โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช                  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และได้กำหนดแผนแม่บท อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะ ๕ ปีที่เจ็ด (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙) โดยส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมจากฐานข้อมูลด้านทรัพยากรชีวภาพ /กายภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อการสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้านเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง เพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายทางด้านการวิจัย และการบริการวิชาการ จากการจัดการเรียนการสอน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จึงได้ดำเนินการตามแผนแม่บท อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะ ๕ ปีที่เจ็ด (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙) ใน ๓ กรอบ กิจกรรมการดำเนินงาน ๖ กิจกรรม ได้แก่

๑.     กรอบและกิจกรรม
กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๒     กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
พื้นที่เป้าหมาย   บริเวณรัศมี ๕๐ กิโลเมตร โดยรอบพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง
ประเด็น           การสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ/กายภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
 
กิจกรรมที่ ๓     กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
พื้นที่เป้าหมาย   พื้นที่แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ วิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ประเด็น           การปลูกรักษาพันธุกรรมพันธุ์พืชพื้นเมือง พืชสมุนไพร และพืชเศรษฐกิจ ในจังหวัดสุพรรณบุรี

กรอบการใช้ประโยชน์
กิจกรรมที่ ๔     กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
พื้นที่เป้าหมาย   บริเวณรัศมี ๕๐ กิโลเมตร โดยรอบพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง
ประเด็น           การสร้างนวัตกรรมด้านกับการเกษตร จากทรัพยากรชีวภาพ/กายภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ดังนี้
การพัฒนาคุณภาพการผลิต
๑.     การจัดการทรัพยากรมนุษย์
๒.     การจัดการพื้นที่
๓.     การส่งเสริมการผลิต
๔.     การปรับปรุงดิน
๕.     การจัดการระบบนํ้า
๖.     การเก็บเกี่ยวผลผลิต
๗.     การจัดการของเหลือใช้ทางการเกษตร
๘.     การจัดการศัตรูพืช
 
การแปรรูปเพื่อเพิ่มคุณค่า
๙.     การพัฒนาการแปรรูป
๑๐. การตรวจสอบมาตรฐาน
๑๑. การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
๑๒. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
การพัฒนาระบบตลาด
๑๓. การส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
 
กิจกรรมที่ ๕     กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
พื้นที่เป้าหมาย   บริเวณรัศมี ๕๐ กิโลเมตร โดยรอบพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง
ประเด็น           การจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ/กายภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น (สอดคล้องกับกิจกรรมที่ ๒ ๓ และ ๔)
 
กรอบการสร้างจิตสำนึก
กิจกรรมที่ ๗    กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง
ประเด็น          ๑. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
๒. ศูนย์การเรียนรู้/งานสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
กิจกรรมที่ ๘     กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร (เปิดรับกิจกรรม)
พื้นที่เป้าหมาย   บริเวณรัศมี ๕๐ กิโลเมตร โดยรอบพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง
ประเด็น           การสนับสนุนการอนุรักษ์ ทรัพยากรชีวภาพ/กายภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น(สอดคล้องกับกิจกรรมที่ ๒ และ ๔)
๑.     การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการอนุรักษ์ทรัพยากร และ    การนำไปใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นหายาก พืชสมุนไพร และพืขเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเอาหาร ยา และเครื่องสำอางฯ ให้แก่ชุมชน    
๒.     แพลตฟอร์มออนไลน์ สำหรับเชื่อมโยงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เพื่อใช้บูรณาการในการเรียนการสอน/บริการวิชาการ/และการสร้างการรับรู้แก่บุคคลทั่วไป