ข้อมูลพันธุ์ไม้/การนำไปใช้ประโยชน์

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดพันธุ์ไม้

สะเดา

สะเดา สะเดาบ้าน (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), เดา กระเดา กะเดา (ภาคใต้), จะดัง จะตัง (ส่วย), ผักสะเลม (ไทลื้อ), ลำต๋าว (ลั้วะ), สะเรียม (ขมุ), ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ควินิน (ทั่วไป), สะเดาอินเดีย (กรุงเทพฯ), กาเดา, เดา, ไม้เดา

Azadirachta indica A.Juss.

MELIACEAE

รายละเอียด

ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 16 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ยาว 15-35 ซม. ใบอ่อนสีแดง ก้านใบยาว 3-7 ซม. โคนก้านโป่งพอง ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปใบเคียวเบี้ยว กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมยาว โคนใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นใบประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-2 มม. ดอกช่อกระจุแยกแขนง ยาวได้ถึง 30 ซม. ออกที่ซอกใบมีกลิ่นหอม ใบประดับและใบประดับย่อยรูปใบหอกยาวประมาณ 0.5-1 มม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ขอบกลีบมีขนครุย กลีบดอกรูปแถบแกมรูปซ้อนสีขาว ยาว 4-6 มม. เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว อับเรณูรูปกระสวยแคบ ยาวประมาณ 0.8 มม. ผลสดมีเมล็ดเดียว รูปกระสวย ยาวประมาณ 1-2 ซม. สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก

ถิ่นที่อยู่

สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย

การนำไปใช้ประโยชน์

1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น

2. รักษาโรคผิวหนัง สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส

3. แก้ไข้มาเลเรีย สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิน และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. รักษาโรคไขข้อ ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด บวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน

5. ช่วยย่อยอาหาร ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นด้วย

6. บำรุงสุขภาพช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน นิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป ช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

7. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็งมีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง

8. คุมกำเนิด ใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุมกำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยใช้วิธีต่างกัน ผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอด ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ

9. บำรุงข้อต่อ สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย

10. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหาร

11. ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น

12. ต้านมะเร็งสารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย

13. ลดการติดเชื้อราในช่องคลอด

14. บำรุงหัวใจ ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