ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

รายละเอียด

โครงการ“นิทรรศการในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย: นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก” ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี หน่วยงาน สถาบันวิจัยและพัฒนา

หน่วยงาน: สำนักวิจัยและพัฒนา

วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วิธีการดำเนินการและกิจกรรม

ประชุมเตรียมงานและประสานงานเพื่อทำความเข้าใจในการนำเสนอข้อมูลการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริ ในรูปแบบโปสเตอรงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย: นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก ระหว่างวันที่ 18 -26 ธันวาคม 2556 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เผยแพร่หนังสือพรรณไม้ และรายงานผลการดำเนินโครงการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในปีงบประมาณ 2556 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

หน่วยงาน: สำนักวิจัยและพัฒนา

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษา รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรมในรูปแบบของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมในงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ผลการดำเนินงาน

โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงการบริหารจัดการ การดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โดย ๑). สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อการจัดสรรงบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ๒). สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ขออนุญาตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนจิตรลดา จัดการประกวดการนำเสนอผลงานที่ได้จากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ ปี พ.ศ.2557 ๓). สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดประชุมเพื่อติดตามและรายงานผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ในภาพรวมของมหาวิทยาลัย

โครงการพัฒนาเครื่องสำอางจากภูมิปัญญาไทยสู่เครื่องสำอางแต่งกลิ่นหอม หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยงาน: สำนักวิจัยและพัฒนา

ตัวชี้วัดโครงการ

เป้าหมายเชิงปริมาณ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งกลิ่นหอม ได้แก่ ครีมบำรุงผิว สบู่เหลวล้างมือ เจลล้างมือ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ เป้าหมายเชิงคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับและมีความพึงพอใจจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช รวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้จัดทำโครงการจึงมีความสนใจในการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ของส่วนผสมที่สำคัญของน้ำอบ เป็นเครื่องประทินผิว หลักฐานการใช้น้ำอบไทยหรือเครื่องหอมแบบไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) ทรงโปรดปราณการใช้น้ำอบ น้ำปรุงมาก น้ำปรุง ซึ่งถือเป็นน้ำหอมของไทย เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยน้ำปรุงต่างจากน้ำอบตรงที่น้ำปรุงมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม และต่างจากน้ำหอมต่างประเทศตรงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางแต่งกลิ่นหอม จากกลิ่นหอมของดอกไม้ไทยต่าง ๆ เช่น มะลิ และกุหลาบ มีผลการดำเนินการดังนี้คือ

มะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum Sambac Linn. ชื่อวงศ์ Oleaceae เป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ดอกมะลิ มีน้ำมันระเหยประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งในน้ำมันระเหยจากดอกมะลิพบสาร Benzyl alcohol, Benzyl alcohol ester, Benzyl acetate, Cadinene, Caryophyllene, Geraniol, hexenyl benzoate, Jasmone, Jasmine lactone, Linalool (สารที่ทำให้ดอกมะลิลามีกลิ่น), Methyl benzoate, Methyl jasmonte, และพบสาร Pipid, Linalyl benzoate ทำให้ดอกมะลิมีคุณสมบัติ แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม

กุหลาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrids ชื่อวงศ์ Rosaceae มีทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อย นิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ลำต้นและกิ่งจะมีหนาม ส่วนดอกของกุหลาบจะมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีลักษณะใหญ่ มีไม่ต่ำกว่า 5 กลีบ ดอกกุหลาบนั้นมีกลิ่นหอมชวนดม และมีหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู ฯลฯ อีกทั้งยังมีหลายชนิดด้วย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน ประดับตกแต่งบ้าน ประดับสถานที่ ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น โดยคุณสมบัติของดอกกุหลาบ น้ำมันหอมระเหยให้กลิ่นหอม ช่วยผ่อนคลายความเครียด ฟื้นฟูความมั่นใจ นอกจากกลิ่นหอม ยังใช้เป็นเครื่องเวชสำอาง ในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว เช่น โทนเนอร์ (Toner) มอยส์เจอมาส์ค (Moisturizing mask) โลชั่น (Lotion) และเครื่องสำอาง (Cosmetic) ต่างๆ น้ำมันกุหลาบ ช่วยในการกระตุ้นผิว, การไหลเวียนโลหิตและเหมาะสำหรับผิวบอบบาง (Sensitive Skin) น้ำมันหอมระเหย กุหลาบช่วยควบคุมและปรับสภาพของไขมันในผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ได้ทั้งผิวแห้งและผิวมัน กระชับรูขุมขน กำจัดสิวและผิวหนังอักเสบ มีกลิ่นหอมหวานมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เสริมสร้างฮอร์โมนเพศ น้ำมันหอมระเหยกุหลาบเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งและแพ้ง่าย บอบบาง หรือผิวอ่อนล้า ผู้มีรอยย่น หรือผิวบาง ชนิดที่มองเห็นเส้นเลือดฝอยได้ง่าย แม้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้จะมีราคาสูงมาก เพราะต้องใช้กลีบกุหลาบในปริมาณมากๆ ในการสกัด แต่ก็มีสรรพคุณที่สูงตามไปด้วย

