Sunday Dec 22, 2024

ตะขบป่า

ตะขบป่า ตานเสี้ยน (กลาง) มะเกว๋นป่า (เหนือ) : Flacourtia indica (Burm. f.) Merr. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : FLACOURTIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านอ่อนห้อยลู่ลง ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างหลายแบบ ทั้งรูปขอบขนานรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ดอก: ออกเป็นช่อออกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-6 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้ ออกดอกเดือน มีนาคม – เมษายน ผล: ผลสดแบบ berry รูปกลมรี ผลสุกมีสีแดงและดำ การนำไปใช้ประโยนชน์ รากแก้ตานขโมย แก้ท้องร่วง ลำต้นแก้ประดงผื่นคันตามตัว ใบปรุงยาสำหรับสตรีหลังคลอด แหล่งที่พบ ทางขึ้นศาลพระภูมิ ด้านโรงแรมสวนดุสิตเพลส 2 โซน C

ข่อย

ข่อย กักไม้ฝอย (เหนือ) ส้มพอ (เลย, เหนือ) : Streblus asper Lour. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MORACEAE ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงไม่เกิน10 เมตร เปลือกขรุขระ สีเทาอมขาว ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร โคนสอบ ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก: สีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก แยกเพศ ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียมีจำนวน 2 ดอกต่อช่อ ก้านดอกยาว ผล: เป็นผลสด ทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบรองดอกสีเขียวหุ้มผล การนำไปใช้ประโยชน์ กิ่งทุบใช้แทนแปรงสีฟันได้ เปลือกต้นแก้โรคในช่องปาก ใบเป็นยาระบายอ่อนๆ แหล่งที่พบ หน้าอาคารเรียน1 โซน A ด้านข้างอาคารสมเด็จพระนางเจ้า (อาคาร11) โซน D

ขนุน

ขนุน มะหนุน (ใต้, เหนือ) หมักหมี๊ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) : Artocarpus heterophyllus Lam. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MORACEAE ขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอดและตามกิ่ง ช่อดอกรูปทรงกระบอกหรือขอบขนาน ยาว 10 – 15 ซม. ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกอ่อนมีใบประดับปลายแหลม ขนาดยาว 5 – 6 ซม. หุ้ม มีขน ช่อดอกเพศผู้จะอยู่สูงกว่าและมีจำนวนมากเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียเกิดทางซอกใบด้านล่าง ก้านช่อดอกขนาดใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้ เกสรเพศเมียรูปคล้ายกระบอง รังไข่รูปรี เชื่อมติดกัน ผล เป็นผลรวมขนาดใหญ่ การนำไปใช้ประโยชน์ ขนุนเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมา ช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูงเพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เมล็ดช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่น หรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาดใช้ย้อมสบงจีวรพระ แหล่งที่พบ หน้าอาคารเรียน1 โซน A

ไกร

ไกร กร่าง ไทรกร่าง (กรุงเทพฯ) ไฮฮี (เพชรบูรณ์) : Ficus concinna Miq. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : MORACEAE ลำต้นสูงได้ถึง 30 เมตร มียางสีขาว รากอากาศเกิดใกล้โคนต้น ลำต้นและทุกส่วนสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีชมพู เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8.5 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือแหลมติ่งสั้นๆ โคนแหลมหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละประมาณ 12 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นกลางใบสีขาว เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร หูใบ 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน รูปไข่แกมรูปใบหอก ร่วงง่ายดอก: ช่อดอกออกเป็นคู่ตามง่ามใบและอยู่ด้านล่างของใบ มีใบประดับเล็กๆ 3 ใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม ร่วงง่าย ก้านช่อดอกยาว 1-5 มิลลิเมตร ช่อดอกรูปร่างคล้ายผล คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่เป็นเปาะ มีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ผล: ผลอยู่ภายในช่อดอกที่มีลักษณะคล้ายมะเดื่อ สีชมพู รูปกลม กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร มีจุดสีแดงประปราย ภายในมีผลเล็กๆรูปไข่จำนวนมาก ก้านผลยาว 1-5 มิลลิเมตร การนำไปใช้ประโยนชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ แหล่งที่พบ ด้านหลังอาคาร 3 โซน A หน้าอาคาร 2 โซน B

แก้ว

แก้ว ตะไหลแก้ว แก้วพริก จ๊าพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วขาว (กลาง) : Murraya paniculata (L.) Jack ชื่อวงศ์พรรณไม้ : RUTACEAE เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 3-8 เมตร ลำต้นมักคดงอและบิด เปลือกสีขาว แตกเป็นร่องตื้นเล็กๆ ใบ ใบประกอบ เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย 3-7 ใบ ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบคู่ล่างมีขนาดเล็กกว่าคู่ที่อยู่เหนือขึ้นไป รูปไข่แกมรี และรูปข้าวหลามตัดเอียง ผิวใบเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ ช่อละ 2-5 ดอก กลีบรองดอกขนาดเล็ก มี 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน บานกลางคืน ขณะบานกลีบจะม้วนออกด้านนอก กลีบหลุดง่าย เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยาว 5 อัน สั้น 5 อัน เรียงสลับเป็นวงกลมล้อมรอบรังไข่ ผล รูปไข่ มีเนื้อเยื้อหุ้ม ยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร ผลแก่ออกสีส้มปนแดง ภายในมี 1-2 เมล็ด การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้ลายมัน สวยงาม มีน้ำมันในเนื้อไม้ นิยมใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา ซอด้วง ซออู้ ใบปรุงเป็นยาขับระดูที่เรียกว่ายาประสะใบแก้ว และใช้เป็นยาระบายลม แก้จุกเสียแน่นเฟ้อ แหล่งที่พบ ด้านข้างศาลาสารภีคู่ โซน C

