ข้อมูลพันธุ์ไม้/การนำไปใช้ประโยชน์

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดพันธุ์ไม้

ผักเชียงดา

เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา

Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)

รายละเอียด

1. ต้นผักเชียงดา

จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา

2. ใบผักเชียงดา

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร

3. ดอกผักเชียงดา

ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

4. ผลผักเชียงดา

ออกผลเป็นฝัก

ถิ่นที่อยู่

ผักพื้นบ้านทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

การนำไปใช้ประโยชน์

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

2. ฟื้นฟูและบำรุงเบต้าเซลล์ตับอ่อน

3. ชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง

4. กระตุ้นระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอ่อนเพลีย

5. บำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์

6. ปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ

7. ลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล

8. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย

9. บรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ

10. บรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

11. ลดภาวะเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และ DNA ถูกทำลาย