Saturday Dec 21, 2024

แคหางค่าง

แคขน แคบิด (เหนือ) แคหัวหมู (กลาง, นครราชสีมา) แคพอง (สุราษฎร์ธานี) แฮงป่า (จันทบุรี) แคลาว (เลย) : Fernandoa adenophylla (Wall ex. G. DON) Steenis ชื่อวงศ์พรรณไม้ : BIGNONIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5 – 20 เมตร ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดไม่เป็นระเบียบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล และมีช่องระบายอากาศทั่วไป เปลือกนอกสีเทา ค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีขาวใบ: ใบประกอบ ออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ช่อใบ ยาว 20 – 50 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วย ใบย่อยที่มีรูปและขนาดแตกต่างกันไป 1-4 คู่ เช่น รูปรี รูปมน รูปป้อมหรือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ดอก: ดอกใหญ่และบานเด่นชัด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง มีออวุลหลายหน่วยต่อ 1 ช่อง ผล: เป็นแบบผลแห้งแตก แข็ง ผิวเรียบ ยาวและบิดเป็นเกลียว เมล็ดมีปีก การนำไปใช้ประโยนชน์ เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำด้ามเครื่องมือเสาเขื่อนเสาต่างๆ ดอกและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน มีรสขมเล็กน้อย แหล่งที่พบ หลังอาคารเรียน 2 โซน A

แคนา

แค่เก็ตถวา (เชียงใหม่) แคขาว (กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่) แคทราย (กลาง, ราชบุรี) แคป่า (จันทบุรี, เลย) แคอาว (นครราชสีมา, ปราจีน) : Dolichandrone serrulata (DC.) Seem. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : BIGNONIACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำเปลือกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อแบบกระจะสั้นตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-3 เซนติเมตร มี 3-7 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันและปลายแยกออกเป็นกาบรองดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกันสูง ดอกบานกลางคืน ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ – มิถุนายน ผล: เป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว ผิวเรียบและแข็ง ฝักบิดไปมา ผลออกเดือน มิถุนายน – สิงหาคม การนำไปใช้ประโยนชน์ ดอกและยอดอ่อนรับประทานได้ แหล่งที่พบ ด้านข้างอาคารตึกใหญ่และสวนดุสิตโพล โซน B หน้าอาคารหอพัก โซน B

ค้างคาว

กระโปกลิง (สระบุรี) : Harpullia arborea (Blanco) Radlk. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : SAPINDACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนกออก เรียงสลับ ใบย่อย 6-10 ใบ ผิวเกลี้ยง รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบเว้าเล็กน้อย ปลายแหลม ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอก: ออกเป็นช่อ ยาว 15-20 เซนติเมตร มีขนนุ่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก สีครีมอมเขียว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผล: สีเหลืองส้ม เปลือกหนาคล้ายหนัง ภายในกลวง มีลักษณะเป็น 2 พู เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดค่อนข้างกลม สีดำมัน ขนาด 0.5-0.8 เซนติเมตร การนำไปใช้ประโยนชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี แหล่งที่พบ หน้าอาคารเรียน 4 (ศูนย์การศึกษาพิเศษ) โซน D

มะเขือเปราะ

มะเขือขัยคำ มะเขือคางกบ มะเขือจาน มะเขือแจ้ มะเขือแจ้ดิน มะเขือดำ (ภาคเหนือ), มะเขือหืน (ภาคอีสาน), มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง), เขือพา เขือหิน (ภาคใต้), มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หวงกั่วเชี๋ย หวงสุ่ยเชี๋ย (จีนกลาง) : Solanum virginianum L. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : SOLANACEAE ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมะเขือเปราะ ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับดอกมะเขือเปราะ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ผลมะเขือเปราะ ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น การนำไปใช้ประโยนชน์ ผล : ผลมะเขือเปราะช่วยลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ กระตุ้นการเผาผลาญกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยขับพยาธิ รักษาเบาหวาน ต้านมะเร็ง และช่วยบำรุงหัวใจได้ ใบ : นำมาขยำแล้วพอกบริเวณแผล จะช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายไวขึ้น และหากนำใบสดมาเคี้ยวจะช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบได้ นอกจากนี้การนำใบมะเขือเปราะมาต้มแล้วดื่มยังช่วยแก้อาการร้อนในและช่วยขับปัสสาวะได้ดี แถมยังนำมาต้มอาบแก้บรรเทาอาการคันตามผิวหนังได้ด้วย ราก : นำรากมะเขือเปราะมาต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการไอ แก้อาการอักเสบในลำคอ และแก้โรคหอบหืดได้ หรือหากนำมาเคี้ยวยังช่วยบรรเทาอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ และลดอาการปวดฟันได้อีกด้วย