กระทุ่มบก

กระทุ่มบก : Mitragyna javanica Koord. & Valeton ชื่อวงศ์พรรณไม้ : RUBIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 16-27 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ กว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร ยาว 10-24 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสากๆและมีสีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้านดอก ออกเป็นช่อกลมคล้ายลูกตุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมส้ม ผล เป็นแท่ง ขนาดเล็ก ออกเบียดชิดกันอยู่บนฐานรองช่อดอก การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือนหรือใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ แหล่งที่พบ ทางเข้าอาคารหอพัก โซน B

กระบก

กระบก กะบก จะบก (กลาง), จำเมาะ (เขมร), ซะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ) : Irvingia malayana Oliv. ex A.W. Benn. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : IRVINGIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอก ดอกช่อขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน การนำไปใช้ประโยนชน์ ประโยชน์ ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อในเมล็ดกินได้ น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไข แหล่งที่พบ ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C

กระโดน

กระโดน ปุย (ใต้, เหนือ) ปุยกระโดน (ใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ) : Careya sphaerica Roxb. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : LECYTHIDACEAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบช่วงสั้นๆ สูง 8-20 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทา หรือสีน้ำตาลดำ แตกปริเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม เนื้อใบหนา เกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นขอบใบ เส้นใบย่อยเป็นแบบร่างแห ขอบใบหยักถี่ๆและตื้น ก้านใบอวบ ค่อนข้างแบน ผิวเกลี้ยง ดอก: ขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน ออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง บานตอนเช้า กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก สีเขียวอ่อนบริเวณขอบกลีบและโคนกลีบออกสีชมพู หลุดง่าย เกสรผู้สีขาว มีจำนวนมาก โคนก้านเกสรจะติดรวมกัน มีสีแดงอ่อนๆ ผล: กลม สีเขียว ขนาดใหญ่ ลักษณะอวบน้ำ การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้ใช้ทำบ้านเรือน เปลือกให้เส้นใยหยาบๆใช้ทำเชือก ทุบทำเบาะรองหลังช้าง และทำกระดาษสีน้ำตาล สรรพคุณด้านสมุนไพร เปลือก เป็นยาสมาน แก้เคล็ด แก้เมื่อย ดอกเป็นยาบำรุงภายหลังคลอดบุตร ใบใช้รักษาแผลสด ผลช่วยย่อยอาหาร แหล่งที่พบ หน้าห้องปฐมพยาบาล โซน B บริเวณสนามเด็กเล่น หน้าอาคาร 7 โซน D

กระดังงาจีน

กระดังงาจีน การเวก (กลาง) สะบันงาจีน (เหนือ) : Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari ชื่อวงศ์พรรณไม้ : ANNONACEAE ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดซุ้มหรือค้าง ให้ร่มเงาได้ดี ผิวของกิ่งก้านค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีขนใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4-8.5 เซนติเมตร ยาว 8.5-20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอก: ดอกช่อ ดอกอ่อนสีเขียว มีขน เมื่อแก่สีเหลือง ผิวค่อนข้างเรียบ กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-4.5 เซนติเมตร โคนกลีบเว้าคล้ายรูปไข่ป้อมและโค้งแนบกับโคนกลีบชั้นใน มีจุดกระสีแดงที่ด้านในของโคนกลีบ เนื้อกลีบหนา กลีบดอกชั้นในคล้ายกลีบชั้นนอกแต่ขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ยอดเกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน ผล: เป็นผลกลุ่ม กลุ่มละ 4-20 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด การนำไปใช้ประโยนชน์ เป็นไม้ดอกไม้ประดับให้ร่มเงา ให้ดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอ่อน ใช้ทำเครื่องหอม แหล่งที่พบ หน้าศาลาชื่นอารมณ์และศาลากระจ่างศรี โซน C

กล้วยพัด

กล้วยพัด กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา (กทม.) : Ravenala madagascariensis Sonn. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : STRELITZIACEAE ลักษณะตรง กลม มีข้อสั้นๆ คล้ายตาล สูงถึง 20 เมตรใบ: ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบกล้วย รูปใบขอบขนาน เรียงเป็นสองทางสลับซ้ายขวาจนถึงยอด ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและหุ้มลำต้นไว้ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีใบประดับแข็งเป็นกาบคล้ายรูปเรือหุ้มช่อดอก โดยกาบนี้จะเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นช่อแบนๆ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีหลายดอกในแต่ละใบประดับ ผล: เมล็ดแก่สีน้ำเงินเข้ม ขนาด 0.6-0.8 เซนติเมตร รูปทรงกลม การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป แหล่งที่พบ ในมหาวิทยาลัย ทางขึ้นศาลาชื่นอารมณ์ด้านข้างอาคารศูนย์สุขาภาพโซน C

Back to Top