งที่พบ

มะกัก

มะกัก

Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบ 2 ชั้น เรียงเวียน ใบประกอบย่อยมี 3 - 5 คู่ คู่ล่างมักลดรูปเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยมี 3 - 5 คู่ ใบปลายขนาดใหญ่กว่าใบด้านข้าง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2 - 8.5 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนกลม เบี้ยว แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยใบข้างสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ยาวเท่า ๆ หรือยาวกว่าใบประกอบ ดอกจำนวนมากสีขาว ใบประดับรูปแถบขนาดเล็ก ก้านดอกยาว 4 - 6 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. มีขนประปราย กลีบดอก 4 กลีบ เรียงจรดกัน รูปรี ยาวประมาณ 4 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านชูอับเรณูกว้าง จานฐานดอกจักเป็นพูตื้น ๆ 10 พู รังไข่มี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 5 อัน ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4 - 4.5 ซม. สุกสีเหลือง ก้านหนา

การนำไปใช้ประโยนชน์

มะกักจัดอยู่ในกลุ่มพืชหอมที่สามารถนำไปใช้ เป็นยาบำรุงหัวใจ

แหล่งที่พบ

มะเกลือ

มะเกลือ

Diospyros mollis Griff.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะเกลือ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่าและไทย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และต้นมะเกลือจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี นอกจากนี้ต้นมะเกลือยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ช่วยแก้พิษตานซาง

เปลือกต้น

ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร

ใบ

ใบมะเกลือนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับสุรา ใช้ดื่มแก้อาการตกเลือดภายหลังการคลอดบุตรของสตรี เมล็ด ช่วยขับพยาธิ

ราก

ช่วยแก้ลม อาการหน้ามืด

แหล่งที่พบ

มะขวิด

มะขวิด

Feronia limonia (L.) Swingle

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15 - 25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ดิบนำมาหั่นให้บางแล้วตากให้แห้ง ใช้ชงกับน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย

เปลือกต้น

ช่วยแก้บวม

ใบ

ใบช่วยขับลมในกระเพาะ

ดอก

ช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง

แหล่งที่พบ

มะตาด

มะตาด

Dillenia indica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10 - 20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมี ปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี ในประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในป่าพรุ ป่าดิบชื้น และริมแม่น้ำลำธาร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลมะตาดมีสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

ราก

รากมะตาดใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

เปลือกต้น

เปลือกต้นนำมาเคี้ยวช่วยทำให้เหงือกและฟันกระชับแน่น

ใบ

ใบและเปลือกต้นมีรสฝาด ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย

แหล่งที่พบ

มะขามป้อม

มะขามป้อม

Phyllanthus emblica

ชื่อวงศ์พรรณไม้

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 ม ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้ มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้

แหล่งที่พบ

มะพูด

มะพูด

Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะพูด เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 7 - 10 เมตร เรือนยอดเป็นกลมกลมหรือเป็นรูปไข่ เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตั้งตรง และอาจมีร่องรอยของแผลเป็น มีลักษณะเป็นปุ่มปมตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งเกิดจากการหลุดร่วงของกิ่งก้านทั่วไป โดยจะแตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่มโปร่ง ก้านจะแตกออกจากลำต้นค่อนข้างถี่ และเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม เรียบ และแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาวของลำต้น เมื่อเปลือกต้นเกิดบาดแผลจะมียางสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลซึมออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้กล้าปักชำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น และตามชายห้วยหรือพื้นที่ริมน้ำในป่าเบญจพรรณ โดยจะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ และในพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ส่วนในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ชวา ลาว กัมพูชา และบอร์เนียว

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

น้ำคั้นจากผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

เปลือกต้น

เปลือกต้นมีรสฝาด นำไปต้มกรองเอาแต่น้ำใช้ชำระล้างบาดแผล

ราก

ช่วยถอนพิษผิดสำแดง

แหล่งที่พบ

มะพลับ

มะพลับ

Diospyros malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณ กันชนระหว่างป่าบกและป่าชายเลน ชายป่าพรุ บริเวณชายคลอง ป่าดิบใกล้แหล่งน้ำ ป่าละเมาะริมทะเล และตามเรือกสวนทั่วไป ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 2-30 เมตร (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าประมาณ 50 - 400 เมตร) ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลอ่อนใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย

เปลือกต้น

เปลือกต้นเป็นยาลดไข้

เนื้อไม้

นำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยทำให้เจริญอาหาร

แหล่งที่พบ

มะสัง

มะสัง

Citrus lucida (Scheff.) Mabb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะสัง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 5 - 15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านขนานกับลำต้นหรือออกตั้งฉากกับลำต้น ต้นมีกิ่งก้านจำนวนมาก เปลือกต้นเป็นร่องเล็ก ๆ เปลือกแตกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ต้นแก่เป็นสีเทาถึงดำ ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาว และแข็งตรง ยาวประมาณ 1 - 5 เซนติเมตร ที่กิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ชอบแสงแดดจัด และควรปลูกไว้กลางแจ้ง พบขึ้นได้ทางภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ โดยจะขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าโคก ทุ่งนา

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลอ่อนเป็นยาแก้ไข้

แก่น

แก่นมะสังใช้ร่วมกับแก่นมะขาม ใช้ต้มกับน้ำดื่มขณะอยู่ไฟ

ใบ

ใบมีรสฝาดมัน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย

ราก

รากนำมาต้มกับน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้

แหล่งที่พบ

ขนุน

ขนุน

Artocarpus heterophyllus

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่น แยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ เมื่อติดผล ดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกกลายเป็น 1 ยวง ในผล ผลดิบเปลือกสีเขียว หนามทู่ ถ้ากรีดเปลือกจะมียางเหนียว เมื่อแก่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามจะป้านขึ้น ภายในผลมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดอยู่ในยวง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำ เมล็ดนำมาต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภิกษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี

แหล่งที่พบ

มะม่วงพิมเสน

มะม่วงพิมเสน

Manaifera indica Linn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้พุ่มยืนต้น สูง 10-20 ม. แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่งก้านบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานแคบ ปลายแหลม โคนมน ขนาดของใบจะแคบเล็ก และสั้นกว่าใบมะม่วงทั่วไป เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก ดอก ออกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลมีลักษณะกลมรี และยาวคล้ายผล มะม่วงมหาชนก แต่ปลายผลจะงอนน้อยกว่า ผลดิบเป็นสีเขียว รสชาติเปรี้ยวจัด และมีกลิ่นฉุนหรือกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่นิยมรับประทานขณะผลดิบ ผลสุก เป็นสีส้มตลอดทั้งผล และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมล็ดลีบและบางจัด เนื้อในเยอะ เป็นสีเหลืองทอง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลําไส้อักเสบ เรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้ เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจําเดือน แก้ปวดประจําเดือน

แหล่งที่พบ

มะม่วงอกร่อง

มะม่วงอกร่อง

Manaifera indica Linn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้พุ่มยืนต้น สูงประมาณ 10 - 15 ม. ลำต้นตรง เรือนยอดกลม ทึบ ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปหอกยาวแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนแหลม ออกดอกเดือนธันวาคม ถึง มกราคม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกหนึ่งๆ จะมีช่อย่อยหลายช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้น ผลสุกเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และมีพันธุ์ทวายซึ่งออกนอกฤดูกาล ผลเป็นแบบผลสด รูปทรง ขนาด และสีผิวแล้วแต่ชนิดพันธุ์นั้น ๆ บริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก รสเปรี้ยว มัน และหวาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้ เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน

แหล่งที่พบ