กรอบการใช้ประโยชน์

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช นำข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รวบรวมได้มาใช้ประโยชน์ โดยการพัฒนาเป็นเครื่องสำอางแต่งกลิ่นหอม มีผลการดำเนินการดังนี้คือ (1) การดำเนินการพัฒนาการสกัดน้ำมันหอมระเหย โดยพบว่า วิธีการสกัดที่ได้สารหอมที่ดีที่สุด คือ การสกัดด้วยตัวทำละลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตสุดท้ายที่เรียกว่า แอบโซลูดออยล์ (Absolute oil) ถึงแม้จะมีรายงานว่าสามารถสกัดได้ด้วยการกลั่น แต่ในการทดลองนี้ได้ทดลองสกัดด้วยสารเคมีในรูปของแอบโซลูดออยล์การสกัดสารหอมในรูปของ “แอบโซลูดออยล์” โดยเทคนิคการสกัดจะใช้การสกัดด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และระเหยตัวทำละลายจนได้สารผอมสีอำพัน ซึ่งปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 0.5% ดังนั้นปริมาณน้ำหนักของพืชที่ใช้ในการสกัดแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำมันหอมระเหยที่ต้องการ เมื่อได้น้ำมันหอมระเหยตามปริมาณที่ต้องการแล้ว

การตั้งตำรับการพัฒนา โดยดำเนินการตั้งตำรับเครื่องสำอางแต่งกลิ่นหอม จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ คือ ครีมบำรุงผิวกลิ่นกุหลาบ สบู่ล้างมือกลิ่นกุหลาบ เจลล้างมือกลิ่นกุหลาบ ครีมบำรุงผิวกลิ่นมะลิ และสบู่ล้างมือกลิ่นมะลิ

การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์และแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยในอดีตนั้นบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่เพียงห่อหุ้มและปกป้องผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ถูกเพิ่มขึ้นในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และรูปลักษณ์ที่สามารถดึงดูดผู้ซื้อ ตลอดจนสามารถใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านสังคมขององค์กร ให้บุคคลภายนอกได้เห็นถึงความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดังนั้น การออกแบบจึงควรได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการบรรจุหีบห่อเสมอ และควรคำนึงถึงวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนี้

การออกแบบที่ลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในการประกอบบรรจุภัณฑ์ ปริมาณขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ปริมาณบรรจุภัณฑ์เกินความจำเป็น การลดส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์จึงเป็นการลดขยะไปในตัว ส่วนประกอบที่ควรนำมาพิจารณาได้แก่ บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ฟิล์มหุ้มชั้นนอก โบว์ ป้ายห้อยข้างบรรจุภัณฑ์ สติกเกอร์ การออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบาและใช้วัสดุน้อย เป็นการลดปริมาณการใช้วัสดุ ซึ่งเปรียบเสมือนการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง การออกแบบเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก การทำให้บรรจุภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้งเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน การออกแบบเพื่อให้นำกลับมาผลิตใหม่ หรือนำชิ้นส่วนเก่ากลับมาทำใหม่เพื่อให้ของเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง โดยต้องมีระบบการจัดเก็บ รวบรวมและขนส่งที่เหมาะสม บรรจุภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีภาพลักษณ์ที่สะดุดตามากขึ้นกว่าเดิม การออกแบบเพื่อให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วถ้าไม่สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัยจะทำให้เกิดปัญหาของขยะและมลพิษตามมา โดยการกำจัดทิ้งสามารถทำได้ 3 วิธีคือ การหมักให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ (การทำปุ๋ย) การนำไปถมที่ และการเผาทำลาย การออกแบบโดยใช้หมึกพิมพ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม คือ Soya-based Inks

กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุรรมพืช ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบของการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ การนาเสนอผลงานวิจัย การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ เชน การทำวีดีทัศน์ เอกสารเผยแพร่ เว็บไซด์ ประชาสัมพันธ์ โดยมีการนำเสนอในรูปแบบการทำวีดีทัศน์นำเสนอโครงการโดยหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ การนำเสนองานโครงการในรูปแบบโปสเตอร์โดยหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำเสนองานโครงการโดยการใช้แผ่นพับ ในงานเผยแพร่นานาชาติของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ณ อาคารรักตะกนิษฐ์ ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2557 ซึ่งได้รับรางวัลชมเชย และมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 12-28 สิงหาคม 2557

โครงการขลุ่ยจากชุมชนสู่ห้องเรียน

หน่วยงาน: สำนักวิจัยและพัฒนา

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาความเป็นมาและกระบวนการทำขลุ่ยของชาวชุมชนบ้านลาว เพื่อต่อยอดองค์ความรู้การทำขลุ่ยจากวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสม เพื่อบูรณาการการทำขลุ่ยของชุมชนบ้านลาวในการทำสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน

ผลการดำเนินงาน

1. รายงานประวัติความเป็นมาและกระบวนการการทำขลุ่ยของชุมชนบ้านลาว ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านลาว พบว่า “ชุมชนบ้านลาว” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุมชนบางไส้ไก่ ที่บรรพบุรุษของชุมชนได้อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ประเทศลาวตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คนลาวที่มาอาศัยอยู่ในชุมชนนี้จึงใช้ภูมิปัญญาที่ติดตัวมาทำขลุ่ยและแคนที่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อคลายความเหงา ต่อมาได้เลิกทำแคน และได้เริ่มทำขลุ่ยเพื่อการค้าเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน เอกลักษณ์ของขลุ่ยบ้านลาวคือ ความประณีต คุณภาพของเสียงที่ไพเราะ และการเทลายที่มีลักษณ์สวยงามโดดเด่น โดยวัสดุที่ใช้ คือ ไม้รวก และไม้เนื้อแข็งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนบ้านลาว ต่อมาเริ่มมีการทำขลุ่ยจาก พีวีซีที่มีราคาถูก และมีการใช้เครื่องจักรแทนการทำจากมือจนเป็นอาชีพหลักของชุมชน ปัจจุบันการทำขลุ่ยในชุมชนบ้านลาวลดลงไปมากเหลือเพียง 6 – 7 หลังคาเรือนเท่านั้นที่ยังทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

กระบวนการทำขลุ่ย

1. วัสดุและอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1) ไม้รวก ไม้เนื้อแข็ง หรือ ท่อพีวีซี 2) เครื่องกลึงไม้ 3) เครื่องเจาะรูขลุ่ยไม้เนื้อแข็ง 4) บล็อกเจาะรู 5) เครื่องเจาะรูขลุ่ย 6) มีดคว้านรู 7) มีดแกะปากนกแก้ว 8) ไม้ดาก 9) เหล็กกระทุ้ง และ10) เทียนไข

2. ขั้นตอนในการทำขลุ่ย 1) การเจาะรู โดยมีบล็อกซึ่งช่างได้เจาะไว้เพื่อไม่ไห้เลื่อนขณะเจาะ จากนั้นนำมาเจาะรู โดยใช้สว่านมือ หรือใช้สว่านไฟฟ้าแล้วใช้มีดคว้านตกแต่งรูให้เรียบเนียน 2) การแกะปากนกแก้ว โดยใช้มีดขนาดเล็กค่อยๆ แกะขยายออกเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบล่างทำเป็นมุมเอียงออกมาจากด้านในแซะปลายขอบให้เทลาดเป็นทางไปตามผิวโค้งของเลาขลุ่ย ให้มีลักษณะเป็นแฉกคล้ายหางนกแซงแซว 3) การใส่ดาก ไม้ที่นิยมใช้เป็นไม้สักทอง นำมาปาดออกเป็นช่องสำหรับเป่าลมผ่าน ตอนปลายหน้าตัดของดากจะมีลักษณะโค้งงอนขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้รับมุมกับช่องปากนกแก้ว แล้วค่อยๆ หมุนปรับมุมไม้ดากให้ทำมุมพอดีกับปากนกแก้ว แล้วใช้เลื่อยไม้ดากที่เหลือออก 4) การทดสอบเสียง โดยตรวจสอบระดับของเสียงให้ครบทุกระดับ ถ้ามีเสียงขลุ่ยที่ผิดเพี้ยนหรือไม่ครบเสียง ก็จะแก้ไขเพื่อที่จะได้ระดับเสียงขลุ่ยครบทุกระดับเสียง

โครงการผลิตสื่อมัลติมีเดียตามรอยสมุนไพรไทยกับน้ำพริกสี่ภาคตำรับชาววัง โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยในวังหญิง สำนักพระบรมมหาราชวัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

หน่วยงาน: สำนักวิจัยและพัฒนา

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาหารไทยและสมุนไพรไทยให้ก้าวไกลสู่สากล เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยใกล้ตัวในชีวิตประจำวันผ่านสื่อมัลติมีเดีย 3. เพื่อสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยด้านทรัพยากรพันธุกรรมพืช สมุนไพร และอาหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผลการดำเนินงาน

1. ได้สื่อมัลติมีเดีย ชุดตามรอยสมุนไพรไทยกับน้ำพริกสี่ภาคตำรับชาววัง จำนวน 1 ชุด และและพ็อกเก็ตบุ้คเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่มีความสนใจ

2. ตัวบ่งชี้สกอ.ที่ 3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา โดยมีการดำเนินการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมทั้งในนด้านกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

3. ตัวบ่งชี้สกอ.ที่ 5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม โดยมีการบูรณาการโครงการซึ่งเป็นงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนในหลากหลายรายวิชาของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

4. ตัวบ่งชี้สกอ.ที่ 6.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการบูรณาการโครงการซึ่งเป็นงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมของนักศึกษา