ข้อมูลพันธุ์ไม้/การนำไปใช้ประโยชน์

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดพันธุ์ไม้

ยี่หร่า

ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้)

Ocimum gratissimum L.

LAMIACEAE หรือ LABIATAE

รายละเอียด

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุของการเติบโตประมาณ 2 ปี เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แจ้ง มีแสงแดด

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย มีเส้นกลาง ส่วนเส้นแขนงมีลักษณะเป็นร่างแห ขอบใบหยักเหมือนใบเลื่อย มีกลิ่นหอม นิยมไปผัดทำอาหารเพื่อเพิ่มกลิ่นให้ชวนรับประทานหรือช่วยดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์

ดอก ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ประกอไปด้วยดอกย่อยประมาณ 50-100 ดอก ดอกย่อยเป็นชั้นคล้ายฉัตร ก้านดอกเรียวยาว สีเขียวอมม่วง ดอกจะบานจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน

ผล มีขนาดเล็ก ทรงกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลหรือดำ มีเมล็ดอยู่ภายใน นิยมนำมาตากแห้งแล้วนำไปเป็นเครื่องเทศสำหรับประกอบอาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมมากขึ้น

ถิ่นที่อยู่

เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตกและทวีปยุโรป

การนำไปใช้ประโยชน์

ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกง ซุป ต้มยำ เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น

เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย

น้ำมันยี่หร่า (Caraway oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย