Saturday Jan 04, 2025

ขนุน

ขนุน มะหนุน (ใต้, เหนือ) หมักหมี๊ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) : Artocarpus heterophyllus Lam. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MORACEAE ขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอดและตามกิ่ง ช่อดอกรูปทรงกระบอกหรือขอบขนาน ยาว 10 – 15 ซม. ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกอ่อนมีใบประดับปลายแหลม ขนาดยาว 5 – 6 ซม. หุ้ม มีขน ช่อดอกเพศผู้จะอยู่สูงกว่าและมีจำนวนมากเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียเกิดทางซอกใบด้านล่าง ก้านช่อดอกขนาดใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้ เกสรเพศเมียรูปคล้ายกระบอง รังไข่รูปรี เชื่อมติดกัน ผล เป็นผลรวมขนาดใหญ่ การนำไปใช้ประโยชน์ ขนุนเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมา ช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูงเพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เมล็ดช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่น หรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาดใช้ย้อมสบงจีวรพระ แหล่งที่พบ หน้าอาคารเรียน1 โซน A

Back to Top