มะเขือส้ม

มะเขือเครือ (เหนือ) มะเขือปู (พิษณุโลก) : Lycopersicum esculentum Mill ชื่อวงศ์พรรณไม้ : Solanaceae ต้น : ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ล้มง่าย แต่ส่วนที่แตะลงดินจะแตกรากได้ ลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปคล้ายขนนก ริมขอบใบหยักเว้าลึก หรือหยักเป็นฟันเลื่อย ดอก : ดอกออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ เป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี กลมแบน หรือกลมใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง เมล็ด : เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นมีจำนวนมาก การนำไปใช้ประโยนชน์ ใช้ใบสด เป็นยาทาหรือพอกแก้ผิวหนังถูกแดดเผา ผล แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย อ่อน ๆ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงและกระตุ้นกระเพาะ อาหาร ใช้รากสด แก้ปวดฟัน ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ใช้ ผลสด นำมารับประทาน ปรุงอาหาร แก้กระหายน้ำ ส่วนที่นำมาทำอาหารได้คือผลสุกที่มีสีสันส้ม แดง หรือบางท้องถิ่นก็นิยมผลเขียวที่ไม่สุกด้วยเช่นกัน สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิดแทนมะเขือเทศได้เลย เช่น น้ำพริกอ่อง แกงส้ม ต้มยำ ส้มตำ

มะขามป้อม

กันโตด (เขมร – กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) : Phyllanthus emblica L. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : PHYLLANTHACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด การนำไปใช้ประโยนชน์ ผล : นำมาทานหรือคั้นเป็นน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย แก้กระหาย แก้หวัด แก้ไอ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ และใช้ล้างตาแก้ตาแดงได้ เมล็ด : นำมาชงน้ำร้อนดื่มแก้หืด แก้อาหารคลื่นไส้ อาเจียน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ และนำมาล้างตา ช่วยรักษาโรคตาต่างได้ อีกทั้งถ้าบีบเอาน้ำมันจากเมล็ดมาทาศีรษะสามารถช่วยให้เส้นผมดกดำขึ้นได้ เปลือก : นำมาต้มน้ำทานแก้โรคบิดและช่วยรักษาอาการฟกช้ำได้ ก้าน : นำมาต้มน้ำแล้วนำไปอมช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อย และแก้ปวดเมื่อยตามกระดูกได้ ใบ : นำมาต้มอาบ ช่วยลดไข้ได้ ดอก : ใช้เข้าเครื่องยา ทำเป็นยาเย็นและยาระบายได้ ยาง : นำมาทานช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ และนำไปหยอดตาแก้อาการตาอักเสบได้ ราก : สามารถนำมาทานแก้ท้องเสีย แก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน กินเป็นยาลดไข้ ช่วยฟอกเลือด และช่วยลดความดันเลือดลงได้

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทวาย มะเขือละโว้ ถั่วส่าย : Abelmoschus esculentus (L.) Moench. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : Malvaceae ต้นกระเจี๊ยบเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม เช่นเดียวกับใบและผล เจริญเติบโตได้ดีในอากาศกึ่งร้อน หรือที่อุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาเซลเซียส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ใบกระเจี๊ยบเขียว มีใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือเรียงสลับกัน ใบมักเว้าเป็น 3 แฉก มีความกว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว ดอกกระเจี๊ยบเขียว มีดอกสีเหลืองอ่อน ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีสีม่วงออกแดงเข้ม รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ออกดอกตามง่ามใบ มีริ้วประดับเป็นเส้นสีเขียวประมาณ 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกันลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรหุ้มเกสรตัวเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดอยู่รอบหลอด ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรตัวเมียเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็กสีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลกระเจี๊ยบเขียว หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว ผลมีลักษณะเป็นฝัก โดยฝักคล้ายกับนิ้วมือผู้หญิง ฝักมีสีเขียวทรงเรียวยาว มักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักแหลมเป็นจีบ ผิวฝักมีเหลี่ยมเป็นสัน โดยฝักมีสันเป็นเหลี่ยมตามยาวอยู่ 5 เหลี่ยม ตามฝักจะมีขนอ่อน ๆ อยู่ทั่วฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในฝักมีน้ำเมือกข้นเหนียวอยู่มาก และมีเมล็ดลักษณะกลมอยู่มาก ขนาดประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ฝักอ่อนมีรสหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว ไม่เป็นที่นิยมในการรับประทาน การนำไปใช้ประโยนชน์ 1. ฝักอ่อนหรือผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มรับประทาน โดยนำมาต้มให้สุกหรือย่างไฟก่อน หรือนำมาใช้ทำแกงต่าง ๆ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ใช้ใส่ในยำต่าง ๆ ใช้ชุบแป้งทอด ทำเป็นสลัดหรือซุปก็ได้ 2. เมนูกระเจี๊ยบเขียว เช่น แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้ แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่ ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบผัดขิงอ่อน ห่อหมกกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบต้มกะทิปลาสลิด ยำกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด สลัดกระเจี๊ยบเขียว ชากระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น 3. สำหรับชาวอียิปต์มักใช้ผลกระเจี๊ยบรับประทานร่วมกับเนื้อสัตว์ หรือนำมาใช้ในการปรุงสตูว์เนื้อน้ำข้น สตูว์ผัก หรือนำไปดอง ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้จะใช้ผลอ่อนนำมาต้มเป็นสตูว์กับมะเขือเทศที่เรียกว่า “กัมโบ้” หรือทางตอนใต้ของอินเดียจะนำผลกระเจี๊ยบมาผัดหรือใส่ในซอสข้น ส่วนชาวฟิลิปปินส์จะใช้กินเป็นผักสดและนำมาย่างกิน และชาวญี่ปุ่นจะนำมาชุบแป้งทอดกินกับซีอิ้ว 4. ดอกอ่อนและตาดอกสามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน 5. รากกระเจี๊ยบสามารถนำมารับประทานได้ แต่จะค่อนข้างเหนียวและไม่เป็นที่นิยม 6. แป้งจากเมล็ดแก่เมื่อนำมาบดสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมปังหรือทำเป็นเต้าหู้ได้ 7. ใบตากแห้งนำมาป่นเป็นผงใช้โรยอาหารและช่วยชูรสชาติอาหารได้ 8. ฝักที่นำมาตากแห้งแล้ว สามารถนำมาใช้ทำเป็นชาไว้ชงดื่มได้ 9. เมล็ดกระเจี๊ยบนำมาคั่วแล้วบดสามารถนำมาใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ หรือนำใช้ในการแต่งกลิ่นกาแฟ 10. ใบกระเจี๊ยบนำมาใช้เป็นอาหารวัวหรือใช้เลี้ยงวัวได้ 11. กากเมล็ดมีโปรตีนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ 12. ในประเทศอินเดียมีการใช้เมล็ดกระเจี๊ยบเพื่อไล่ผีเสื้อเจาะผ้า 13. ในประเทศอินเดีย โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งมีการใช้เมือกจากต้นนำมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด 14. เปลือกต้นกระเจี๊ยบ แม้จะไม่เหนียวนักแต่ก็สามารถนำมาใช้ทอกระสอบ ทำเชือก เชือกตกปลา ตาข่ายดักสัตว์ ใช้ถักทอเป็นผ้าได้ หรือทำเป็นกระดาษ ลังกระดาษก็ได้ 15. เมือกจากผลกระเจี๊ยบสามารถนำมาใช้เคลือบกระดาษให้มันได้ 16. กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย เนื่องจากต่างประเทศมีการสั่งซื้อกระเจี๊ยบของไทยปีละหลายล้านบาท โดยมีบริษัทที่ทำโครงการปลูกกระเจี๊ยบเขียวอย่างครบวงจรมาร่วมมือกับเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ช่วยกันปลูกเพื่อส่งออก 17. สำหรับในต่างประเทศมีการนำกระเจี๊ยบเขียวไปผลิตแปรรูปได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทำเป็นอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูป เช่น กระเจี๊ยบเขียวอบแห้ง หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องหอม อุตสาหกรรมยา เช่น ทำเป็นยาผงและแคปซูล

หมากเขียว

หมากฝรั่ง (กรุงเทพฯ) ปาล์มหมาก (กรุงเทพฯ) หมากพร้าว (เชียงใหม่, นราธิวาส) : Ptychosperma macarthurii H. Wendl. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : PALMAE ต้น: ลำต้นก็เกิดจากหน่อ สูงประมาณ 10-20 เมตร ลักษณะผอมและเป็นข้อปล้องตรง เมื่อยังอ่อนเปลือกจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมเขียว ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ ใบย่อยยาว 10 -15 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร โคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ เนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ใบสีเขียวอ่อน ดอก: เป็นช่อคล้ายจั่นหมาก ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง อมเขียว หรือสีขาวนวล ผล: กลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง มีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง การนำไปใช้ประโยนชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ แหล่งที่พบ ด้านข้างอาคารตึกใหญ่ทางเข้าหอพัก โซน B

ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว (กลาง, กาญจนบุรี) : Plumeria obtusa L. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : APOCYNACEAE ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาเปราะและอุ้มน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร และมีน้ำยางสีขาวใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับแบบขั้นบันไดเวียน มีใบดกที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายมน โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีขนสั้นๆ ประปราย และมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-2.5 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกเป็นรูปกรวยสีขาว ภายในหลอดดอกมีขนประปราย ผล: เป็นฝักยาว ผิวเกลี้ยง ยาว 6-11 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเป็นรูปแบนๆ อยู่เป็นจำนวนมาก การนำไปใช้ประโยนชน์ น้ำยางใช้ใส่แผล ทาแก้โรคงูสวัด หิด เมล็ดเป็นยาระบาย ขับน้ำเหลือง แก้โรคงูสงัด แผลจากซิฟิลิส แหล่งที่พบ บริเวณโดยรอบสระว่ายน้ำ โซน C

ปาล์มขวด

ปาล์มขวด Roystonea regia (Kunth) Cook. ชื่อวงศ์พรรณไม้ : PALMAE เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลำต้นจะตั้งตรงสูงขึ้น ต้นโตสูงประมาณ 15 – 20 เมตร ช่วงอายุน้อยโคนจะป่องคล้ายขวด ใบ : ใบออกเป็นทาง ยาวประมาณ 1.8-3 เมตร แต่ละทางจะประกอบไปด้วยใบย่อยมากมาย ทางใบมีกาบใหญ่ห่อหุ้มลำต้นไว้คล้ายๆกับกาบหมาก กาบใบสีเขียวเป็นมัน ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด มีสีม่วงแกมขาว กลีบเลี้ยงติดกัน กลีบดอกแยกกัน 6 กลีบ ผล : ผลขนาดเล็กและกลม เมื่อผลแก่จะเป็นสีม่วงอมดำหรือสีดำ การนำไปใช้ประโยนชน์ ใช้ปลูกประดับตามอาคารสถานที่เพื่อความสวยงาม แหล่งที่พบ ด้านหลังอาคารศูนย์สุขภาพ โซน C

Back to Top